ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๗. อุปสิงฆปุปผชาดก (๓๙๒)
ว่าด้วยฤาษีลักดมดอกไม้
(เทพธิดาองค์หนึ่งสถิตอยู่ที่ค่าคบต้นไม้ ต้องการให้ฤๅษีโพธิสัตว์สลดใจ จึงกล่าวว่า) [๑๑๕] ท่านผู้นิรทุกข์ การที่ท่าน ลักดมดอกบัวที่เขายังไม่ได้ให้ นั่นเป็นองค์แห่งการขโมยอย่างหนึ่ง ท่านชื่อว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต]

๒. ขรปุตตวรรค ๗. อุปสิงฆปุปผชาดก (๓๙๒)

(ฤๅษีโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๑๑๖] ดอกบัวอาตมาก็ไม่ได้ลักและไม่ได้หัก ดมอยู่ห่างๆ๑- เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น (ฤๅษีโพธิสัตว์เห็นบุรุษขุดเหง้าบัวเก็บดอกบัว จึงกล่าวกับเทพธิดานั้นว่า) [๑๑๗] ชายใดขุดเอาเหง้าบัว หักเอาดอกบัวขาวไป ชายนั้นหยาบช้าอย่างนี้ ทำไมไม่ถูกกล่าวหา (เทพธิดาบอกสาเหตุที่ไม่ว่ากล่าวบุรุษนั้นว่า) [๑๑๘] คนที่ทำงานหยาบช้ามากเป็นคนแปดเปื้อน เหมือนผ้านุ่งของหญิงเลี้ยงเด็ก สำหรับชายคนนั้นเราไม่ว่าอะไร แต่ท่านเราสมควรจะว่ากล่าว [๑๑๙] บุคคลผู้บริสุทธิ์แสวงหาแต่กรรมอันสะอาดอยู่เสมอ ความชั่วเท่าปลายขนทรายย่อมปรากฏเหมือนเท่าหมอกเมฆ (ฤๅษีโพธิสัตว์ซึ่งเทพธิดานั้นให้สลดใจกล่าวว่า) [๑๒๐] นี่เทพผู้ควรบูชา ท่านรู้จักอาตมาดี ซ้ำยังได้อนุเคราะห์อาตมาด้วย ขอท่านโปรดเตือนซ้ำอีก เมื่อเห็นความบกพร่องเช่นนี้ (เทพธิดากล่าวว่า) [๑๒๑] ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัยท่านเลี้ยงชีพ และไม่ได้เป็นลูกจ้างของท่าน ท่านผู้เห็นภัย ท่านเองนั่นแหละ ควรจะรู้จักกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ
อุปสิงฆปุปผชาดกที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดมอยู่ห่างๆ หมายถึงยืนดมอยู่ในที่ไกล (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๑๖/๑๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๕๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๔๙-๒๕๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=392              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=4194&Z=4211                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=944              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=944&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=2105              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=944&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=2105                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja392/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :