ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
แสดงญาณในการหลีกออก ๖ อย่าง
[๙๕] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร คือ ปัญญาที่มีเนกขัมมะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วยสัญญา (ความหมายรู้) เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอพยาบาทเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอาโลกสัญญา เป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรม @เชิงอรรถ : @ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงวิริยะ (ความเพียร) (ขุ.ป.อ. ๑/๙๔/๓๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส

เป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอวิกเขปะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออก จากอุทธัจจะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า สัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีธัมมววัตถานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉา ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีญาณเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากอวิชชาด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญา ที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปามุชชะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากอรติด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปฐมฌานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากนิวรณ์ ด้วยสัญญา ฯลฯ ปัญญาที่มีอรหัตตมรรคเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญา- วิวัฏฏญาณ [๙๖] ปัญญาในสภาวะต่างๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร คือ กามฉันทะเป็นสภาวะต่างๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร คิดถึงเนกขัมมะที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกามฉันทะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะต่างๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ พยาบาทเป็นสภาวะต่างๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร คิดถึงอพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะต่างๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่างๆ อาโลกสัญญาเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร คิดถึงอาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะต่างๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นสภาวะต่างๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร คิดถึงอรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะต่างๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส

ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะต่างๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ [๙๗] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละพยาบาท ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอาโลก- สัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละกิเลส ทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในการ อธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ [๙๘] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร คือ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “จักขุว่างจาก อัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “โสตะว่าง ฯลฯ ฆานะว่าง ฯลฯ ชิวหาว่าง ฯลฯ กายว่าง ฯลฯ มโนว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่อง ด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรผัน เป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาใน ธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส

[๙๙] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในความ สละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญา ในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา เพราะ ฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละวิจิกิจฉา ด้วยธัมมววัตถาน เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่า วิโมกขวิวัฏฏญาณ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ [๑๐๐] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรเมื่อกำหนดรู้สภาวะที่บีบคั้น สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง สภาวะที่ทำให้เดือดร้อน สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ เมื่อละสภาวะที่ประมวลมา สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เกี่ยวข้อง สภาวะที่ พัวพันแห่งสมุทัย ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่า สัจจวิวัฏฏญาณ เมื่อทำให้แจ้งสภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออก สภาวะที่เป็นวิเวก สภาวะที่เป็น อสังขตะ สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ เมื่อเจริญสภาวะที่นำออก สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เห็น สภาวะที่เป็นใหญ่ แห่งมรรค ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส

สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อคิด ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏ ในขณะ แห่งมรรคใดมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่ง มรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญา- วิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี สัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
ฉวิวัฏฏญาณนิทเทสที่ ๔๔-๔๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๕๕-๑๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=47              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2700&Z=2796                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=246              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=246&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7809              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=246&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7809                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :