ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๔. กามชาดก (๔๖๗)
ว่าด้วยกามและโทษของกาม
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๓๗] หากสิ่งที่สัตวโลกต้องการนั้นสำเร็จแก่เขาผู้ต้องการกาม เขาได้แล้วย่อมจะอิ่มใจแน่นอน [๓๘] หากสิ่งที่ต้องการนั้นสำเร็จแก่เขาผู้ต้องการกาม เมื่อความปรารถนาสำเร็จแล้ว เขายังปรารถนาต่อไปอีก ย่อมประสบความอยากยิ่งๆ ขึ้นไป เหมือนคนตรากตรำลมและแดดในฤดูร้อน ประสบความกระหายยิ่งๆ ขึ้นไป [๓๙] ความอยากและความกระหายย่อมพอกพูนโดยยิ่ง แก่คนผู้โง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้พระสัทธรรม ผู้มีร่างกายกำลังเจริญเติบโต เหมือนเขาเจริญแก่โคตัวที่กำลังมีเขาเจริญเติบโต [๔๐] แม้จะให้นาข้าวสาลี นาข้าวเหนียว โค ม้า และทาสชายหญิงทั้งแผ่นดิน ก็ไม่เพียงพอสำหรับคนคนเดียว บุคคลรู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมให้สม่ำเสมอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต]

๔. กามชาดก (๔๖๗)

[๔๑] พระราชาทรงปราบปรามข้าศึก ชนะทั่วทั้งแผ่นดิน ทรงปกครองแผ่นดินอันมีสมุทรสาครเป็นที่สุด ยังมิทรงอิ่มพระทัยมหาสมุทรฝั่งนี้ ทรงปรารถนาแม้มหาสมุทรฝั่งโน้นอีก [๔๒] บุคคลไม่ประสบความอิ่มใจ ตลอดเวลาที่ยังหวนระลึกถึงกามทั้งหลายอยู่ บุคคลเหล่าใดกลับใจ มีกายหลีกออกจากกามนั้น เห็นโทษในกามทั้งหลาย เป็นผู้อิ่มแล้วด้วยปัญญา บุคคลเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม [๔๓] บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐที่สุด เพราะบุคคลผู้อิ่มด้วยปัญญานั้นไม่เดือดร้อนเพราะกามทั้งหลาย คนที่อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ [๔๔] บุคคลไม่พึงสั่งสมกาม ควรเป็นคนปรารถนาน้อย ไม่โลเลเหลาะแหละ คนผู้มีปัญญาเพียงดังมหาสมุทรไม่เร่าร้อนเพราะกามทั้งหลาย [๔๕] ส่วนใดๆ ของกามทั้งหลายที่ละได้ ส่วนนั้นๆ ก็บันดาลให้เป็นสุขได้ ถ้าปรารถนาสุขทุกส่วนก็ควรละกามให้หมด เหมือนช่างหนังตัดเอาหนังมาทำรองเท้า (พระราชาตรัสว่า) [๔๖] ท่านมหาพราหมณ์ คาถาทั้งหมดที่ท่านกล่าวแล้ว ๘ คาถา มีค่านับเป็นพันๆ กหาปณะ ท่านจงรับทรัพย์ไปเถิด ภาษิตของท่านนี้ดีนักแล (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๔๗] ข้าพระองค์ไม่ต้องการทรัพย์เป็นร้อย เป็นพัน หรือเป็นหมื่น เพราะเมื่อข้าพระองค์กล่าวคาถาสุดท้าย ใจไม่ยินดีในกามเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต]

๕. ชนสันธชาดก (๔๖๘)

(พระราชาทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ว่า) [๔๘] มาณพคนนี้เป็นผู้เจริญหนอ เป็นนักปราชญ์ รู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหาอันให้เกิดทุกข์ได้
กามชาดกที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๘๐-๓๘๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=467              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=6485&Z=6519                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1637              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1637&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=2126              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1637&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=2126                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja467/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :