ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๑๐. สุคันธเถราปทาน

๑๐. สุคันธเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุคันธเถระ
(พระสุคันธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๘๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ มีพระยศยิ่งใหญ่๑- พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร ทรงประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว [๘๒] พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒- ซึ่งมีพระรัศมีประมาณ ๑ วาแวดล้อมแล้ว ปกคลุมไปด้วยข่ายพระรัศมี [๘๓] ทรงทำหมู่สัตว์ให้ยินดีได้เหมือนดวงจันทร์ เปล่งพระรัศมีได้เหมือนดวงอาทิตย์ ทำหมู่สัตว์ให้เยือกเย็นได้เหมือนเมฆฝน เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร [๘๔] พระองค์เปรียบดังแผ่นดินโดยศีล เปรียบดังภูเขาหิมพานต์โดยสมาธิ เปรียบดังอากาศโดยปัญญา เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยว(อะไรๆ)เหมือนสายลม [๘๕] มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามอัธยาศัย ไม่บกพร่อง ทรงแกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท เมื่อจะฉุดมหาชนขึ้น(จากหล่มคือกาม)จึงทรงประกาศสัจจะ @เชิงอรรถ : @ มีพระยศยิ่งใหญ่ หมายถึงมียศแผ่ไปในโลกทั้ง ๓ คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก @(ขุ.อป.อ. ๒/๒๕๑/๓๓๑) @ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๑๐. สุคันธเถราปทาน

[๘๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐี มียศยิ่งใหญ่ในกรุงพาราณสี ข้าพเจ้ามีทรัพย์และธัญชาติอย่างล้นเหลือ จึงมีความองอาจ [๘๗] ข้าพเจ้าเดินพักผ่อนไปจนถึงป่ามฤคทายวัน ได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์โลก กำลังแสดงอมตบทอยู่ [๘๘] มีพระดำรัสไพเราะ น่าฟัง มีพระสุรเสียงดุจเสียงนกการเวก มีพระสุรเสียงก้องกังวานคล้ายเสียงหงส์และเสียงฟ้าคำรน ทำมหาชนให้รู้แจ้งชัด ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ [๘๙] ครั้นเห็นพระองค์แล้วและได้สดับพระสุรเสียงที่ไพเราะ ข้าพเจ้าจึงได้สละโภคะมิใช่น้อย ออกบวชเป็นบรรพชิต [๙๐] ข้าพเจ้าบวชแล้วเช่นนี้ ไม่นานนักก็เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก มีปฏิภาณอันวิจิตร [๙๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้องอาจในการพรรณนา ได้สรรเสริญพระคุณของพระศาสดา ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำอยู่บ่อยๆ ณ ท่ามกลางบริษัทใหญ่ว่า [๙๒] พระศาสดาพระองค์นี้ เป็นพระขีณาสพ เป็นพระพุทธเจ้า ไม่มีทุกข์ ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว ถึงความสิ้นกรรมทุกอย่าง ทรงพ้นจากกิเลสแล้ว ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ [๙๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นี้นั้น เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐอย่างยิ่ง ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๑๐. สุคันธเถราปทาน

[๙๔] เป็นพระฤาษีทรงฝึกพระองค์เองและฝึกมหาชน ทรงสงบระงับเองและทำให้มหาชนสงบระงับ ทรงดับกิเลสเองและทรงยังมหาชนให้ดับกิเลส ทรงเบาพระทัยเองและทรงให้มหาชนเบาใจ [๙๕] ทรงมีความแกล้วกล้า องอาจ กล้าหาญ มีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงได้วสี ทรงมีชัยชนะ ทรงชนะแล้ว ไม่ทรงคะนอง ทรงหมดความห่วงใย [๙๖] เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน เป็นนักปราชญ์ ไม่หลงใหล ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นมุนี ทรงฝักใฝ่ในธุระ ทรงกล้าหาญแม้ในหมู่เจ้าลัทธิ ดังพญาโคอุสภะ พญาคชสาร และพญาราชสีห์ [๙๗] เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากมลทิน เป็นดังพรหม ฉลาดกว่านักปราชญ์ กำจัดเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส หมดเสี้ยนหนาม ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้หมดจด [๙๘] เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นที่พึ่ง เป็นหมอ เป็นผู้กำจัดลูกศร(คือความโศก) เป็นนักรบ เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้คงแก่เรียนและเรียนรู้กว้างขวาง ไม่หวั่นไหว มีใจเบิกบาน ยิ้มแย้ม [๙๙] ทรงฝึกอินทรีย์ เป็นผู้นำตนไป เป็นผู้ทำ เป็นผู้นำ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ยังสัตว์ให้ร่าเริง เป็นผู้วิด เป็นผู้ตัด เป็นผู้ฟัง เป็นผู้สรรเสริญ [๑๐๐] เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก ปราศจากลูกศร ไม่มีทุกข์ ไม่มีความสงสัย เป็นผู้หมดตัณหา ปราศจากธุลี เป็นผู้ขุด เป็นผู้ทำลาย เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ทำให้ปรากฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๑๐. สุคันธเถราปทาน

[๑๐๑] เป็นผู้ช่วยสัตว์ให้ข้าม ให้ทำประโยชน์ ให้สร้างประโยชน์ เป็นผู้ช่วยให้ถึงสัมปทา เป็นผู้ช่วยสัตว์ให้บรรลุ เป็นผู้มีประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้ฆ่า ทรงทำกิเลสให้เร่าร้อน ทำตัณหาให้เหือดแห้ง [๑๐๒] ดำรงอยู่ในสัจจะ หาผู้เสมอเหมือนมิได้ ไม่มีสหาย ทรงมีความกรุณา มีความมหัศจรรย์ ไม่ทรงหลอกลวง เป็นผู้ทำ เป็นฤๅษี เป็นผู้ประเสริฐ(พระพุทธเจ้า) [๑๐๓] ทรงข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ไม่ทรงถือพระองค์ ทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้ ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่ยึดถือถ้อยคำทุกชนิด บรรลุธรรมที่ควรแนะนำทุกประการ ทรงชนะหมู่มาร [๑๐๔] ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระนามว่าสตรังสีพระองค์นั้น เป็นเหตุนำอมตมหานิพพานมาให้ เพราะฉะนั้น ความศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ จึงมีประโยชน์มาก [๑๐๕] ข้าพเจ้าสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสรณะอย่างสูงสุดของโลกทั้ง ๓ ด้วยคุณมีอย่างนี้เป็นต้น จึงแสดงธรรมกถาในท่ามกลางบริษัท [๑๐๖] จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เสวยความสุขมากในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้วเกิดในมนุษย์ เป็นผู้มีกลิ่นหอม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๑๐. สุคันธเถราปทาน

[๑๐๗] ลมหายใจ กลิ่นปาก และกลิ่นกายของข้าพเจ้า ก็เช่นนั้นเหมือนกัน(คือมีกลิ่นหอม) และกลิ่นทั้งหมดนั้น ของข้าพเจ้าก็หอมอยู่เป็นนิตย์ [๑๐๘] กลิ่นปากของข้าพเจ้า หอมฟุ้งไปตลอดกาล เหมือนกลิ่นดอกปทุม ดอกอุบล และดอกจำปา และกายของข้าพเจ้าก็หอมฟุ้งไปทุกเมื่อเช่นนั้นเหมือนกัน [๑๐๙] ทั้งหมดนั้นเป็นผลแห่งการกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า ผลนั้นน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ขอท่านทุกคนจงตั้งใจฟังภาษิตของเรา [๑๑๐] ครั้นข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า ซึ่งนำประโยชน์และความสุขมาให้แล้ว เป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วในธรรมทั้งปวง พระสงฆ์เป็นผู้ขวนขวายในความเพียรอย่างยิ่ง [๑๑๑] มียศ ถึงความสุข งดงาม รุ่งเรือง น่ารัก น่าชม เป็นผู้กล่าว ไม่ดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีโทษ และเป็นผู้มีปัญญา [๑๑๒] ขวนขวายในธรรมเป็นที่สิ้นกิเลส พระนิพพานอันเหล่าชนผู้ภักดีต่อพระพุทธเจ้าพึงได้โดยง่าย ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงเหตุของพวกเขา เชิญท่านทั้งหลายฟังเหตุนั้นตามเป็นจริง [๑๑๓] ข้าพเจ้าถวายอภิวาทก็เพราะค้นพบพระยศ ที่มีอยู่ของพระผู้มีพระภาค เพราะเหตุนั้น แม้ข้าพเจ้าจะเกิดในภพใดๆ ก็เป็นผู้มียศในภพนั้นๆ [๑๑๔] ข้าพเจ้าสรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ และพระธรรมที่สงบซึ่งปัจจัยปรุงแต่งมิได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๑๐. สุคันธเถราปทาน

เป็นผู้ให้ความสุขแก่สรรพสัตว์ เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงได้รับแต่ความสุข [๑๑๕] ข้าพเจ้าผู้ประกอบด้วยปีติในพระพุทธเจ้า สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า เป็นที่พอใจของตนเอง และเป็นที่พอใจของคนอื่น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความพอใจ [๑๑๖] พระชินเจ้าพระองค์ใด ทรงย่ำยีพวกเดียรถีย์ ล่วงพ้นเดียรถีย์ได้ ข้าพเจ้าเมื่อสรรเสริญคุณของพระชินเจ้าพระองค์นั้น จึงชมเชยพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีแต่ความรุ่งเรือง [๑๑๗] ข้าพเจ้าเมื่อกล่าวสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กระทำตนให้เป็นที่รักแม้ของประชาชน เป็นเหมือนดวงจันทร์อันมีในสารทกาล๑- เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้น่ารัก น่าชม [๑๑๘] ข้าพเจ้าชมเชยพระสุคตด้วยวาจาทุกอย่างตามความสามารถ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมีปฏิภาณวิจิตรเหมือนท่านพระวังคีสะ [๑๑๙] คนพาลเหล่าใดเป็นผู้มีความสงสัย จึงดูหมิ่นพระมหามุนี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงข่มคนพาลเหล่านั้นโดยการข่มขี่ที่ชอบธรรม [๑๒๐] ข้าพเจ้าช่วยกำจัดกิเลสทั้งหลายของเหล่าสัตว์ ด้วยการสรรเสริญพระพุทธเจ้า เพราะอานุภาพของกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีจิตปราศจากกิเลส @เชิงอรรถ : @ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ฤดูสารท ย่างเข้าฤดูหนาว (องฺ.ติก.(แปล) ๒๐/๖๔/๒๔๘, ๙๕/๓๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๑๐. สุคันธเถราปทาน

[๑๒๑] ข้าพเจ้าแสดงพุทธานุสสติ ได้ทำปัญญาเครื่องตรัสรู้ให้เกิดแก่ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งอรรถที่ละเอียด [๑๒๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่าง จักข้ามพ้นห้วงน้ำคือสังสารวัฏไปได้ และเป็นผู้ได้วสี ไม่ถือมั่น๑- ถึงความดับสนิท [๑๒๓] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้สดุดีพระชินเจ้าไว้ จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๑๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๑๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๑๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุคันธเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ติณทายกวรรคที่ ๕๓ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ คำว่า ไม่ถือมั่น หมายถึงไม่ถือกิเลสเครื่องยึดมั่นถือมั่น คือ อุปาทาน ๔ ประการ คือ (๑) กามุปาทาน @(๒) ทิฏฐุปาทาน (๓) สีลัพพตุปาทาน (๔) อัตตวาทุปาทาน (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๒/๒๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

รวมอปทานที่มีในวรรค

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน ๒. เวจจกทายกเถราปทาน ๓. สรณคมนิยเถราปทาน ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน ๕. สุปฏทายกเถราปทาน ๖. ทัณฑทายกเถราปทาน ๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน ๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน ๑๐. สุคันธเถราปทาน ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๒๓ คาถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=120              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=2602&Z=2712                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=120              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=120&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=120&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap532/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :