ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
ว่าด้วยสัมภวกุมาร
(พระราชาตรัสถามปัญหากับพราหมณ์สุจีรตะว่า) [๑๓๘] ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าบรรลุถึงราชสมบัติ และความเป็นอธิบดีแล้ว แต่ยังปรารถนา เพื่อบรรลุถึงความเป็นใหญ่และเพื่อชนะทั่วทั้งปฐพีนี้ [๑๓๙] โดยธรรม มิใช่โดยอธรรม ข้าพเจ้าหาพอใจอธรรมไม่ ท่านอาจารย์สุจีรตะ พระราชาต้องประพฤติธรรมให้เป็นกิจอันสำคัญ [๑๔๐] ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุใด เราทั้งหลาย จะไม่ถูกนินทาในโลกนี้ ละไปแล้วก็จะไม่ถูกนินทา และพึงถึงความมียศในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย [๑๔๑] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าปรารถนาจะกระทำตามอรรถและธรรม ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๕๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต]

๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)

(สุจีรตพราหมณ์ไม่สามารถจะทูลตอบปัญหาได้ จึงกราบทูลว่า) [๑๔๒] ขอเดชะพระขัตติยราช พระองค์ทรงปรารถนาจะกระทำตามอรรถและธรรมใด อรรถและธรรมนั้นใครอื่นนอกจากวิธุรพราหมณ์ หาควรที่จะกล่าวชี้แจงไม่ (พระราชาทรงประสงค์จะส่งสุจีรตพราหมณ์ไป จึงตรัสว่า) [๑๔๓] มาเถิด ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าจะส่งท่านไป ท่านจงไปยังสำนักวิธุรพราหมณ์ จงนำทองคำแท่งนี้ไปด้วย พึงมอบทองคำแท่งนี้กระทำให้เป็นเครื่องบูชา สำหรับคำสอนอรรถและธรรม (พระศาสดาเมื่อจะทรงเผยความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๔๔] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสำนักวิธุรพราหมณ์แล้ว ได้เห็นวิธุรพราหมณ์นั้นกำลังบริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน (สุจีรตพราหมณ์ถูกถามถึงเหตุที่มา จึงกล่าวว่า) [๑๔๕] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม วิธุระเพื่อน เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด (วิธุรพราหมณ์กล่าวว่า) [๑๔๖] สหายพราหมณ์ เราเกิดความขวนขวายขึ้นว่า จักปิดกั้นแม่น้ำคงคา ก็ไม่อาจจะปิดกั้นแม่น้ำใหญ่นั้นได้ เพราะเหตุนั้น จักมีโอกาสได้อย่างไร [๑๔๗] เราถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่สามารถจะบอกท่านได้ แต่ภัทรการบุตรของเรา เป็นลูกในไส้เกิดแต่ตัวเราแท้ๆ ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด พราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๕๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต]

๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)

(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๔๘] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นได้ไปถึงสำนักภัทรการแล้ว ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตน (สุจีรตพราหมณ์จึงกล่าวว่า) [๑๔๙] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม ภัทรการหลานรัก เจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่ลุงเถิด (ภัทรการพราหมณ์ไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ จึงส่งเขาไปยังสำนักน้องชาย ชื่อสัญชัยกุมารว่า) [๑๕๐] ข้าพเจ้าเหมือนคนละทิ้งหาบเนื้อติดตามเหี้ยอยู่ ถึงถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้ [๑๕๑] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ผมมีน้องชายชื่อว่าสัญชัย เขาเป็นน้องชายของผม ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด (พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า) [๑๕๒] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสำนักสัญชัยแล้ว ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตนจึงกล่าวว่า [๑๕๓] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม สัญชัยหลานรัก ลุงถามแล้ว ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด (สัญชัยกุมารกล่าวว่า) [๑๕๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ พญามัจจุราชย่อมกลืนกินข้าพเจ้าทุกเมื่อ ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า ข้าพเจ้าถูกท่านถามอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๕๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต]

๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)

[๑๕๕] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ข้าพเจ้ามีน้องชายชื่อว่าสัมภวะ เขาเป็นน้องชายของข้าพเจ้า ขอท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด (สุจีรตพราหมณ์กล่าวว่า) [๑๕๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ ปัญหาธรรมนี้พวกเรายังไม่พอใจ บิดาและบุตรทั้ง ๓ คนนั้น ก็ยังไม่มีปัญญาจะหยั่งรู้ถึงปัญหาธรรมนี้เลย [๑๕๗] ท่านทั้ง ๓ คนถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้นก็ไม่อาจจะบอกได้ ไฉนเล่า เด็กถูกถามถึงอรรถและธรรมจะพึงรู้ได้ (สัญชัยกุมารได้ฟังดังนั้น จึงสรรเสริญสัมภวกุมารว่า) [๑๕๘] ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้ว อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๕๙] ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาสธาตุ ย่อมสว่างไสวกว่าหมู่ดาวทั้งสิ้นในโลกด้วยรัศมีแม้ฉันใด [๑๖๐] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๖๑] ท่านพราหมณ์ เดือนจิตตมาสแห่งคิมหันตฤดู ย่อมงามยิ่งนักกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้แม้ฉันใด [๑๖๒] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๖๓] ท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพตชื่อคันธมาทน์ ดารดาษไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เป็นที่อยู่แห่งหมู่มหาภูต๑- ย่อมสว่างไสวและตลบอบอวลไปทั่วทิศด้วยทิพยโอสถแม้ฉันใด @เชิงอรรถ : @ มหาภูต หมายถึงหมู่เทพ (ขุ.ชา.อ. ๗/๑๖๓/๒๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๕๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต]

๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)

[๑๖๔] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๖๕] ท่านพราหมณ์ ไฟป่ามีเปลวไฟเป็นช่อ เรืองโรจน์ ลุกโพลงอยู่ที่กอไม้ในป่า ไม่อิ่มต่อเชื้อเพลิง มีทางดำ [๑๖๖] กินเปรียงเป็นอาหาร มีควันเป็นธง ไหม้ลามจนถึงยอดไพรสณฑ์ มีเชื้อไฟเพียงพอ โชติช่วงอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืนฉันใด [๑๖๗] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๖๘] ม้าดีจะรู้ได้เพราะความว่องไว โคพลิพัทท์จะรู้ได้ในเมื่อมีภาระที่จะต้องลากไป แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้ำนม และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจาฉันใด [๑๖๙] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ (พระศาสดาเมื่อทรงเปิดเผยความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๗๐] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสำนักสัมภวกุมารแล้ว ได้เห็นเขากำลังเล่นอยู่นอกบ้าน (สุจีรตพราหมณ์ได้ถามปัญหาว่า) [๑๗๑] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม พ่อหนูสัมภวะ ลุงถามเจ้าแล้ว ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๕๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต]

๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)

(สัมภวกุมารกล่าวว่า) [๑๗๒] เอาเถิด ข้าพเจ้าจักบอกลุงตามอย่างคนที่ฉลาด ก็พระราชาย่อมจะทรงทราบปัญหานั้นได้ แต่จะทรงกระทำหรือไม่เท่านั้น (และเมื่อจะบอกปัญหาจึงกล่าวว่า) [๑๗๓] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใครๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว พึงกราบทูลราชกิจที่จะทำในวันนี้ว่า พึงทำในวันพรุ่งนี้ ขอพระเจ้ายุธิฏฐิละอย่าทรงเชื่อฟังยับยั้งอยู่เลยในเมื่อประโยชน์เกิดขึ้น [๑๗๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใครๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว พึงกราบทูลปัญหาที่เป็นไปภายในเท่านั้น ไม่พึงให้ทรงดำเนินไปสู่หนทางที่ชั่วดุจคนหลงหาความคิดมิได้ [๑๗๕] พระราชาไม่ควรลืมตน ไม่ควรประพฤติอธรรม ไม่ควรหยั่งลงไปในลัทธิที่ผิด ไม่พึงประกอบในสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ [๑๗๖] ขัตติยราชาพระองค์ใดทรงรู้จักทำเหตุเหล่านี้ ขัตติยราชาพระองค์นั้นย่อมทรงเจริญทุกเมื่อเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น [๑๗๗] พระองค์ย่อมทรงเป็นที่รักแห่งหมู่พระญาติ และทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตร ทรงมีพระปรีชา เมื่อพระวรกายแตกทำลายไป จะทรงเข้าถึงโลกสวรรค์
สัมภวชาดกที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๕๖๑-๕๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=515              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=9525&Z=9617                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2352              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=2352&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=5256              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=2352&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=5256                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja515/en/francis



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :