ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส

๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
แสดงโคจรนานัตตญาณ
[๖๗] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่างๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจร- นานัตตญาณ เป็นอย่างไร พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นภายนอก อย่างไร คือ พระโยคาวจรกำหนดรูปที่เป็นภายนอก กำหนดสัททะ (เสียง) ที่เป็นภาย นอก กำหนดคันธะ (กลิ่น) ที่เป็นภายนอก กำหนดรสที่เป็นภายนอก กำหนด โผฏฐัพพะที่เป็นภายนอก กำหนดธรรมารมณ์ที่เป็นภายนอก พระโยคาวจรกำหนดรูปที่เป็นภายนอก อย่างไร คือ กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะตัณหา” กำหนด ว่า “รูปเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะอาหาร” กำหนดว่า “รูปอาศัย มหาภูตรูป ๔” กำหนดว่า “รูปเกิดแล้ว” กำหนดว่า “รูปมาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “รูปไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี” กำหนดรูปโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “รูปไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” กำหนดรูปโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความ เป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดย ความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่ายไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะ ให้ดับ ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความ เป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตต- สัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำ ราคะให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนด รูปที่เป็นภายนอกอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส

พระโยคาวจรกำหนดสัททะ (เสียง) ที่เป็นภายนอก อย่างไร คือ กำหนดว่า “สัททะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดสัททะที่ เป็นภายนอกอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดคันธะ (กลิ่น) ที่เป็นภายนอก อย่างไร คือ กำหนดว่า “คันธะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดคันธะที่ เป็นภายนอกอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดรสที่เป็นภายนอก อย่างไร คือ กำหนดว่า “รสเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดรสที่เป็น ภายนอกอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดโผฏฐัพพะที่เป็นภายนอก อย่างไร คือ กำหนดว่า “โผฏฐัพพะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนด โผฏฐัพพะที่เป็นภายนอกอย่างนี้ พระโยคาวจรกำหนดธรรมารมณ์ที่เป็นภายนอก อย่างไร คือ กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิด เพราะตัณหา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์ เกิดเพราะอาหาร (อาศัยหทัยวัตถุ)” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดแล้ว” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์มาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี” กำหนดธรรมารมณ์โดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่ ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็น ธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” กำหนดธรรมารมณ์โดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนด โดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำ ราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส

เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนดธรรมารมณ์ ที่เป็นภายนอกอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมต่างๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ
โคจรนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1864&Z=1911                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=163              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=163&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6839              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=163&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6839                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :