ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. สุกชาดก (๒๕๕)
ว่าด้วยลูกนกแขกเต้า
(พระศาสดาครั้นทรงนำเรื่องในอดีตมาแล้ว จึงได้ตรัสว่า) [๑๓] นกแขกเต้าตัวนั้นรู้ประมาณในการกินอาหารเพียงใด จะมีอายุยืนและเลี้ยงดูมารดาบิดาได้นานเพียงนั้น [๑๔] แต่เมื่อกลืนกินอาหารมากเกินไป มันจึงจมลงแล้วในสมุทรนั้น เพราะว่ามันไม่รู้จักประมาณ @เชิงอรรถ : @ วินัย ในที่นี้หมายถึงความประพฤติ (ขุ.ชา.อ. ๔/๑๑/๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๑๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต]

๑. สังกัปปวรรค ๖. ชรูทปานชาดก (๒๕๖)

[๑๕] เพราะฉะนั้น การรู้จักประมาณ คือการไม่ติดอยู่ในรสอาหารเป็นการดี บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณจะจมลง๑- ผู้รู้จักประมาณจะไม่จมลง
สุกชาดกที่ ๕ จบ
๖. ชรูทปานชาดก (๒๕๖)
ว่าด้วยขุดบ่อน้ำเก่า
(พระศาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว จึงได้ตรัสว่า) [๑๖] พ่อค้าทั้งหลายที่มีความต้องการน้ำ พากันขุดบ่อน้ำเก่าอยู่ ได้แร่เหล็ก แร่ทองแดง แร่ดีบุก แร่ตะกั่ว แร่เงิน แร่ทอง แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์เป็นจำนวนมาก [๑๗] แต่พ่อค้าเหล่านั้นไม่ยินดีด้วยทรัพย์นั้น ได้พากันขุดลึกยิ่งขึ้นไปอีก พญานาคตัวมีพิษร้ายแรงมีเดชกล้าในบ่อน้ำนั้น ได้ฆ่าพวกเขาด้วยเดชแห่งพิษ [๑๘] เพราะฉะนั้น บุคคลเมื่อจะขุดอย่าขุดลึกเกินไป เพราะว่าบ่อน้ำที่ขุดลึกเกินไปไม่เป็นการดี ทรัพย์ที่พวกพ่อค้าขุดได้มาและชีวิตของพวกพ่อค้า ถูกพญานาคให้พินาศไปเพราะการขุดลึกเกินไป
ชรูทปานชาดกที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ จมลง ในที่นี้ หมายถึงจมลงในอบายภูมิทั้ง ๔ อันเป็นสภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ คือ (๑) นิรยะ @นรก สภาวะหรือที่อันปราศจากความสุข มีแต่ความเร่าร้อน (๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน พวก @มืดบอดโง่เขลา (๓) ปิตติวิสัย แดนเปรตผู้มีแต่ความหิวโหย (๔) อสุรกาย พวกอสูร พวกหวาดหวั่น @ไร้ความรื่นเริง (ขุ.ชา.อ. ๔/๑๕/๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๑๒๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=255              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=2032&Z=2042                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=364              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=364&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=38&A=529              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=364&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=38&A=529                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja255/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :