ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต]

๘. จักกวากชาดก (๔๓๔)

๘. จักกวากชาดก (๔๓๔)
ว่าด้วยนกจักรพาก
(กาถามนกจักรพากว่า) [๖๙] เราขอถามนกทั้งหลายที่มีสีเหมือนผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด มีใจร่าเริง เที่ยวไปเป็นคู่ๆ ว่า นกทั้งหลายสรรเสริญพวกเจ้าในหมู่มนุษย์ว่า เป็นนกชนิดไร เชิญพวกเจ้าบอกนกชนิดนั้นแก่เราเถิด (นกจักรพากตอบว่า) [๗๐] นี่เจ้าผู้เบียดเบียนมนุษย์ ในหมู่มนุษย์ เขาเรียกพวกเราซึ่งบินตามกันไปว่า นกจักรพาก ในหมู่นก พวกเราได้รับการยกย่องว่า มีความดี มีรูปงาม เที่ยวไปตามห้วงน้ำ (ทั้งไม่ทำชั่วแม้เพราะเหตุแห่งอาหาร) (กาถามว่า) [๗๑] นี่นกจักรพาก พวกท่านกินผลไม้อะไรในห้วงน้ำ หรือกินเนื้อแต่ที่ไหน กินอาหารอะไร กำลังและผิวพรรณจึงไม่เสื่อมทราม ไม่ผิดรูปเลย (นกจักรพากตอบว่า) [๗๒] ในห้วงน้ำไม่มีผลไม้หรอก กา เนื้อสำหรับนกจักรพากกินจะมีแต่ที่ไหน พวกเรามีสาหร่ายเป็นภักษา ไม่กินเนื้อสัตว์ ทั้งไม่ทำชั่วแม้เพราะเหตุแห่งอาหาร (พวกเราจึงมีรูปงาม ท่องเที่ยวไปตามห้วงน้ำ) (กากล่าวว่า) [๗๓] นกจักรพาก อาหารที่เจ้ากินนี้ เราไม่ชอบเลย เมื่อเจ้าเป็นนกจักรพาก เจ้าก็มีอาหารที่เหมาะสม เมื่อก่อนนี้เราได้มีความคิดเป็นอย่างอื่น เพราะเหตุนั้นแล เราจึงเกิดความสงสัยในผิวพรรณของเจ้านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต]

๙. หลิททราคชาดก (๔๓๕)

[๗๔] ถึงเราก็กินเนื้อ ผลไม้ และข้าวที่ปรุงด้วยเกลือและน้ำนม เรากินอาหารอันมีรสเลิศในหมู่มนุษย์ เหมือนผู้กล้าหาญ มีชัยชนะในสงคราม ไฉนผิวพรรณของเราจึงไม่เป็นเช่นกับเจ้าเล่า นกจักรพากเอ๋ย (นกจักรพากกล่าวว่า) [๗๕] เจ้ากินของที่ไม่บริสุทธิ์ โฉบเอาเมื่อเขาเผลอ ชื่อว่าได้ข้าวและน้ำด้วยความลำบาก กา เจ้าไม่ชอบผลไม้หรือเนื้อกลางป่าช้า [๗๖] นี่กา ผู้ใดได้ของกิน มาด้วยกรรมอันหยาบช้า เมื่อเขาเผลอก็โฉบเอามากิน ในภายหลัง ผู้นั้น ตนเองก็ติเตียน และเขาถูกตนและผู้อื่นติเตียนแล้ว ย่อมละผิวพรรณและกำลัง [๗๗] หากว่าผู้ใดบริโภคของแม้น้อย แต่เป็นของเย็น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยกรรมที่ไม่หยาบช้า ผู้นั้นย่อมมีทั้งกำลังและผิวพรรณในกาลนั้น เพราะผิวพรรณทั้งปวงหามีเพราะอาหารเพียงอย่างเดียวไม่๑-
จักกวากชาดกที่ ๘ จบ
๙. หลิททราคชาดก (๔๓๕)
ว่าด้วยจิตกลับกลอกเหมือนผ้าย้อมด้วยขมิ้น
(นางกุมาริกากล่าวกับดาบสหนุ่มว่า) [๗๘] พวกที่บำเพ็ญตบะอดกลั้นอยู่ในบ้านยังประเสริฐกว่าท่าน ผู้อดกลั้นบำเพ็ญตบะอยู่ในเสนาสนะอันสงัดในป่า @เชิงอรรถ : @ ผิวพรรณงามเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ (๑) อาหาร (๒) อากาศ (๓) ความคิด (๔) การงานที่ทำ @(ขุ.ชา.อ. ๕/๗๗/๓๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๑๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๑๒-๓๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=434              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=5296&Z=5327                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1274              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1274&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=7823              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1274&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=7823                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja434/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :