ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๑๐. ปุปผจังโกฏิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุปผจังโกฏิยเถระ
(พระปุปผจังโกฏิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๖๘] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้ประเสริฐ ทรงเป็นดุจราชสีห์ ตัวไม่ครั่นคร้าม ดุจพญาครุฑเลิศกว่านกทั้งหลาย ดุจพญาเสือโคร่งตัวองอาจ ดุจพญาไกรสรมีชาติสูง [๖๙] พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของทั้ง ๓ โลก ไม่ทรงหวั่นไหว ไม่ทรงพ่ายแพ้เลิศกว่าบรรดาสมณะ ประทับนั่งมีหมู่ภิกษุห้อมล้อม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๒๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๗. สกจิตตนิยวรรค]

๑๐. ปุปผจังโกฏิยเถราปทาน

[๗๐] ข้าพระองค์นำดอกอังกาบชั้นดีใส่ไว้ในผอบ ได้บูชาพระพุทธเจ้าประเสริฐที่สุดด้วยทั้งผอบใหญ่นั่นเอง [๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ ทรงองอาจกว่านรชน ข้าพระองค์ละความชนะและความแพ้ได้แล้ว๑- บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว๒- ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น [๗๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๗๓] ในกัปที่ ๓๐ ถ้วน (นับจากกัปนี้ไป) ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ ชาติ มีพระนามว่าเทวภูติ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ [๗๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระปุปผจังโกฏิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุปผจังโกฏิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
สกจิตตนิยวรรคที่ ๗ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถข้อ ๙ หน้า ๒๐๓ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถข้อ ๙ หน้า ๒๐๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๒๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๗. สกจิตตนิยวรรค]

รวมอปทานที่มีในวรรค

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สกจิตตนิยเถราปทาน ๒. อาโปปุปผิยเถราปทาน ๓. ปัจจาคมนิยเถราปทาน ๔. ปรัปปสาทกเถราปทาน ๕. ภิสทายกเถราปทาน ๖. สุจินติตเถราปทาน ๗. วัตถทายกเถราปทาน ๘. อัมพทายกเถราปทาน ๙. สุมนเถราปทาน ๑๐. ปุปผจังโกฏิยเถราปทาน คาถาอันแสดงอรรถที่ท่านกล่าวไว้แล้วนับได้ ๗๑ คาถา ฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๒๑๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๒๑๒-๒๑๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=72              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=2783&Z=2809                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=72              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=32&item=72&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=2534              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=32&item=72&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=2534                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap72/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :