ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๙. มัคคกถา
ว่าด้วยมรรค
[๒๓๗] คำว่า มรรค อธิบายว่า ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะว่าอย่างไร คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น เป็น มรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำ กิเลสทั้งหลาย๕- เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต @เชิงอรรถ : @ วิปัลลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๓ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส และ @ทิฏฐิวิปัลลาส คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ อนิจฺเจ นิจฺจํ (สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง) และ อนตฺตนิ อตฺตา @(สิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตา) เป็นวิปัลลาส ๖ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญาวิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส @(๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส (๖) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณ @ตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙) @ วิปัลลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงทิฏฐิวิปัลลาส ๑ ประการ คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ @ทุกฺเข สุขํ (สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) และ อสุเภ สุภํ (สิ่งที่ไม่งามว่างาม) เป็นวิปัลลาส ๒ ประการ ได้แก่ @(๑) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๒) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙) @ วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้ หมายถึงวิปัลลาส ๒ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส กับ จิตตวิปัลลาส ในวัตถุ ๒ @คือ ทุกฺเข สุขํ (สภาวะที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) อสุเภ สุภํ (สภาวะที่ไม่งามว่างาม) ประการละ ๒ วิปัลลาส @(๒ x ๒ เป็น ๔ วิปัลลาส) ได้แก่ (๑) สุขสัญญาวิปัลลาส (๒) สุภสัญญาวิปัลลาส (๓) สุขจิตตวิปัลลาส @(๔) สุภจิตตวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙) @ วิปัลลาส ๘ ในวัตถุ ๘ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๖ ประการ ในวัตถุ ๒ (ในเชิงอรรถที่ ๒) รวมกับ @วิปัลลาส ๒ ประการ ในวัตถุ ๒ ประการ (ในเชิงอรรถที่ ๓) เป็นวิปัลลาส ๘ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญา- @วิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส (๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส @(๖) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๗) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (๘) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙) @ เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย หมายถึงทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๗/๒๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๙. มัคคกถา

เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้ สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ มิจฉาสังกัปปะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความ หมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ ในนิโรธ ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉา- วาจา เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดใน เบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุ ธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อ ความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ใน นิโรธ ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ มิจฉาอาชีวะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นมรรคและ เป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาวายามะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็น มรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสติ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ มิจฉาสมาธิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจด ในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อ บรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละกามราค- สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๙. มัคคกถา

เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละกามราค- สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียดๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เพื่อ อุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ มรรคคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มรรคคือความตรึกตรอง ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ มรรคคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มรรคคือสมุฏฐาน ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ มรรคคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มรรคคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ มรรคคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มรรคคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ มรรคคือ ความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ มรรคคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ มรรคคือการพิจารณา ชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๙. มัคคกถา

มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ มรรคคือ ความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหว เพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่า สมาธิพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ มรรคคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ มรรคคือการประคองไว้ ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มรรคคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ มรรคที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มรรคที่ชื่อว่าพละ เพราะมี สภาวะไม่หวั่นไหว มรรคที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก มรรคที่ชื่อว่า องค์แห่งมรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ มรรคที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มรรคที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะตั้งไว้ มรรคที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมี สภาวะให้สำเร็จ มรรคที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ มรรคที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มรรคที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มรรคที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน มรรคที่ชื่อ ว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน มรรคที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมี สภาวะสำรวม มรรคที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มรรคที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น มรรคที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น มรรคที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง มรรคที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ มรรคที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด มรรคที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มรรคที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มรรค ที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม มรรคที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม มรรคที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน มรรคที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะ เป็นใหญ่ มรรคที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น มรรคที่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ นิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มัคคกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๐๑-๔๐๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=68              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=7311&Z=7372                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=527              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=527&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=4723              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=527&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=4723                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :