ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ

๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการใช้น้ำชำระ
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี
[๘๑๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทแล้วยืนในที่ใต้ลม กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค มาตุคามกลิ่นไม่ดี” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุณีทั้งหลายจงใช้น้ำชำระทำความสะอาด” ทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น พระนาง มหาปชาบดีโคตมีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ถวาย อภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีใช้น้ำชำระทำความสะอาดได้”
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี จบ
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตน้ำชำระทำ ความสะอาด” จึงใช้น้ำชำระทำความสะอาดลึกเกินไป ทำให้เกิดแผลขึ้นที่องค์กำเนิด ครั้งนั้น เธอบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีใช้น้ำชำระทำความสะอาดลึกเกิน ไปเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวก ภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๓๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนั้นเป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีใช้น้ำชำระทำ ความสะอาดลึกเกินไป จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงใช้น้ำ ชำระทำความสะอาดลึกเกินไปเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๑๑] ก็ภิกษุณีผู้จะใช้น้ำชำระทำความสะอาด พึงใช้น้ำชำระทำความ สะอาดลึกเพียง ๒ ข้อองคุลีเป็นอย่างมาก ให้เกินกำหนดนั้น ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๑๒] ที่ชื่อว่า น้ำชำระทำความสะอาด พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงน้ำ ชำระบริเวณองค์กำเนิด คำว่า ผู้จะใช้ คือ ผู้ชะล้าง คำว่า พึงใช้น้ำชำระทำความสะอาดลึกเพียง ๒ ข้อองคุลีเป็นอย่างมาก คือใช้น้ำชำระลึกเพียง ๒ ข้อใน ๒ องคุลีเป็นอย่างมาก คำว่า ให้เกินกำหนดนั้น ความว่า ภิกษุณียินดีการสัมผัสให้ล่วงเลยเข้าไป โดยที่สุดเพียงปลายเส้นผม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๓๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๑๓] เกิน ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เกิน ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีไม่แน่ใจ ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เกิน ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อนกว่า ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ หย่อนกว่า ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ หย่อนกว่า ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๘๑๔] ๑. ภิกษุณีชำระลึกเพียง ๒ ข้อองคุลีเป็นอย่างมาก ๒. ภิกษุณีชำระลึกไม่ถึง ๒ ข้อองคุลี ๓. ภิกษุณีชำระลึกเกินเพราะอาพาธเป็นเหตุ ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๓๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=2409&Z=2458                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=163              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=163&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11280              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=163&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11280                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc5/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc5/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :