ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส

๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
แสดงอุทยัพพยญาณ
[๔๙] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็น ปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่งรูปนั้น ชื่อว่าความเกิด ขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งรูปนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ เวทนาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สัญญาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สังขารที่เกิดแล้ว ฯลฯ วิญญาณ ที่เกิดแล้ว ฯลฯ จักขุที่เกิดแล้ว ฯลฯ ภพที่เกิดแล้ว เป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่ง ภพนั้น ชื่อว่าความเกิดขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งภพนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ [๕๐] พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อ เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ ประการ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อ เห็นความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและ ความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส

พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความ เกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ เมื่อเห็น ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่ง วิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด” ๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด รูปจึงเกิด” ๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด รูปจึงเกิด” ๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น แห่งปัจจัยว่า “เพราะอาหารเกิด รูปจึงเกิด” ๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็น ความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม(แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง ปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ รูปจึงดับ” ๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง ปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ รูปจึงดับ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส

๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง ปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ รูปจึงดับ” ๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง ปัจจัยว่า “เพราะอาหารดับ รูปจึงดับ” ๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็น ความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด” ๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด” ๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด เวทนาจึงเกิด” ๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น แห่งปัจจัยว่า “เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด” ๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็นความ เกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเวทนาขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง ปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ เวทนาจึงดับ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส

๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับ แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ” ๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง ปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ เวทนาจึงดับ” ๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง ปัจจัยว่า “เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ” ๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็น ความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเวทนาขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด วิญญาณจึงเกิด” ๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด วิญญาณจึงเกิด” ๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด วิญญาณจึงเกิด” ๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด ขึ้นแห่งปัจจัย ว่า “เพราะนามรูปเกิด วิญญาณจึงเกิด” ๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็นความ เกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส

พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ วิญญาณจึงดับ” ๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ วิญญาณจึงดับ” ๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ วิญญาณจึงดับ” ๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ แห่งปัจจัยว่า “เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ” ๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็นความ เสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้ เมื่อเห็น ความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ รูปขันธ์มีอาหารเป็นเหตุเกิด ขันธ์ที่เหลือคือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขาร- ขันธ์มีผัสสะเป็นเหตุเกิด วิญญาณขันธ์มีนามรูปเป็นเหตุเกิด
อุทยัพพยญาณนิทเทสที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๘๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๗๗-๘๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=19              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1267&Z=1359                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=103              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=103&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6068              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=103&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6068                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :