ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๔. โธตกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโธตกเถระ
(พระโธตกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๗๒] ครั้งนั้น แม่น้ำภาคีรถี เกิดจากภูเขาหิมพานต์ ไหลผ่านไปทางประตูกรุงหงสวดี [๗๓] อารามชื่อโสภิตะ มหาชนสร้างไว้อย่างสวยงามใกล้ฝั่งแม่น้ำ พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ประทับอยู่ในอารามนั้น [๗๔] พระผู้มีพระภาคมีหมู่มนุษย์ห้อมล้อม ดังพระอินทร์จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประทับนั่งในอารามนั้น ไม่ครั่นคร้ามดุจราชสีห์ [๗๕] ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์มีนามว่าฉฬังคะ อยู่ในกรุงหงสวดี พระมหามุนีก็มีนามอย่างนั้น [๗๖] ครั้งนั้น ศิษย์ ๑๑๘ คน แวดล้อมข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพร้อมด้วยศิษย์เหล่านั้นไปยังฝั่งแม่น้ำ [๗๗] ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นสมณะหลายรูป ผู้ไม่คดโกง ผู้ชำระบาปแล้ว ในครั้งนั้น ข้าพเจ้ากำลังข้ามแม่น้ำภาคีรถีคิดอย่างนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค]

๔. โธตกเถราปทาน

[๗๘] บุตรของพระพุทธเจ้าผู้มียศมากเหล่านี้ ข้ามแม่น้ำทั้งในเวลาเย็นและในเวลาเช้า ย่อมทำตนให้ลำบาก ทำตนให้เดือดร้อน [๗๙] บัณฑิตย่อมกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก เครื่องสักการะสำหรับชำระทางคือคติในทักษิณาของเราก็ไม่มี [๘๐] ทางที่ดี เราพึงให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดเถิด ครั้นให้สร้างสะพานนี้แล้ว จะข้ามภพนี้ไปได้ [๘๑] ข้าพเจ้าเชื่อว่ากุศลที่ข้าพเจ้าทำแล้วนี้ จักไพบูลย์ จึงได้ให้ทรัพย์ ๑๐๐ (บ้าง) ๑,๐๐๐ (บ้าง) แล้วให้สร้างสะพาน [๘๒] ข้าพเจ้าให้สร้างสะพานนั้นเสร็จแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ประนมมือเหนือศีรษะแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า [๘๓] ข้าพเจ้าได้จ่ายทรัพย์ ๑๐๐ (บ้าง) ๑,๐๐๐ (บ้าง) แล้วให้สร้างสะพานใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ข้าแต่พระมหามุนี ขอได้โปรดทรงรับเถิด [๘๔] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า [๘๕] เราจักพยากรณ์ผู้ที่เลื่อมใส ซึ่งได้ให้สร้างสะพาน ถวายเราด้วยมือของตน ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค]

๔. โธตกเถราปทาน

[๘๖] ผู้นี้แม้ตกจากซอกเขาก็ดี จากภูเขาก็ดี จากต้นไม้ก็ดี แม้จุติแล้วก็จักได้ที่ตั้งมั่น (คือที่พึ่ง) นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน [๘๗] ศัตรูทั้งหลายข่มไม่ได้ เปรียบเหมือนลมข่มต้นไทร ที่มีรากและย่านงอกงามไม่ได้ฉะนั้น นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน [๘๘] พวกโจรข่มเหงไม่ได้ กษัตริย์ทั้งหลายไม่ดูหมิ่น ผู้นี้จักผ่านศัตรูทั้งปวงไปได้ นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน [๘๙] ผู้นี้ประกอบด้วยบุญกรรม ถึงจะอยู่ในโอกาสกลางแจ้งถูกแดดกล้าจัดแผดเผา ก็จักไม่มีเวทนา [๙๐] ในเทวโลกก็ดี ในมนุษยโลกก็ดี ยานพาหนะคือช้าง ที่บุญกรรมเนรมิตดีแล้ว ดังจะรู้ความดำริของผู้นั้น จักบังเกิดในทันที [๙๑] ม้าสินธพ ๑,๐๐๐ ตัวซึ่งเป็นพาหนะวิ่งเร็วปานกำลังลม จักคอยรับใช้ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน [๙๒] ผู้นี้มาเกิดเป็นมนุษย์ จักเป็นผู้มีความสุข แม้ในการเกิดเป็นมนุษย์นี้ ก็จักมียานพาหนะคือช้าง [๙๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป) พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก [๙๔] ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค]

๔. โธตกเถราปทาน

[๙๕] ช่างน่าปลื้มใจ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ดีแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ข้าพเจ้ากระทำสักการะไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จึงบรรลุความสิ้นอาสวะ [๙๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเด็ดเดี่ยว เพื่อบำเพ็ญเพียร เป็นผู้สงบระงับ ไม่มีอุปธิ ตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๙๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๙๘] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๙๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ได้ทราบว่า ท่านพระโธตกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โธตกเถราปทานที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๖๖๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๖๖๔-๖๖๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=406              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=9008&Z=9059                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=406              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=32&item=406&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5421              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=32&item=406&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5421                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap406/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :