ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
แสดงวิมุตติญาณ
[๖๔] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่า วิมุตติญาณ เป็นอย่างไร คือ อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) สีลัพพตปรามาส (การยึดมั่นศีลพรต) ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ) วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ใน สันดานคือวิจิกิจฉา) เป็นกิเลสที่โสดาปัตติมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส

หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ เป็นกิเลสที่สกทาคามิมรรคตัดได้โดย เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียดๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ เป็นกิเลสที่อนาคามิมรรคตัดได้โดย เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นกิเลสที่อรหัตตมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๘ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลส ที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะ รู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรค ตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
วิมุตติญาณนิทเทสที่ ๑๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๐๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=26              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1733&Z=1740                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=152              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=152&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6744              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=152&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6744                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :