ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกปิณฑปาตทายิกาเถรี
(พระเอกปิณฑปาตทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๔๖] ในกรุงพันธุมดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง พระนามว่าพันธุมา หม่อมฉันเป็นพระมเหสีของท้าวเธอ ย่อมสนทนากันเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น [๔๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันนั่งอยู่ในที่สงัด คิดอย่างนี้ว่า ‘กุศลที่จะนำติดตัวไปซึ่งเราทำไว้ไม่มีเลย [๔๘] เราคงจะต้องตกนรกที่มีความเร่าร้อนมาก ทั้งเผ็ดร้อนร้ายกาจแสนจะทารุณโดยแน่นอน เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย’ [๔๙] หม่อมฉันจึงไปเข้าเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์ทรงพระราชทานสมณะ แก่หม่อมฉันสักองค์หนึ่งเถิด หม่อมฉันจักนิมนต์ท่านให้ฉัน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค]

๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน

[๕๐] พระมหาราชาได้พระราชทานสมณะ ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว๑- แก่หม่อมฉัน หม่อมฉันรับบาตรของท่านมาแล้ว นิมนต์ให้ฉันจนอิ่มหนำด้วยอาหารอย่างดีเยี่ยม [๕๑] หม่อมฉันได้ปรุงอาหารอย่างดีเยี่ยม และเครื่องลูบไล้ที่มีกลิ่นหอม ปิดด้วยตาข่าย คลุมด้วยผ้าสีเหลือง [๕๒] หม่อมฉันระลึกถึงวัตถุทานของหม่อมฉันนี้เป็นอารมณ์จนตลอดชีวิต ทำจิตให้เลื่อมใสในกุศลกรรมนั้นแล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๕๓] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๓๐ พระองค์ สิ่งที่ใจของหม่อมฉันปรารถนาก็บังเกิดตามความปรารถนา [๕๔] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสี ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๐ พระองค์ เป็นหญิงผู้มีกุศลอันสั่งสมไว้แล้ว เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่๒- [๕๕] หม่อมฉันเป็นผู้พ้นจากเครื่องผูกพันทุกอย่างแล้ว หม่อมฉันปราศจากตัณหาที่จะให้เกิดอีก อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก @เชิงอรรถ : @ อินทรีย์อันอบรมแล้ว ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อันอบรมแล้วด้วย @อริยมรรคภาวนา (ขุ.เถรี.อ. ๑๘๒-๑๘๘/๒๑๐) @ ภพน้อยภพใหญ่ ในที่นี้หมายถึงความเจริญและความเสื่อม หรือสมบัติและวิบัติ ความยั่งยืนและ @ความขาดสูญ บุญและบาป (ขุ.จริยา.อ. ๒/๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๓๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค]

๗. กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทาน

[๕๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต [๕๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๕๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๕๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า พระเอกปิณฑปาตทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทานที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๓๗๓-๓๗๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=157              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=4150&Z=4174                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=146              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=146&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=146&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thi-ap6/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :