ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตตอุปปลมาลิกาเถรี
(พระสัตตอุปปลมาลิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๗๑] ในกรุงอรุณวดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าอรุณ หม่อมฉันเป็นพระมเหสีของท้าวเธอ หม่อมฉันไม่ได้ร้อยพวงมาลัย [๗๒] ได้หยิบดอกอุบลมีกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ทิพย์มา ๗ ดอก แล้วนั่งในปราสาทที่ประเสริฐ คิดอย่างนี้ในขณะนั้นว่า [๗๓] ‘ประโยชน์อะไรสำหรับเราด้วยพวงมาลัยเหล่านี้ ซึ่งเรานำมาประดับศีรษะของตนเอง เราควรนำไปบูชาพระญาณของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐที่สุด จะประเสริฐกว่า’ [๗๔] เราเมื่อจะบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งแล้วที่ใกล้ประตู จักบูชาพระมหามุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาที่พระองค์เสด็จมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค]

๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน

[๗๕] พระชินเจ้าผู้งดงามดังต้นรกฟ้าขาว เหมือนพญาไกรสรราชสีห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จมาตามถนน [๗๖] หม่อมฉันเห็นพระพุทธรังสีแล้ว ก็ร่าเริงตื่นเต้น ยังไม่ทันถึงประตู ก็ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด [๗๗] ทำดอกอุบล ๗ ดอกเหล่านั้น ให้แผ่ขยายเป็นหลังคากั้นอยู่ในท้องฟ้า เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า [๗๘] หม่อมฉันมีจิตเบิกบาน๑- มีใจยินดี เกิดโสมนัส๒- ประนมมือ ทำจิตให้เลื่อมใสในบูชานั้น จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๗๙] เหนือศีรษะของหม่อมฉัน เขากั้นเครื่องมุงบังดอกไม้ สีเขียวขนาดใหญ่กลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไป นี้เป็นผลแห่งดอกอุบล ๗ ดอก [๘๐] บางครั้ง เมื่อหม่อมฉันถูกหมู่ญาตินำออกไป ครั้งนั้น เขากั้นเครื่องมุงบังดอกไม้สีเขียว ให้บริวารของหม่อมฉันเท่าที่มีอยู่ [๘๑] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๗๐ พระองค์ เป็นใหญ่ในทุกภพ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ [๘๒] ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์ ชนทั้งหลายอนุวัตตามหม่อมฉันทั้งหมด หม่อมฉันมีวาจาน่าเชื่อถือ @เชิงอรรถ : @ มีจิตเบิกบาน หมายถึงมีจิตปราศจากกิเลสมีความโกรธและความถือตัวเป็นต้น มีจิตโสมนัส มีใจสงบ @(ขุ.อป.อ. ๑/๑๓๔/๒๔๕) @ เทียบได้กับคำว่า เวทชาโต แก้เป็น อุปฺปนฺนโสมนสฺโส (ขุ.อป.อ. ๒/๑๓๒/๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค]

๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน

[๘๓] ผิวพรรณของหม่อมฉันเหมือนสีดอกอุบล และกลิ่นกายของหม่อมฉันก็หอมฟุ้งไปคล้ายกลิ่นหอมของดอกอุบล หม่อมฉันไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๘๔] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ ถึงความสำเร็จอภิญญา นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๘๕] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน มีสมาธิฌานเป็นโคจร ขวนขวายในสัมมัปปธาน นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๘๖] หม่อมฉันมีความเพียรนำพาธุระไป อันเป็นเหตุนำธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้ อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก [๘๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป หม่อมฉันได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๘๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๘๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค]

๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน

[๙๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า พระสัตตอุปปลมาลิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทานที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๓๗๗-๓๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=159              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=4195&Z=4229                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=148              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=148&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=148&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thi-ap8/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :