ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๓. ทรีมุขชาดก (๓๗๘)
ว่าด้วยพระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า
(พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพรหมทัตว่า) [๑๔] กามทั้งหลายเสมือนเปือกตม เสมือนหล่ม ก็ภัยนี้บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นมูลเหตุแห่งภัย ๓ ประการ กามทั้งหลายคือธุลีและควัน อาตมภาพก็ได้ประกาศไว้แล้ว ขอถวายพระพร พระเจ้าพรหมทัต ขอมหาบพิตรทรงละกามเหล่านี้ออกผนวชเถิด (พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสบอกความที่พระองค์พัวพัน ด้วยกิเลสว่า) [๑๕] ท่านพราหมณ์ โยมกำหนัดยินดี และหมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย ประสงค์จะมีชีวิตอยู่อย่างนี้ จึงไม่อาจจะละกามอันน่าสะพรึงกลัวนั้นได้ แต่โยมจะทำบุญทั้งหลายให้มาก @เชิงอรรถ : @ ความสงบ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๓/๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต]

๑. อวาริยวรรค ๓. ทรีมุขชาดก (๓๗๙)

(พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าตรัสสอนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปว่า) [๑๖] ผู้ใดอันบุคคลผู้หวังความเจริญ อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล กล่าวสอนอยู่ ก็ไม่กระทำตามคำสอน ผู้นั้นสำคัญแต่สิ่งที่ตนยึดถือว่า นี้เท่านั้นประเสริฐ เป็นคนโง่ ย่อมเกิดในครรภ์บ่อยๆ [๑๗] เขาย่อมเข้าถึงนรกอันน่ากลัว เต็มไปด้วยอุจจาระและปัสสาวะที่ไม่งามสำหรับผู้งาม สัตว์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังมีความกำหนัดในกามทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นก็ยังละความเกิดในครรภ์ไปไม่ได้ (พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าทรงหวังจะแสดงเหตุที่พ้นจากครรภ์ จึงตรัส หนึ่งคาถาครึ่ง และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสครึ่งพระคาถาสุดท้ายว่า) [๑๘] สัตว์เหล่านี้คลอดออกมามีกายแปดเปื้อนด้วยอุจจาระ ด้วยเลือดและเสมหะในขณะที่คลอด สัตว์เหล่านี้มีร่างกายสัมผัสส่วนใดๆ ส่วนนั้นๆ ทั้งหมด ล้วนไม่น่าชื่นใจ เป็นทุกข์อย่างเดียว [๑๙] อาตมาเห็นแล้วจึงถวายพระพร มิใช่ได้ยินมาจากคนอื่นแล้วจึงถวายพระพร อาตมายังระลึกอดีตชาติได้มากอีกด้วย พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าได้ให้พระราชาผู้ทรงปรีชาญาณ ยอมรับด้วยคาถาสุภาษิตอันวิจิตร
ทรีมุขชาดกที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๓๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๓๐-๒๓๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=378              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=3870&Z=3894                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=843              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=843&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=264              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=843&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=264                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja378/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :