ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส

๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
แสดงธัมมนานัตตญาณ
[๗๓] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ เป็นอย่างไร พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลาย อย่างไร คือ พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็น ฝ่ายอัพยากฤต กำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนด อรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนดอปริยาปันนธรรมเป็น ฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย อัพยากฤต อย่างไร คือ พระโยคาวจรกำหนดกุศลกรรมบถ ๑๐ ๑- เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอกุศล- กรรมบถ ๑๐ ๒- เป็นฝ่ายอกุศล กำหนดรูป วิบาก และกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย อัพยากฤตอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร คือ พระโยคาวจรกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล กำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจร กำหนดรูปาวจรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร คือ พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนั้น เป็น @เชิงอรรถ : @ กุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๗) @ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส

ฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย อัพยากฤตอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดอปริยาปันนธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร คือ พระโยคาวจรกำหนดอริยมรรค ๔ เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอปริยาปันน- ธรรมเป็นฝ่ายกุศล กำหนดสามัญญผลและนิพพานเป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างนี้ ธรรม ๙ ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดย ความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อม สงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อมนสิการ โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อ มนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อ เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น นี้คือธรรม ๙ ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส

[๗๔] ธรรม ๙ ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการ โดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็น สมาธิ ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็น จริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็น จริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิต เป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อมนสิการโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความ เป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มี จิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” นี้คือธรรม ๙ ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ความต่าง ๙ ประการ คือ ผัสสะต่างๆ อาศัยธาตุต่างๆ เกิดขึ้น เวทนา ต่างๆ อาศัยผัสสะต่างๆ เกิดขึ้น สัญญาต่างๆ อาศัยเวทนาต่างๆ เกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๐-๒๔. ญาณปัญจกนิทเทส

ความดำริต่างๆ อาศัยสัญญาต่างๆ เกิดขึ้น ฉันทะต่างๆ อาศัยความดำริต่างๆ เกิดขึ้น ความเร่าร้อนต่างๆ อาศัยฉันทะต่างๆ เกิดขึ้น การแสวงหาต่างๆ อาศัย ความเร่าร้อนต่างๆ เกิดขึ้น ลาภต่างๆ อาศัยการแสวงหาต่างๆ เกิดขึ้น นี้คือความต่าง ๙ ประการ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ ชื่อว่า ธัมมนานัตตญาณ
ธัมมนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๒๓-๑๒๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=32              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2051&Z=2118                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=177              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=177&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7083              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=177&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7083                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :