ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ

๘. นีวรณโคจฉกะ
๑. นีวรณทุกะ
[๑๑๕๘] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน นิวรณ์ ๖ คือ ๑. กามฉันทนิวรณ์ ๒. พยาปาทนิวรณ์ ๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ๖. อวิชชานิวรณ์ [๑๑๕๙] บรรดานิวรณ์ ๖ เหล่านั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหาใน กาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหลงใหลในกาม ความหมกมุ่น ในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามฉันทนิวรณ์ [๑๑๖๐] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิด ขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความ เสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำ ความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา ความ อาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ เจริญแก่คนที่ไม่เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่ สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความที่จิตพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มี ลักษณะเช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิด ประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่น ว่านี้ นี้เรียกว่าพยาปาทนิวรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ

[๑๑๖๑] ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นไฉน ถีนมิทธนิวรณ์นั้นแยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง เป็นมิทธะอย่างหนึ่ง [๑๑๖๒] บรรดา ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความถ้อถอยแห่งใจ ความ ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความถดถอย กิริยาที่ถดถอย ภาวะ ที่ถดถอยแห่งใจ นี้เรียกว่าถีนะ [๑๑๖๓] มิทธะ เป็นไฉน ความไม่สะดวกกาย ความไม่ควรแก่การงาน ความหงอยเหงา ความซบเซา แห่งกาย ความหาวนอน ความง่วงซึม ความหลับ ความโงกง่วง ความอยากหลับ กิริยาที่อยากหลับ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่ามิทธะ ถีนะและมิทธะดังว่านี้รวม เรียกว่าถีนมิทธนิวรณ์ [๑๑๖๔] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน อุทธัจจกุกกุจจะนั้นแยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง เป็นกุกกุจจะอย่างหนึ่ง [๑๑๖๕] บรรดา ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่จิต พล่านไป นี้เรียกว่าอุทธัจจะ๑- [๑๑๖๖] กุกกุจจะ เป็นไฉน ความสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ไม่ควรในสิ่งที่ควร มีโทษในสิ่งที่ไม่มีโทษ ไม่มีโทษในสิ่งที่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ากุกกุจจะ๑- อุทธัจจะและกุกกุจจะดังว่านี้รวม เรียกว่าอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ [๑๑๖๗] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทว่า @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๒/๓๐๗, ๙๒๘/๔๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ

เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสอง ทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะยึดถือโดยส่วน เดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงยึดถือเป็นยุติ ได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉานิวรณ์ [๑๑๖๘] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความ ไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ยึดถือโดยถูกต้อง ความไม่ สามารถหยั่งลงถือเป็นข้อยุติได้ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐาน คืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอวิชชานิวรณ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นนิวรณ์ [๑๑๖๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน เว้นนิวรณ์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนา- ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็นนิวรณ์
๒. นีวรณิยทุกะ
[๑๑๗๐] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ

[๑๑๗๑] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
๓. นีวรณสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๗๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยนิวรณ์ [๑๑๗๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์
๔. นีวรณนีวรณิยทุกะ
[๑๑๗๔] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน นิวรณ์เหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ [๑๑๗๕] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน เว้นนิวรณ์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
๕. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๗๖] สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชา- นิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะกามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์เป็น นิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และ สัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะพยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ

นิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และ สัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย นิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะ วิจิกิจฉานิวรณ์ กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจ- นิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะกามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะพยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุต ด้วยนิวรณ์เพราะถีนมิทธนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะ กุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะวิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์ เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอุทธัจจนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์และ สัมปยุตด้วยนิวรณ์เพราะอวิชชานิวรณ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นนิวรณ์และ สัมปยุตด้วยนิวรณ์ [๑๑๗๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์เหล่านั้น เว้นสภาวธรรมเหล่านั้นแล้ว ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่ เป็นนิวรณ์
๖. นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ
[๑๑๗๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์เหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศลและ อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ ปรามาสโคจฉกะ

รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็น อารมณ์ของนิวรณ์ [๑๑๗๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
นีวรณโคจฉกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๙๖-๓๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=59              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=6572&Z=6694                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=748              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=748&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=10827              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=748&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=10827                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en309



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :