ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส

๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส๑-
ว่าด้วยปัญหาของเหมกมาณพ
[๕๓] (ท่านเหมกะทูลถาม ดังนี้) ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่างๆ ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น (๑) คำว่า อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใด ในคำว่า ก่อน ... อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใด เคยพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า พราหมณ์พาวรี และอาจารย์คนอื่นๆ ของพราหมณ์พาวรี เคยพยากรณ์ คือ เคยบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศหลักการของตน ความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตน รวมความว่า ก่อน ... อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์ แก่ข้าพระองค์ คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านเหมกะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน๒- คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง คำว่า เหมกะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๓- คำว่า แต่ศาสนาของพระโคดม อธิบายว่า แต่ศาสนาของพระโคดม คือ อื่นจากศาสนาของพระโคดม ก่อนศาสนาของพระโคดม ก่อนกว่าศาสนาของพระ โคดม ได้แก่ ก่อนกว่าศาสนาของพระพุทธเจ้า ศาสนาของพระชินเจ้า ศาสนาของ พระตถาคต ศาสนาของพระอรหันต์ รวมความว่า แต่ศาสนาของพระโคดม @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๙๑-๑๐๙๔/๕๔๒-๕๔๓ @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔ @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ อธิบายว่า เล่ากันว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ เหตุนี้จักเป็นอย่างนี้ รวมความว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้ว อย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา อธิบายว่า คำ พยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คือ อาจารย์เหล่านั้นกล่าวธรรมที่ ตนไม่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ไม่ได้ประจักษ์แก่ตนเอง โดยการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็น ดังนี้ๆ โดยการเล่าลือ โดยการถือสืบๆ กันมา โดยการอ้างตำรา โดยตรรก โดยการอนุมาน โดยการคิดตรอง ตามแนวเหตุผล โดยเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รวมความว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คำว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่างๆ อธิบายว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่างๆ คือ ทำให้ความวิตกเจริญ ทำให้ ความดำริเจริญ ทำให้กามวิตกเจริญ ทำให้พยาบาทวิตกเจริญ ทำให้วิหิงสาวิตก เจริญ ทำให้ความวิตกถึงญาติเจริญ ทำให้ความวิตกถึงชนบทเจริญ ทำให้ความ วิตกถึงความไม่ตายเจริญ ทำให้ความวิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูเจริญ ทำให้ ความวิตกที่ประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเจริญ ทำให้ความวิตกที่ ประกอบด้วยความปรารถนามิให้ใครดูหมิ่นเจริญ รวมความว่า คำพยากรณ์ ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่างๆ คำว่า ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์จึง ไม่ยินดี คือ ไม่พอใจ ไม่ยอมรับ ไม่อยากได้ในคำพยากรณ์นั้น รวมความว่า ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านเหมกะทูลถาม ดังนี้) ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่างๆ ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส

[๕๔] (ท่านเหมกะทูลถามว่า) ข้าแต่พระมุนี บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น) ที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา แก่ข้าพระองค์เถิด (๒) คำว่า พระองค์ ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น) ... แก่ข้า พระองค์ เป็นคำที่เหมกมาณพเรียกพระผู้มีพระภาค คำว่า ธรรม ในคำว่า โปรดตรัสบอกธรรม อธิบายว่า ขอพระองค์โปรด ตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า ขอ พระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น) ... แก่ข้าพระองค์ คำว่า ข้าแต่พระมุนี ... ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา คือ ธรรมเป็นเครื่อง ละตัณหา เข้าไปสงบตัณหา สลัดทิ้งตัณหา ระงับตัณหา คืออมตนิพพาน คำว่า ข้าแต่พระมุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ พระองค์ ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี รวมความว่า ข้าแต่ พระมุนี ... ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา คำว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ชัดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ บุคคลรู้ชัดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ฯลฯ บุคคลรู้ชัดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายว่า อย่างไร ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา๒- คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ผู้มีสติพึงข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหานี้ที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกนั่นเอง รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมุนี บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น) ที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา แก่ข้าพระองค์เถิด [๕๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) เหมกะ นิพพานบทอันไม่แปรผัน เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในปิยรูปทั้งหลายที่ได้เห็น ได้ยินได้รับรู้และได้รู้ ในโลกนี้ (๓) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๒/๑๓๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ที่ได้เห็น ในคำว่า ที่ได้เห็น ได้ยินได้รับรู้และได้รู้ในโลกนี้ ได้แก่ ได้เห็นทางตา คำว่า ได้ยิน ได้แก่ ได้ยินทางหู คำว่า ได้รับรู้ ได้แก่ ได้รับรู้ คือ ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น สัมผัส ทางกาย คำว่า และได้รู้ ได้แก่ ได้รู้(ธรรมารมณ์)ทางใจ รวมความว่า ที่ได้เห็น ได้ยิน ได้รับรู้และได้รู้ ในโลกนี้
ว่าด้วยปิยรูปและสาตรูป
คำว่า เหมกะ ... ในปิยรูปทั้งหลาย อธิบายว่า ก็อะไรเป็นปิยรูป๑- เป็น สาตรูป๒- ในโลก จักขุ เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โสตะ (ประสาทหู) ... ฆานะ (ประสาทจมูก) ... ชิวหา (ประสาทลิ้น) ... กาย (ประสาทกาย) ... มโน เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รูป เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โสต- วิญญาณ ... ฆานวิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณ เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก จักขุสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป ในโลก เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก เวทนาที่เกิดจาก โสตสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป ในโลก @เชิงอรรถ : @ ปิยรูป คือรูปที่น่ารัก น่าปรารถนา @ สาตรูป คือรูปที่น่ายินดี น่าต้องการ @ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส

รูปสัญญา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททสัญญา ... คันธสัญญา ... รสสัญญา ... โผฏฐัพพสัญญา ... ธัมมสัญญา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททสัญเจตนา ... คันธสัญเจตนา ... รสสัญเจตนา ... โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป ในโลก รูปตัณหา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททตัณหา ... คันธตัณหา ... รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รูปวิตก เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททวิตก ... คันธวิตก ... รสวิตก ... โผฏฐัพพวิตก ... ธัมมวิตก เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รูปวิจารเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ... สัททวิจาร ... คันธวิจาร ... รสวิจาร ... โผฏฐัพพวิจาร ... ธัมมวิจาร เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รวมความว่า ในปิยรูปทั้งหลาย คำว่า เหมกะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ คำว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในคำว่า เป็นเครื่องกำจัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ อธิบายว่า ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความ เยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วย อำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลส เครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย คำว่า เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ได้แก่ เป็น เครื่องละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เข้าไปสงบความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ สลัดทิ้งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ระงับความกำหนัดด้วย อำนาจความพอใจ คือ อมตนิพพาน รวมความว่า เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ คำว่า นิพพานบทอันไม่แปรผัน อธิบายว่า นิพพานบท (ทางนิพพาน) คือ ตาณบท (ทางปกป้อง) เลณบท (ทางหลีกเร้น) ปรายนบท (ทางไปสู่จุดหมาย) อภยบท (ทางไม่มีภัย) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า อันไม่แปรผัน ได้แก่ เที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไป เป็นธรรมดา รวมความว่า นิพพานบทอันไม่แปรผัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสตอบว่า เหมกะ นิพพานบทอันไม่แปรผัน เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในปิยรูปทั้งหลายที่ได้เห็น ได้ยินได้รับรู้และได้รู้ ในโลกนี้ [๕๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้น เป็นผู้สงบทุกเมื่อ ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว (๔) คำว่า นั้น ในคำว่า ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว ได้แก่ อมตนิพพาน อันเป็นธรรมระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็น ที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ฯลฯ รู้แล้ว ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่ง หนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่ ผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญ สติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ รวมความว่า ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว คำว่า เห็นธรรม ในคำว่า เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ผู้เห็นธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส

ได้แก่ ผู้เห็นธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรมว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” คำว่า ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้ ราคะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โทสะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลส ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โมหะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทดับแล้ว รวมความว่า เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า ชนเหล่านั้น เป็นผู้สงบทุกเมื่อ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ คือ สงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว สงบเย็นแล้ว ดับได้แล้ว ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับโกธะ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทแล้ว รวมความว่า เป็นผู้สงบ คำว่า เหล่านั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ทุกเมื่อ อธิบายว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน ตลอดกาลสืบเนื่องกัน ตลอดกาลติดต่อกัน ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลติดต่อกันเหมือนระลอกคลื่น ตลอดกาลเป็นไปต่อเนื่องไม่ขาดสาย ตลอดกาลสืบต่อกันกระชั้นชิด ตลอดกาลก่อนภัต หลังภัต ตลอดปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ตลอดข้างแรม ข้างขึ้น ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ตลอดปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย รวมความว่า ชนเหล่านั้น เป็นผู้สงบทุกเมื่อ คำว่า ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา ตรัส เรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูล คือโลภะ คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายว่า อย่างไร ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา๑- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๒/๑๓๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก คำว่า เป็นผู้ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหาที่ ชื่อว่าวิสัตติกาในโลก พระอรหันตขีณาสพ เป็นผู้ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นตัณหาชื่อว่าวิสัตติกาในโลกแล้ว รวมความว่า เป็นผู้ข้ามตัณหาที่ ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้น เป็นสงบทุกเมื่อ ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ เหมกมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
เหมกมาณวปัญหานิทเทสที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๒๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๒๑๗-๒๒๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=30&siri=27              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=3080&Z=3240                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=324              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=324&items=22              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=837              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=324&items=22              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=837                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-08.htm



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :