ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. กัณหชาดก (๔๔๐)
ว่าด้วยกัณหฤาษี
(ท้าวสักกะตรัสกับฤๅษีกัณหะว่า) [๑๑] ชายคนนี้ผิวดำหนอ บริโภคอาหารสีดำ อยู่ในภูมิประเทศสีดำ เราไม่ชอบใจเลย (ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า) [๑๒] ท้าวสุชัมบดีสักกเทวราช เพราะผิวไม่นับว่าเป็นคนดำ เพราะพราหมณ์มีความดีเป็นแก่นในภายใน ผู้ที่มีกรรมชั่วนั่นแหละ นับว่าเป็นคนดำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต]

๒. กัณหชาดก (๔๔๐)

(ท้าวสักกะตรัสว่า) [๑๓] ท่านพราหมณ์ เพราะถ้อยคำที่ท่านเจรจานั้น ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต ข้าพเจ้าจะให้พรแก่ท่านตามที่ใจของท่านปรารถนา (ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า) [๑๔] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง หากพระองค์จะประทานพรแก่อาตมา อาตมาหวังเฉพาะความประพฤติของตน คือ อย่ามีความโกรธ อย่ามีโทสะ อย่ามีความโลภ และอย่ามีความเสน่หา ขอพระองค์ทรงประทานพรทั้ง ๔ ประการเหล่านี้แก่อาตมาเถิด (ท้าวสักกะตรัสว่า) [๑๕] พราหมณ์ ท่านเห็นโทษอะไรในความโกรธ ในโทสะ ในความโลภ หรือในความเสน่หา ข้าพเจ้าถามแล้วขอท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้า (ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า) [๑๖] ความโกรธนั้นเกิดจากความไม่อดทน ถึงจะน้อย ก็จะมากได้ ต่อไปก็จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น เป็นความขัดข้องใจ มีความคับแค้นใจเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่ชอบความโกรธ [๑๗] คนถูกโทสะครอบงำมีวาจาหยาบคาย ต่อไปก็ประหมัดตบตีกัน ใช้ท่อนไม้ประหารกัน ที่สุดก็จะใช้ศัสตราประหัตประหารกัน โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่ชอบโทสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต]

๒. กัณหชาดก (๔๔๐)

[๑๘] การปล้นฆ่าชาวบ้าน การจี้ข่มขู่เอาทรัพย์ การคดโกง และการหลอกลวงย่อมปรากฏมีอยู่ในบุคคลผู้มีความโลภ เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่ชอบความโลภ [๑๙] ความผูกพันที่ถูกความเสน่หาร้อยรัดไว้อันเกิดแต่ใจ นอนเนื่องอยู่เป็นอันมาก ย่อมทำให้เดือดร้อนมากมาย เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่ชอบความเสน่หา (ท้าวสักกะตรัสว่า) [๒๐] พราหมณ์ เพราะถ้อยคำที่ท่านเจรจานั้น ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต ข้าพเจ้าจะให้พรแก่ท่านตามที่ใจของท่านปรารถนา (ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า) [๒๑] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง หากพระองค์จะประทานพรแก่อาตมา อาตมาเมื่ออยู่ในป่า ก็อยู่เพียงผู้เดียวเป็นนิตย์ อาพาธทั้งหลายที่ร้ายกาจซึ่งกระทำอันตรายได้ขออย่าได้เกิดขึ้นเลย (ท้าวสักกะตรัสว่า) [๒๒] พราหมณ์ เพราะถ้อยคำที่ท่านเจรจานั้น ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต ข้าพเจ้าจะให้พรแก่ท่านตามที่ใจของท่านปรารถนา (ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า) [๒๓] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง หากพระองค์จะประทานพรแก่อาตมา ใจก็ตาม กายก็ตาม ขออย่าได้เข้าไปกระทบกระทั่งใครๆ ในกาลไหนๆ เพราะการกระทำของอาตมาเลย อาตมาปรารถนาพรดังนี้
กัณหชาดกที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๒๒-๓๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=440              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=5484&Z=5523                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1329              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1329&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=8609              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1329&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=8609                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja440/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :