ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๑. คณนวาระ

๓. อานาปานัสสติกถา
ว่าด้วยสติกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก
๑. คณนวาระ
วาระว่าด้วยการนับ
[๑๕๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ญาณเกินกว่า ๒๐๐ ย่อมเกิดขึ้น (คือ) ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ ญาณ ในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณในโวทาน ๑๓ ญาณในการทำ สติ ๓๒ ญาณด้วยอำนาจสมาธิ ๒๔ ญาณด้วยอำนาจวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ เป็น อย่างไร คือ กามฉันทะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ เนกขัมมะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ พยาบาท เป็นอันตรายต่อสมาธิ อพยาบาท เป็นอุปการะแก่สมาธิ ถีนมิทธะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ อาโลกสัญญา เป็นอุปการะแก่สมาธิ อุทธัจจะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ อวิกเขปะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ วิจิกิจฉา เป็นอันตรายต่อสมาธิ ธัมมววัตถาน เป็นอุปการะแก่สมาธิ อวิชชา เป็นอันตรายต่อสมาธิ ญาณ เป็นอุปการะแก่สมาธิ อรติ เป็นอันตรายต่อสมาธิ ปามุชชะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ อกุศลธรรมทั้งปวงเป็นอันตรายต่อสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ เหล่านี้
คณนวาระที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๒. โสฬสญาณนิทเทส

๒. โสฬสญาณนิทเทส
แสดงญาณ ๑๖
[๑๕๓] จิตที่ฟุ้งซ่านและจิตที่สงบ ย่อมดำรงอยู่ในธรรมที่มีสภาวะเดียว และย่อมหมดจดจากนิวรณ์ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้ ธรรมที่มีสภาวะเดียวเหล่านั้น อะไรบ้าง คือ ๑. เนกขัมมะ(การหลีกออกจากกาม) เป็นสภาวะเดียว ๒. อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นสภาวะเดียว ๓. อาโลกสัญญา(ความหมายรู้แสงสว่าง) เป็นสภาวะเดียว ๔. อวิกเขปะ(ความไม่ฟุ้งซ่าน) เป็นสภาวะเดียว ๕. ธัมมววัตถาน(การกำหนดธรรม) เป็นสภาวะเดียว ๖. ญาณ(ความรู้) เป็นสภาวะเดียว ๗. ปามุชชะ(ความปราโมทย์) เป็นสภาวะเดียว ๘. กุศลธรรมทั้งปวง เป็นสภาวะเดียว บทว่า นิวรณ์ อธิบายว่า นิวรณ์เหล่านั้น อะไรบ้าง คือ ๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) เป็นนิวรณ์ ๒. พยาบาท (ความคิดร้าย) เป็นนิวรณ์ ๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) เป็นนิวรณ์ ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) เป็นนิวรณ์ ๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นนิวรณ์ ๖. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) เป็นนิวรณ์ ๗. อรติ (ความไม่ยินดี) เป็นนิวรณ์ ๘. อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์ บทว่า นิวรณ์ อธิบายว่า ชื่อว่านิวรณ์ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่านิวรณ์ เพราะมีความหมายว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ธรรมเครื่องนำออกเหล่านั้น เป็นอย่างไร คือ เนกขัมมะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก ด้วยเนกขัมมะนั้น กามฉันทะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๒. โสฬสญาณนิทเทส

เนกขัมมะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น กามฉันทะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก อพยาบาท เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย อพยาบาทนั้น พยาบาท เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก อพยาบาทที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกพยาบาทนั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น พยาบาทจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก อาโลกสัญญา เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก ด้วยอาโลกสัญญานั้น ถีนมิทธะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม ไม่รู้จักอาโลกสัญญาที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะ นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก อวิกเขปะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย อวิกเขปะนั้น อุทธัจจะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก อวิกเขปะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ธัมมววัตถาน เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก ด้วยธัมมววัตถานนั้น วิจิกิจฉา เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม ไม่รู้จักธัมมววัตถานที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉา นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น วิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ญาณ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย ญาณนั้น อวิชชาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณที่เป็น ธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อวิชชาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ปามุชชะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย ปามุชชะนั้น อรติ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักปามุชชะ ที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อรติจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส

กุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อม ออกด้วยกุศลธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรมที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็น เครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก เมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้ เจริญสมาธิที่ประกอบด้วย อานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปเพียงชั่วขณะย่อมมีได้
โสฬสญาณนิทเทสที่ ๒ จบ
๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
แสดงญาณในอุปกิเลส
ปฐมฉักกะ
หมวดหก ที่ ๑
[๑๕๔] อุปกิเลส ๑๘ เหล่าไหนย่อมเกิดขึ้น คือ เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด๑- จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า ย่อมเป็นอันตรายต่อ สมาธิ ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก ย่อมเป็นอันตรายต่อ สมาธิ @เชิงอรรถ : @ ฐานเบื้องต้น หมายถึงปลายจมูกหรือริมฝีปาก ฐานท่ามกลาง หมายถึงหทัย ฐานที่สุด หมายถึงสะดือ @(ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๔/๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส

ความหลงในการได้ลมหายใจออกของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจเข้าของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ สติไปตามลมหายใจเข้า ๑ สติไปตามลมหายใจออก ๑ ความหวัง (ลมหายใจเข้า) ที่ฟุ้งซ่านภายใน ๑ ความหวัง (ลมหายใจออก) ที่ฟุ้งซ่านภายนอก ๑ (ความหลงในการได้ลมหายใจออก ของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ๑ ความหลงในการได้ลมหายใจเข้า ของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ ๑) อุปกิเลส ๖ ประการนี้เป็นอันตราย ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ และเป็นเหตุให้จิตของพระโยคาวจร ผู้หวั่นไหวไม่หลุดพ้น พระโยคาวจรทั้งหลายยังไม่เข้าใจวิโมกข์ จึงสมควรเชื่อบุคคลอื่น ฉะนี้แล
ทุติยฉักกะ
หมวดหก ที่ ๒
[๑๕๕] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็น อันตรายต่อสมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตราย ต่อสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส

เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตราย ต่อสมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตราย ต่อสมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็น อันตรายต่อสมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็น อันตรายต่อสมาธิ เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตราย ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ และเป็นเหตุให้จิตของพระโยคาวจร ผู้หวั่นไหวไม่หลุดพ้น พระโยคาวจรทั้งหลายยังไม่เข้าใจวิโมกข์ จึงสมควรเชื่อบุคคลอื่น ฉะนี้แล
ตติยฉักกะ
หมวดหก ที่ ๓
[๑๕๖] จิตที่แล่นไปในอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย ต่อสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส

จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ จิตที่หดหู่ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ จิตที่น้อมรับตกไปข้างฝ่ายกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ จิตที่ผละออกตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ จิตที่หวังอนาคตารมณ์ จิตที่หดหู่ จิตที่มีความเพียรกล้า จิตที่น้อมรับ จิตที่ผละออก ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตราย ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล [๑๕๗] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ในภายใน เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้ง ซ่านในภายนอก กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส

กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร ผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงในการได้ลมหายใจออก กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร ผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงในการได้ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร ผู้คำนึงถึงนิมิต มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร ผู้คำนึงถึงนิมิต มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตาม อตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตหวังอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ตกไป ข้างฝ่ายเกียจคร้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตมีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตน้อมรับ ตกไป ข้างฝ่ายกำหนัด กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตผละออก ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปานสติ กายและจิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว กายและจิตของผู้นั้นย่อมดิ้นรน ส่วนผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปานสติดีแล้ว กายและจิตของผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว กายและจิตของผู้นั้นย่อมไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล อนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิที่ประกอบ ด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปเพียงชั่วขณะย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ ประการนี้ย่อมเกิดขึ้น
อุปกิเลสญาณนิทเทสที่ ๓ จบ
๔. โวทานญาณนิทเทส
แสดงญาณในโวทาน
[๑๕๘] ญาณในโวทาน ๑๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน พระโยคาวจร ละจิตนั้นแล้วตั้งจิตไว้มั่นในฐานหนึ่ง ๒. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ๓. จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้นจิตนั้น แล้วน้อมจิตไปในฐานะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

๔. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ๕. จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน พระโยคาวจรยกจิตนั้นไว้แล้ว ละความเกียจคร้าน ๖. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ๗. จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้น แล้วละอุทธัจจะ ๘. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ๙. จิตน้อมรับ ตกไปข้างฝ่ายกำหนัด พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้ว ละความกำหนัด ๑๐. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ๑๑. จิตผละออก ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้วละ พยาบาท ๑๒. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ๑๓. จิตบริสุทธิ์ผุดผ่องถึงสภาวะเดียว ด้วยฐานะ ๖ ประการ๑- นี้ ธรรมที่มีสภาวะเดียวเหล่านั้น เป็นอย่างไร คือ ความปรากฏแห่งการบริจาคทาน เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่ง สมถนิมิต เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งความดับ เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งการบริจาคทานของ บุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งสมถนิมิตของ บุคคลผู้ประกอบในอธิจิตทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความ เสื่อมของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งความ ดับของพระอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว @เชิงอรรถ : @ ฐานะ ๖ ประการ หมายถึงข้อที่ ๑ กับข้อที่ ๒ จัดเป็นฐานะที่หนึ่ง, ข้อที่ ๓ กับข้อที่ ๔ จัดเป็นฐานะที่สอง, @ข้อที่ ๕ กับข้อที่ ๖ จัดเป็นฐานะที่สาม, ข้อที่ ๗ กับข้อที่ ๘ จัดเป็นฐานะที่สี่, ข้อที่ ๙ กับข้อที่ ๑๐ จัดเป็น @ฐานะที่ห้า, ข้อที่ ๑๑ กับข้อที่ ๑๒ จัดเป็นฐานะที่หก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

จิตที่ถึงสภาวะเดียวด้วยฐานะ ๔ นี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาหมดจด ผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน อะไร เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน คือ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ความเพิ่มพูน อุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น ๒. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด ๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ เป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความ หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌานมีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้นและถึงพร้อมด้วยลักษณะ ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๒. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๓. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌานเพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๑ เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๑ เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ๑ ความเพิ่ม พูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในปฐมฌานนั้น ไม่ล่วงเลยกัน ๒. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ๓. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป ๔. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน มีลักษณะ ๔ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งทุติยฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งทุติยฌาน อะไรเป็น ที่สุดแห่งทุติยฌาน คือ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งทุติยฌาน ความเพิ่มพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งทุติยฌาน ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยปีติ สุข การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งตติยฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งตติยฌาน อะไรเป็น ที่สุดแห่งตติยฌาน ฯลฯ จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยสุข การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็น ที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลางแห่ง อากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลาง แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งเนวสัญญานาสัญญายตน- สมาบัติ ฯลฯ จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิจจานุปัสสนา อะไรเป็นท่ามกลางแห่งอนิจจานุปัสสนา อะไรเป็นที่สุดแห่งอนิจจานุปัสสนา ฯลฯ จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การ อธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งทุกขานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนัตตานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิราคานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งขยานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวยานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิมิตตานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสุญญตานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งโสดาปัตติมรรค ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค อะไรเป็นเป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค อะไรเป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค ความเพิ่มพูน อุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตต- มรรค ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น ๒. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด ๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ เป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อม ด้วยลักษณะ ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๒. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๓. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรคเพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๑ เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๑ เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ๑ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอรหัตตมรรค นั้นไม่ล่วงเลยกัน ๒. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ๓. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป ๔. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ ๔ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

[๑๕๙] นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะรู้ธรรม ๓ ประการ จึงได้ภาวนา ฉะนี้แล ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ เป็น อย่างไร คือ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ บุรุษใช้เลื่อยตัดต้นไม้นั้น ตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือ ที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ นิมิต ที่ผูกจิตไว้ เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ ลมหายใจเข้าหายใจออก เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก ไม่ได้ใส่ใจถึงลม หายใจเข้าหายใจออกที่เข้ามาหรือออกไป ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่เข้ามาหรือ ออกไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ เหมือนบุรุษนั่งตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและ บรรลุผลวิเศษ ฉะนั้น ประธาน เป็นอย่างไร คือ กายและจิตของภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน ประโยค เป็นอย่างไร คือ ภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมละอุปกิเลส๑- ได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค @เชิงอรรถ : @ อุปกิเลส หมายถึงนิวรณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๙/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

ผลวิเศษ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุผู้มีความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมถึงความพินาศไป นี้เป็น ผลวิเศษ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และ ธรรม ๓ ประการนี้จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ [๑๖๐] บุคคลใด ภาวนาอานาปานสติดีแล้ว บริบูรณ์แล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ บุคคลนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก ฉะนั้น คำว่า อานะ อธิบายว่า ลมหายใจเข้า ไม่ใช่ลมหายใจออก คำว่า อปานะ อธิบายว่า ลมหายใจออก ไม่ใช่ลมหายใจเข้า สติเข้าไปตั้ง อยู่ที่ลมหายใจเข้าหายใจออก ผู้ใดหายใจเข้า สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น ผู้ใดหายใจออก สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น คำว่า บริบูรณ์แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่าถือเอา รอบ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมี ความหมายว่าเต็มรอบแล้ว คำว่า ภาวนา...ดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน ๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น อย่างเดียวกัน ๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ ธรรมนั้นเข้าไป ๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

ความหมายแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดุจยาน ทำให้ เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว คำว่า ทำให้เป็นดุจยาน อธิบายว่า ภิกษุนั้นหวังในธรรมใดๆ ย่อมเป็นผู้ถึง ความชำนาญ มีกำลัง๑- ถึงความแกล้วกล้าในธรรมนั้นๆ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่ เนื่องด้วยความคำนึงถึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดุจยาน คำว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง อธิบายว่า จิตตั้งมั่นดีในวัตถุใดๆ สติก็ปรากฏดีใน วัตถุนั้นๆ หรือสติปรากฏดีในวัตถุใดๆ จิตก็ตั้งมั่นดีในวัตถุนั้นๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง คำว่า น้อมไป อธิบายว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใดๆ สติก็หมุนไปตาม (คุมอยู่) ด้วยอาการนั้นๆ ก็หรือว่า สติหมุนไปด้วยอาการใดๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้นๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป คำว่า อบรมแล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่า ถือเอารอบ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมี ความหมายว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชนะบาปอกุศลธรรมได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้ว คำว่า ปรารภเสมอดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนา ๔ อย่าง ภิกษุปรารภเสมอ ดีแล้ว คือ ๑. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน ๒. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรส เป็นอย่างเดียวกัน ๓. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควร แก่ธรรมนั้นเข้าไป @เชิงอรรถ : @ มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังคือสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๐/๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

๔. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่ ธรรมนั้น [๑๖๑] คำว่า เสมอดี อธิบายว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี ความเสมอ เป็นอย่างไร คือ กุศลธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้น เป็นฝ่ายแห่งความตรัสรู้ นี้ชื่อว่าความเสมอ ความเสมอดี เป็นอย่างไร คือ ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้ชื่อว่าความเสมอดี ก็ความเสมอและความเสมอดี ดังนี้ ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้ แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตารมณ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปรารภเสมอดีแล้ว คำว่า อบรมแล้วตามลำดับ อธิบายว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้อต้นๆ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลังๆ ตามลำดับ อบรม อานาปานสติข้อต้นๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ ข้อหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้นๆ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลังๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้นๆ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลังๆ ตามลำดับ อบรม อานาปานสติข้อต้นๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ ข้อหลังๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้นๆ ด้วยอำนาจความ เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลังๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้นๆ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ สละคืนหายใจออก ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลังๆ ตามลำดับ อานาปานสติ อันมีวัตถุ ๑๖ แม้ทั้งปวงอาศัยกัน ภิกษุนั้นอบรมแล้วและอบรมแล้วตามลำดับ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้วตามลำดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

คำว่า ตามสภาวะ อธิบายว่า ตามสภาวะมีความหมาย ๑๐ อย่าง คือ ๑. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ๒. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ๓. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน ๔. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ารู้ยิ่ง ๕. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ากำหนดรู้ ๖. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าละ ๗. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าเจริญ ๘. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าทำให้แจ้ง ๙. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าตรัสรู้สัจจะ ๑๐. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ไม่มี ครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุ ความเป็นพระสัพพัญญูในสัจจะนั้นและถึงความเป็นผู้ทรงชำนาญในพลญาณทั้งหลาย [๑๖๒] คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะมีความ หมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลายแล้ว ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงทำหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระสัพพัญญู ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะไม่มีคนอื่นแนะนำ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระขีณาสพ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากอุปกิเลส ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส

ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะเสด็จถึงทางสายเอก ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ขจัดความไม่รู้ได้แล้ว เพราะทรงเป็นผู้ได้ เฉพาะซึ่งความรู้ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดา ทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติสาโลหิตทรงตั้ง มิใช่ สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม๑- เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๒- ของพระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น๓- คำว่า ทรงแสดงไว้ อธิบายว่า ตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ชื่อว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ชื่อว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ฯลฯ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตน ให้ตั้งอยู่ในนิโรธ ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ คำว่า บุคคลนั้น อธิบายว่า ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ หรือผู้ที่เป็นบรรพชิต คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ- สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติวิภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ฯลฯ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ @เชิงอรรถ : @ วิโมกขันติกนาม หมายถึงพระนามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตตผล (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๒/๑๐๐) @ สัจฉิกาบัญญัติ หมายถึงการทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล อีกนัยหนึ่งคือบัญญัติที่เกิดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งธรรม @ทั้งปวง (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๒/๑๐๐) @ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๒/๕๕๑-๕๕๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

คำว่า ให้สว่างไสว อธิบายว่า บุคคลนั้นทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะ เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน ฯลฯ ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความ หมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ คำว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก อธิบายว่า กิเลสเหมือนหมอก อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทิมเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวง แล้ว ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และรุ่งเรือง เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก พ้นจากควันและธุลี พ้นจากฝ่ามือราหู ทำโอกาสโลกให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และ รุ่งเรืองฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก ญาณในโวทาน ๑๓ ประการนี้
โวทานญาณนิทเทสที่ ๔ จบ
ภาณวารจบ
๕. สโตการิญาณนิทเทส
แสดงญาณในการทำสติ
[๑๖๓] ญาณในการทำสติ ๓๒ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในที่นี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์๑- ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้ามีสติหายใจออก คือ ๑. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ๒. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว ๓. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น ๔. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น @เชิงอรรถ : @ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งเรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

๕. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า” ๖. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก” ๗. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า” ๘. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก” ๙. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า” ๑๐. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก” ๑๑. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า” ๑๒. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจออก” ๑๓. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า” ๑๔. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก” ๑๕. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า” ๑๖. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจออก” ๑๗. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า” ๑๘. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจออก” ๑๙. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า” ๒๐. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก” ๒๑. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า” ๒๒. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจออก” ๒๓. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า” ๒๔. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจออก” ๒๕. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า” ๒๖. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก” ๒๗. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า” ๒๘. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก” ๒๙. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า” ๓๐. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก” ๓๑. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า” ๓๒. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

[๑๖๔] คำว่า ในที่นี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความ พอใจนี้ ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นี้ คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน พระเสขะ หรือเป็น พระอรหันต์ ผู้มีธรรมไม่กำเริบ คำว่า ป่า อธิบายว่า สถานที่ทุกแห่งนอกจากเสาเขื่อนออกไป สถานที่นั้น ทั้งหมด ชื่อว่าป่า คำว่า โคนไม้ อธิบายว่า อาสนะของภิกษุซึ่งจัดไว้ที่โคนไม้ คือ เตียง ตั่ง ฟูก เสื่ออ่อน ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้ หรือเครื่องลาด ทำด้วยฟาง ภิกษุยืน เดิน นั่ง หรือนอนที่อาสนะนั้น คำว่า ว่าง อธิบายว่า เป็นสถานที่ไม่พลุกพล่านด้วยใครๆ จะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต คำว่า เรือน อธิบายว่า วิหาร โรงที่มุงไว้ครึ่งหนึ่ง ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์ คำว่า ตั้งกายตรง อธิบายว่า กายเป็นกายที่ภิกษุนั้นตั้งไว้ตรง คำว่า เฉพาะ ในคำว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีการกำหนดถือเอาเป็นอรรถ คำว่า หน้า มีการนำออกเป็นอรรถ คำว่า สติ มีการเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า [๑๖๕] คำว่า มีสติ หายใจเข้า อธิบายว่า ภิกษุทำสติโดยอาการ ๓๒ อย่าง คือ ภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็น เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็น ผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วย ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ ออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อรู้ความ ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

สละคืนหายใจเข้า สติย่อมตั้งมั่น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่า เป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
ปฐมจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๑
[๑๖๖] ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออก ยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุหายใจเข้ายาวในกาลที่นับว่ายาว หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว หายใจเข้าหายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว ฉันทะเกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้า หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว หายใจเข้ายาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว หายใจ ออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว เธอทั้งหายใจเข้า หายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว ความปราโมทย์ เกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ ในกาลที่นับว่ายาว หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ ในกาลที่นับว่ายาว หายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว หาย ใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว จิตของเธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความ ปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าหายใจออกยาว อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกยาวด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

[๑๖๗] คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อม คลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละ อัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ(ความยินดี)ได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ (ความยึดถือ)ได้ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ไม่ล่วงเลยกัน ๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมเข้าไป ๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า หายใจออกยาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ ดับไป สัญญาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกจึง ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร คือ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ อวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

เวทนาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้น แห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัย ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะ (ความว่าง) ย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร คือ ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ อวิชชาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ เวทนาจึงดับ” ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ ไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อม ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้ สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร คือ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ อวิชชาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะผัสสะเกิด สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร คือ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ อวิชชาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ สัญญาจึงดับ” ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ ไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อม ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร คือ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ อวิชชาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด วิตกจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ สัญญาเกิด วิตกจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นแห่ง วิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร คือ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร คือ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ อวิชชาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ วิตกจึงดับ” ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ สัญญาดับ วิตกจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะความแปรผัน ความดับไปแห่งวิตกก็ ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

[๑๖๘] ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม หายใจเข้าหายใจออกยาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้งธรรม อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์ทั้งหลาย ประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้ง ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย ประชุมลงอย่างไร คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ให้วิริยินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สตินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้ สมาธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ปัญญินทรีย์ประชุมลง เพราะมี สภาวะเห็น บุคคลนี้๑- ให้อินทรีย์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง” คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร แห่งธรรมนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความ สงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น ประโยชน์ คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่ ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” คำว่า ให้พละทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้พละทั้งหลายประชุมลง อย่างไร @เชิงอรรถ : @ บุคคลนี้ หมายถึงพระโยคาวจรผู้ประกอบอานาปานสติภาวนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๘/๑๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

คือ ภิกษุให้สัทธาพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี ศรัทธา ให้วิริยพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ให้สติพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ให้สมาธิพละ ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ให้ปัญญาพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา บุคคลนี้ให้พละเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้พละทั้งหลายประชุมลง” คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” คำว่า ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้โพชฌงค์ทั้งหลาย ประชุมลงอย่างไร คือ ภิกษุให้สติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้ธัมม- วิจยสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น ให้วิริยสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้ปีติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะแผ่ซ่านไป ให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะสงบ ให้สมาธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณา บุคคลนี้ให้โพชฌงค์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง” คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” คำว่า ให้มรรคประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้มรรคประชุมลงอย่างไร คือ ภิกษุให้สัมมาทิฏฐิประชุมลง เพราะมีสภาวะเห็น ให้สัมมาสังกัปปะประชุม ลง เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ให้สัมมาวาจาประชุมลง เพราะมีสภาวะกำหนด ให้ สัมมากัมมันตะประชุมลง เพราะมีสภาวะเกิดขึ้น ให้สัมมาอาชีวะประชุมลง เพราะมี สภาวะผ่องแผ้ว ให้สัมมาวายามะประชุมลง เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สัมมาสติ ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมาสมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ ฟุ้งซ่าน บุคคลนี้ให้มรรคนี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้มรรคประชุมลง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” คำว่า ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้ธรรมทั้งหลาย ประชุมลงอย่างไร คือ ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้พละ ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นธรรมเครื่องนำออก ให้มรรคประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ให้สติปัฏฐานประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมัปปธานประชุมลง เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งความเพียร ให้อิทธิบาทประชุมลง เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ ให้สัจจะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ ให้สมถะประชุมลง เพราะมีสภาวะ ไม่ฟุ้งซ่าน ให้วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ให้สมถะและ วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ให้ธรรมเป็นคู่กัน ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ให้สีลวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะสำรวม ให้จิตตวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ทิฏฐิวิสุทธิประชุมลง เพราะ มีสภาวะเห็น ให้วิโมกข์ประชุมลง เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ให้วิชชาประชุมลง เพราะมีสภาวะแทงตลอด ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะสละ ให้ญาณใน ความสิ้นไปประชุมลง เพราะมีสภาวะตัดขาด ให้อนุปปาทญาณประชุมลง เพราะมี สภาวะระงับ ให้ฉันทะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นมูล ให้มนสิการประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ให้ผัสสะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม ให้เวทนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ให้สมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะ เป็นประธาน ให้สติประชุมลงเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้สติสัมปชัญญะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ให้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด บุคคลนี้ ให้ธรรมเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้ธรรม ทั้งหลายประชุมลง” คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร ของบุคคลนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์ของบุคคลนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็น ความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น ประโยชน์ คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่ ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๑) [๑๖๙] ภิกษุเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น อย่างไร คือ ภิกษุหายใจเข้าสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจออกสั้นในกาลที่นับได้ นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย ฉันทะเกิดขึ้นแก่ เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจ ออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้า หายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย ความ ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะ ในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้ นิดหน่อย หายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้ นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความ ปราโมทย์ในกาลที่นับได้นิดหน่อย จิตของเธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียด กว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกออกจากการ หายใจเข้า หายใจออกสั้น อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกสั้นด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า หายใจออกสั้น เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็น เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจออกสั้น ย่อมให้อินทรีย์ ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมี ความสงบเป็นประโยชน์” (๒) [๑๗๐] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก” อย่างไร คำว่า กาย อธิบายว่า กายมี ๒ อย่าง คือ ๑. นามกาย ๒. รูปกาย นามกาย เป็นอย่างไร คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นาม นามกายและสิ่งที่เรียกว่า จิตตสังขาร นี้ชื่อว่านามกาย รูปกาย เป็นอย่างไร คือ มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมหายใจเข้าหายใจออก นิมิต และสิ่งที่เนื่องกันซึ่งเรียกว่า กายสังขาร นี้ชื่อว่ารูปกาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อม ตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็น เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้น ย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อคำนึงถึง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อ เห็น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อพิจารณา กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่ออธิษฐาน จิต กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อประคองความเพียร กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อตั้งสติไว้มั่น กายเหล่านั้น ย่อมปรากฏ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา กาย เหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อกำหนดรู้ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อละธรรมที่ควรละ กายเหล่านั้น ย่อมปรากฏ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ กายคือความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออกย่อมปรากฏ ความ ปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏ ด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้รู้ชัดกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจ เข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิ- วิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่า ศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วย ศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่า ศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่งธรรม ที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละธรรม ที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็น ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง ลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓) [๑๗๑] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก” อย่างไร กายสังขาร เป็นอย่างไร คือ ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกาย- สังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลม หายใจออกยาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุ เมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่อง ด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า สำเหนียกอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความ ดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุ สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับ กายสังขารเห็นปานนั้นหายใจออก” ความไม่อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลงแห่ง กายมีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขาร ที่ละเอียดสุขุมเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารที่ละเอียด สุขุมเห็นปานนั้นหายใจออก” ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก” ตามนัยที่ว่ามานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ไม่ปรากฏ อานาปานสติก็ไม่ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ไม่ปรากฏ และ ภิกษุผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ไม่ได้ ภิกษุสำเหนียกว่า “เรา ระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก” เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ ผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลเคาะกังสดาล เสียงดังย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาภายหลัง เสียงค่อยย่อม เป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงค่อยเบา ลงอีก ต่อมาภายหลัง จิตจึงเป็นไปได้ แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ลมหายใจเข้าหายใจออกที่หยาบ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างหยาบได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจ เข้าหายใจออกอย่างหยาบเบาลง ต่อมาภายหลัง ลมหายใจเข้าหายใจออกอย่าง ละเอียดจึงเป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก อย่างละเอียดได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างละเอียดเบาลงอีก ต่อมา ภายหลัง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน แม้เพราะนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก อย่างละเอียดเป็นอารมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ ผู้ฉลาดจะเข้าหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขาร หายใจเข้าหายใจออก กายย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็น เป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุ พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ระงับกายสังขารระวังลมหายใจเข้า หายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ ให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย- สังขารหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔) อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานุสสติ ๘ และสุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา เห็นกายในกาย
ภาณวารจบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

ทุติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๒
[๑๗๒] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก” อย่างไร ปีติ เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ เข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ด้วย อำนาจลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความ เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง ลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์คือความเบิกบานใจ ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ความพอใจ นี้ชื่อว่าปีติ ปีตินั้นย่อมปรากฏ อย่างไร คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ เข้าหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติ ย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจ ลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย สังขารหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

คำนึงถึง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ ฯลฯ เมื่อเห็น ฯลฯ เมื่อพิจารณา ฯลฯ เมื่อ อธิษฐานจิต ฯลฯ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยสัทธา ฯลฯ เมื่อประคองความเพียร ฯลฯ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมื่อรู้ยิ่งธรรม ที่ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เมื่อละธรรมที่ควรละ ฯลฯ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมปรากฏ ปีตินั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้ชัดปีติหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้ปีติระวังลมหายใจเข้าหาย ใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ ความเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น ประโยชน์” (๑) [๑๗๓] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจออก” อย่างไร คำว่า สุข อธิบายว่า สุขมี ๒ อย่าง คือ ๑. กายิกสุข ๒. เจตสิกสุข {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

กายิกสุข เป็นอย่างไร คือ ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ ซึ่งเกิดจากกายสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากกายสัมผัส นี้เป็น กายิกสุข เจตสิกสุข เป็นอย่างไร คือ ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ ซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส นี้เป็น เจตสิกสุข สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความ ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจ ความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้าหายใจออกย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การ พิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึก ด้วย ภิกษุพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้สุขระวังลมหายใจเข้า หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

ความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น ประโยชน์” (๒) [๑๗๔] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก” อย่างไร จิตตสังขาร เป็นอย่างไร คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจ ออกยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ฯลฯ สัญญาและ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ฯลฯ สัญญาและเวทนา ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต นี้ชื่อว่า จิตตสังขาร จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ จิตตสังขารเหล่านั้น ย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้าหายใจ ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อม ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้น ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารระวังลมหาย ใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย อำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความ สงบเป็นประโยชน์” (๓) [๑๗๕] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจออก” อย่างไร จิตตสังขาร เป็นอย่างไร คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า สำเหนียกอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็นเจตสิก ธรรม เหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้น ให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้ จิตตสังขารหายใจ ฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตต- สังขารหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุ เมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ เวทนาด้วย อำนาจความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความ ปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้น ด้วยสตินั้น ด้วย ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ระงับจิตตสังขารระวังลมหายใจเข้า หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ ความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ เป็นประโยชน์” (๔) อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา เห็นเวทนา
ภาณวาร จบ
ตติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๓
[๑๗๖] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจออก” อย่างไร จิตนั้น เป็นอย่างไร คือ วิญญาณด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาวเป็นจิต จิต คือ มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอัน ควรแก่จิตนั้นใด นี้ชื่อว่าจิต วิญญาณด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ฯลฯ ด้วยอำนาจ ความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับ จิตตสังขารหายใจออกเป็นจิต จิต คือ มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันควรแก่จิตนั้นใด นี้ชื่อว่าจิต จิตนั้นย่อมปรากฏ อย่างไร คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม หายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

รู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อม ตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควร ทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ วิญญาณด้วยอำนาจความ เป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การ พิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้จิตระวังลมหายใจเข้า หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ ความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น ประโยชน์” (๑) [๑๗๗] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก” อย่างไร ความเบิกบานแห่งจิต เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม หายใจเข้ายาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ เบิกบานแห่งจิต ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ ลมหายใจออกยาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

ความหรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด ฯลฯ เมื่อรู้ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้ จิตหายใจออก ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ เบิกบานแห่งจิต วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ให้จิตเบิกบานหายใจเข้าหายใจ ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา เห็นจิตในจิต” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงระวังลมหายใจเข้า หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย อำนาจความเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ เป็นประโยชน์” (๒) [๑๗๘] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจออก” อย่างไร สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็น สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็น สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้า เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

สมาธิ ความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ดี ความตั้งอยู่เฉพาะ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความมีจิตไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิใด นี้เป็นสมาธินทรีย์ วิญญาณด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้าเป็นจิต ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ตั้งจิตไว้ระวังลมหายใจเข้า หายใจออก ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ ความเป็นผู้ตั้งมั่นหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓) [๑๗๙] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจออก” อย่างไร คือ ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก โมหะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโมหะหายใจออก” สำเหนียก ว่า “เราเปลื้องจิตจากมานะ ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากทิฏฐิ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจาก วิจิกิจฉา” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากถีนมิทธะ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากอุทธัจจะ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากอหิริกะ (ความไม่ละอาย)” ฯลฯ สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป) หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก อโนตตัปปะหายใจออก” วิญญาณด้วยอำนาจการเปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้เปลื้องจิตระวังลมหายใจเข้า หายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ เป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔) อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา เห็นจิตในจิต
ภาณวาร จบ
จตุตถจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๔
[๑๘๐] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก” อย่างไร คือ คำว่า ไม่เที่ยง อธิบายว่า อะไรไม่เที่ยง คือเบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะเป็นอย่างไร คือไม่เที่ยงเพราะมีสภาวะเกิดขึ้นและเสื่อมไป พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความ เกิดขึ้นและความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ฯลฯ๑- เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ นี้ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๕๐ หน้า ๗๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในรูปหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในชราและมรณะ หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนา คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ระวัง ลมหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้ อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอัน มีความสงบเป็นประโยชน์” (๑) ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก” อย่างไร คือ ภิกษุเห็นโทษในรูปแล้วเกิดฉันทะในความคลายออกได้ในรูป น้อมใจเชื่อด้วย สัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ ในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ในรูปหายใจออก ภิกษุเห็นโทษในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

ในจักขุ ฯลฯ เห็นโทษในชราและมรณะแล้วเกิดฉันทะในความคลายออกได้ในชรา และมรณะน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี” สำเหนียกว่า “เราพิจารณา เห็นความคลายออกได้ในชราและมรณะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความ คลายออกได้ในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้ พิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏ เป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายออกได้ ระวังลมหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้าหายใจ ออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๒) ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับหายใจออก” อย่างไร คือ ภิกษุเห็นโทษในรูปแล้วเกิดฉันทะในความดับแห่งรูป น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในรูปหายใจออก” ภิกษุเห็นโทษในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ เห็นโทษ ในชราและมรณะแล้วเกิดฉันทะในความดับแห่งชราและมรณะ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะ หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจออก” [๑๘๑] โทษในอวิชชามี เพราะอาการเท่าไร อวิชชาดับ เพราะอาการเท่าไร คือ โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่าง อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง ๒. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์ ๓. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา ๔. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน ๕. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะแปรผัน โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่างนี้ อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อวิชชาดับ เพราะต้นเหตุดับ ๒. อวิชชาดับ เพราะสมุทัยดับ ๓. อวิชชาดับ เพราะชาติดับ ๔. อวิชชาดับ เพราะอาหารดับ ๕. อวิชชาดับ เพราะเหตุดับ ๖. อวิชชาดับ เพราะปัจจัยดับ ๗. อวิชชาดับ เพราะญาณเกิดขึ้น ๘. อวิชชาดับ เพราะนิโรธปรากฏ อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ ภิกษุเห็นโทษในอวิชชา เพราะอาการ ๕ อย่างนี้แล้ว เกิดฉันทะในความดับ อวิชชา เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับแห่งอวิชชาหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เรา พิจารณาเห็นความดับแห่งอวิชชาหายใจออก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

โทษในสังขารมี เพราะอาการเท่าไร สังขารดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในวิญญาณมี เพราะอาการเท่าไร วิญญาณดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในนามรูปมี เพราะอาการเท่าไร นามรูปดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในสฬายตนะมี เพราะอาการเท่าไร สฬายตนะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในผัสสะมี เพราะอาการเท่าไร ผัสสะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในเวทนามี เพราะอาการเท่าไร เวทนาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในตัณหามี เพราะอาการเท่าไร ตัณหาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในอุปาทานมี เพราะอาการเท่าไร อุปาทานดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในภพมี เพราะอาการเท่าไร ภพดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในชาติมี เพราะอาการเท่าไร ชาติดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการเท่าไร ชราและมรณะดับ เพราะอาการเท่าไร คือ โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่าง ชราและมรณะดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง ๒. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์ ๓. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา ๔. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน ๕. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะแปรผัน โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่างนี้ ชราและมรณะดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ชราและมรณะดับ เพราะต้นเหตุดับ ๒. ฯลฯ เพราะสมุทัยดับ ๓. ฯลฯ เพราะชาติดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

๔. ชราและมรณะดับ เพราะภพดับ ๕. ฯลฯ เพราะเหตุดับ ๖. ฯลฯ เพราะปัจจัยดับ ๗. ฯลฯ เพราะญาณเกิดขึ้น ๘. ชราและมรณะดับ เพราะนิโรธปรากฏ ชราและมรณะดับ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ ภิกษุเห็นโทษในชราและมรณะ เพราะอาการ ๕ อย่างนี้แล้ว เกิดฉันทะ ในความดับแห่งชราและมรณะ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมี จิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วย ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมทั้งหลาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ มีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับระวังลมหายใจ เข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้ อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรม อันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

[๑๘๒] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก” อย่างไร คำว่า ความสละคืน อธิบายว่า ความสละคืนมี ๒ อย่าง คือ ๑. ความสละคืนด้วยการบริจาค ๒. ความสละคืนด้วยความแล่นไป จิตสละรูป เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปใน นิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยความแล่นไป ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปหายใจออก” จิตสละเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ จิตสละชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงเป็น ความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยความแล่นไป ภิกษุสำเหนียกว่า “เรา พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณา เห็นความสละคืนในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความ เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏ เป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลาย” คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ สละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนระวัง ลมหายใจเข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้าหายใจออก เวทนา ย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิต เป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้ง ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์ ทั้งหลายประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย ประชุมลงอย่างไร คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔) อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ญาณในการทำสติ ๓๒ ประการเหล่านี้
สโตการิญาณนิทเทสที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส

๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
แสดงหมวด ๖ แห่งกองญาณ
[๑๘๓] ญาณด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ๒๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว เป็นสมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ ออกยาว เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง ความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ญาณด้วยอำนาจแห่ง สมาธิ ๒๔ นี้ (๑) ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ๗๒ ประการ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความ ไม่เที่ยง ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก โดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก โดยความเป็นอนัตตา ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ๗๒ นี้ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส

นิพพิทาญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้ารู้เห็น ตามความเป็นจริง ๒. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก รู้เห็นตามความเป็นจริง ๓. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า รู้เห็นตามความเป็นจริง ๔. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก รู้เห็นตามความเป็นจริง ๕. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้ารู้เห็น ตามความเป็นจริง ๖. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออกรู้เห็น ตามความเป็นจริง ๗. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้ารู้เห็น ตามความเป็นจริง ๘. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก รู้เห็นตามความเป็นจริง นิพพิทาญาณ ๘ ประการนี้ (๓) นิพพิทานุโลมญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ ๒. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ ฯลฯ ๗. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้ พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส

๘. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้ พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ ประการนี้ (๔) นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่ของบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่ เที่ยงหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๒. ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่ของบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่ เที่ยงหายใจออก ชื่อว่านิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ฯลฯ นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ประการนี้ (๕) ญาณในวิมุตติ ๒๑ ประการ เป็นอย่างไร คือ ด้วยโสดาปัตติมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดสักกาย- ทิฏฐิ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดวิจิกิจฉา ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดสีลัพพตปรามาส ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาด ทิฏฐานุสัย ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดวิจิกิจฉานุสัย ด้วยสกทาคามิมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราค- สังโยชน์อย่างหยาบ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราคานุสัยอย่างหยาบ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ ด้วยอนาคามิมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราค- สังโยชน์อย่างละเอียด ... ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด ... กามราคานุสัยอย่างละเอียด ... ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด ด้วยอรหัตตมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดรูปราคะ ... อรูปราคะ ... มานะ ... อุทธัจจะ ... อวิชชา ... มานานุสัย ... ภวราคานุสัย... อวิชชานุสัย ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ ประการนี้แล เมื่อบุคคลเจริญสมาธิที่ประกอบด้วย อานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ญาณเกินกว่า ๒๐๐ นี้ย่อมเกิดขึ้น (๖)
อานาปานัสสติกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๘๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๒๓๓-๒๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=62              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=4070&Z=5199                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=362              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=362&items=61              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=1781              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=362&items=61              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=1781                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :