ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

๑๙. ปัญญาสนิบาต
๑. ตาลปุฏเถรคาถา
ภาษิตของพระตาลปุฏเถระ
(พระตาลปุฏเถระหวังจะจำแนกแสดงโยนิโสมนสิการโดยประการต่างๆ จึงได้ กล่าวสอนภิกษุทั้งหลายด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า) [๑๐๙๔] เมื่อไรหนอเราจะอยู่ผู้เดียวไม่มีตัณหาเป็นเพื่อนที่ซอกเขา เมื่อไรหนอเราจะพิจารณาเห็นแจ้งภพทั้งปวงโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยงอยู่ เมื่อไรหนอความดำริเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จได้ [๑๐๙๕] เมื่อไรหนอเราจะได้เป็นมุนีนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ที่ตัดด้วยศัสตรา ไม่ยึดมั่น ไม่มีความหวัง ละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เที่ยว ไปในป่าใหญ่อยู่ได้อย่างสบาย [๑๐๙๖] เมื่อไรหนอเราจึงจะเห็นแจ้งร่างกายนี้ซึ่งไม่เที่ยง เป็นรังแห่ง ความตายและเป็นรังแห่งโรค ถูกมรณะและชราคอยรบกวน ปราศจากความกลัว อาศัยอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๐๙๗] เมื่อไรหนอเราพึงจับดาบคมกริบคืออริยมรรคที่สำเร็จด้วยปัญญา ตัดเถาวัลย์คือตัณหาที่ก่อให้เกิดภัย นำทุกข์มาให้ เป็นเหตุให้หมุนวนเวียนไปตามอารมณ์มากอย่าง ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๐๙๘] เมื่อไรหนอเราจะได้ฉวยศัสตราที่สำเร็จด้วยปัญญาอันมีเดชานุภาพ มากของท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย หักรานกิเลสมาร พร้อมทั้งเสนามารโดยฉับพลัน เหนือบัลลังก์สีหอาสน์๑- ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ @เชิงอรรถ : @ บัลลังก์ที่นั่งอย่างมั่นคง, บัลลังก์ที่นั่งแล้วชนะมารและเสนามารได้ (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๙๘/๕๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

[๑๐๙๙] เมื่อไรหนอสัตบุรุษผู้มีความหนักแน่นในธรรม คงที่ มีปกติเห็นตามความเป็นจริง ชนะอินทรีย์แล้ว จะพึงเห็นเราว่า บำเพ็ญเพียรในสมาคม ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๐๐] เมื่อไรหนอความเกียจคร้าน ความหิวกระหาย ลม แดด หรือเหลือบ ยุง สัตว์เลื้อยคลาน จะไม่เบียดเบียนเราที่ซอกภูเขา นี้เป็นความประสงค์ส่วนตัวเรา ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๐๑] เมื่อไรหนอเราจึงจะได้เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น มีสติ บรรลุอริยสัจ ๔ ที่เห็นได้แสนยาก ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงทราบแล้วด้วยพระปัญญา ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๐๒] เมื่อไรหนอ เราจะมีความสงบระงับจากเครื่องเร่าร้อน ในเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ที่เรายังไม่รู้เท่าทัน พิจารณาเห็นได้ด้วยปัญญา ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๐๓] เมื่อไรหนอเราถูกว่ากล่าวติเตียนด้วยคำหยาบ จะไม่เดือดร้อนใจ เพราะคำหยาบนั้นเป็นเหตุ ถึงได้รับการสรรเสริญ ก็จะไม่ยินดี เพราะการสรรเสริญนั้นเป็นเหตุ ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๐๔] เมื่อไรหนอเราพึงเห็นสภาพภายใน คือ เบญจขันธ์ของเราเหล่านี้ รูปธรรมที่ยังไม่รู้ และสภาพภายนอก คือ ท่อนไม้ กอหญ้า และลดาวัลย์ ว่าเป็นสภาพเสมอกัน ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

[๑๑๐๕] เมื่อไรหนอน้ำฝนใหม่ตามฤดูกาลในเวลาใกล้รุ่ง จะตกรดเราผู้ครองผ้าจีวรดำเนินไปในมรรคา๑- ที่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ดำเนินไปอยู่ในป่า ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๐๖] เมื่อไรหนอเราพึงได้ยินเสียงร้องของนกยูงที่ซอกเขาในป่า แล้วลุกขึ้นพิจารณาเพื่อบรรลุอมตธรรม ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๐๗] เมื่อไรหนอเราจะพึงข้ามพ้นแม่น้ำคงคา ยมุนา สุรัสวดี ที่ไหล ไปถึงบาดาล มีปากอ่าวใหญ่ทั้งน่ากลัว ไปได้ด้วยฤทธิ์ ไม่ติดขัด ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๐๘] เมื่อไรหนอเราจะพึงงดเว้นนิมิตว่างามทั้งปวงเสียได้ ขวนขวายในฌานแล้ว ทำลายความพอใจในกามคุณทั้งหลาย เหมือนช้างทำลายเสาตะลุง และโซ่เหล็กได้แล้วเที่ยวไปในสงคราม ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๐๙] เมื่อไรหนอเราจึงจะได้บรรลุคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหา คุณอันยิ่งใหญ่ได้แล้ว พอใจเหมือนลูกหนี้ผู้ขัดสนถูกเจ้าหนี้บีบ บังคับ แสวงหาทรัพย์มาได้ก็พึงพอใจ ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ [๑๑๑๐] (จิตผู้เจริญ) ท่านอ้อนวอนเรามาเป็นเวลาหลายปีว่า ท่านไม่สมควรอยู่ครองเรือนเลย บัดนี้เรานั้นก็ได้บวชสมประสงค์ แล้ว เหตุไฉน ท่านจึงไม่ชักนำเสียเล่า [๑๑๑๑] จิตผู้เจริญ ท่านอ้อนวอนเรามาแล้วมิใช่หรือว่า ฝูงนกยูงมีขนปีกแพรวพราว และเสียงกึกก้องแห่งธารน้ำตกตาม ซอกเขา จะทำท่านผู้เข้าฌานอยู่ในป่าให้เพลิดเพลิน @เชิงอรรถ : @ สมถะและวิปัสสนา (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๑๐๕/๕๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

[๑๑๑๒] เรายอมสละญาติมิตรอันเป็นที่รักในสกุล ความยินดีในการเล่น และกามคุณในโลกได้หมดแล้ว เข้ามาถึงป่านี้ ท่านช่างไม่ยินดีกับเราเสียเลยนะจิต [๑๑๑๓] เราเมื่อพิจารณาเห็นว่า เพราะจิตนี้เป็นของเราเท่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงไม่ใช่ของผู้อื่น การร้องไห้รำพันจะมีประโยชน์อะไร ในเวลาทำสงครามกับกิเลสมาร จิตทั้งหมดนี้มีแต่หวั่นไหวดังนี้ จึงได้ออกบวชแสวงหาอมตบท [๑๑๑๔] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเหนือเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นจอมท้าวสักกเทวราช เป็นจอมสารถีฝึกนระได้ ตรัสสุภาษิตไว้ว่า จิตนี้กวัดแกว่งเหมือนลิง ทั้งห้ามได้แสนยาก เพราะไม่ปราศจากความกำหนัด [๑๑๑๕] เพราะเหล่าปุถุชนที่ยังไม่รู้เท่าทัน พัวพันอยู่ในกามทั้งหลายที่งดงาม มีรสหวาน ชวนให้รื่นรมย์ใจ พวกเขาแสวงหาภพใหม่ ก่อแต่สิ่งที่ไร้ประโยชน์ ถูกจิตทำให้เหินห่างจากสุข นำไปไว้ในนรก ย่อมประสบทุกข์ [๑๑๑๖] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า ท่านมีเสือเหลืองและเสือโคร่งห้อมล้อมอยู่ในป่า ที่มีเสียงนกยูงและนกกระไนร่ำร้อง จงละความห่วงใยในร่างกาย อย่าได้พลาดหวังเสียเลย [๑๑๑๗] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า ท่านจงเจริญฌาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสมาธิภาวนา ทั้งบรรลุวิชชา ๓ ในพระพุทธศาสนาให้ได้ [๑๑๑๘] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า ท่านจงเจริญมรรคมีองค์ ๘ ที่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ หยั่งถึงความสิ้นทุกข์ทั้งมวล ชำระล้างกิเลสได้หมดสิ้น เพื่อบรรลุนิพพานให้ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

[๑๑๑๙] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า ท่านจงพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยอุบายที่แยบคายว่า เป็นทุกข์ จงละเหตุให้เกิดทุกข์ และจงทำความสิ้นทุกข์ในอัตภาพนี้แหละ ให้ได้ [๑๑๒๐] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า ท่านจงพิจารณาเบญจขันธ์โดยอุบายที่แยบคายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่า ว่างเปล่า ไม่มีตัวตน และว่า ต้องวิบัติไป เป็นผู้ฆ่า จงดับมโนวิจารทางใจเสียให้ได้ [๑๑๒๑] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า ท่านจงปลงผมและโกนหนวดแล้ว ถือเพศสมณะ มีรูปร่างแปลก ถูกเขาสาปแช่ง ถือบาตรเที่ยวภิกษาไปตามตระกูลทั้งหลาย จงพากเพียรในคำสอนของพระศาสดา ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้ได้ [๑๑๒๒] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า ท่านจงสำรวมระวังให้ดี เมื่อเที่ยวไปในระหว่างตรอก อย่ามีใจเกี่ยวข้องในตระกูล และกามารมณ์ทั้งหลายเที่ยวไป เหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญที่ปราศจากเมฆฉะนั้น [๑๑๒๓] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า ท่านจงยินดีในธุดงคคุณทั้ง ๕ คือ (๑) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร (๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร (๓) ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร (๔) ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (๕) ถือการไม่นอนเป็นวัตรทุกเมื่อให้ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

[๑๑๒๔] บุคคลบางคนต้องการผลไม้ ปลูกไม้ผลไว้แล้ว ไม่ได้รับผล ประสงค์จะโค่นต้นไม้นั้นเสีย ฉันใด จิต ท่านทำเรา ที่ท่านชักนำให้หวั่นไหวในความไม่เที่ยง ให้เป็นเหมือนบุคคลผู้ปลูกต้นไม้ฉันนั้น [๑๑๒๕] จิต ที่ไม่มีรูปร่าง ไปได้ไกล ทั้งเที่ยวไปแต่ผู้เดียว บัดนี้ เราจะไม่ทำตามคำของท่าน เพราะกามทั้งหลาย ล้วนแต่ก่อให้เกิดทุกข์ ให้ผลเผ็ดร้อน มีภัยอย่างใหญ่หลวง เราจะประพฤติมุ่งมั่นอยู่เฉพาะนิพพาน [๑๑๒๖] เราไม่ได้ออกบวชเพราะไม่มีบุญ เพราะหมดความกระดากอาย เพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจจิต เพราะทำผิดต่อชาติบ้านเมือง ก็หรือเพราะเหตุแห่งอาชีพ จิต ก็ท่านได้รับรองกับเราไว้ว่า จะอยู่ในอำนาจเรามิใช่หรือ [๑๑๒๗] จิต ท่านแนะนำเราไว้คราวนั้นแหละว่า ความเป็นผู้มักน้อย การละความลบหลู่คุณท่าน และความสงบทุกข์ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ มาบัดนี้ ท่านกลับประพฤติเช่นเดิม [๑๑๒๘] เราไม่อาจกลับไปหาตัณหา อวิชชา ความรัก ความชัง รูปอันสวยงาม สุขเวทนา และกามคุณที่น่าชอบใจ ซึ่งคายได้แล้ว [๑๑๒๙] จิต เราได้ทำตามคำของท่านมาทุกภพ ทุกชาติ ทุกคติ และทุกวิญญาณฐิติ เราไม่ได้ขุ่นเคืองท่านในหลายชาติ เพราะความที่ท่านเป็นคนกตัญญู จึงเกิดมีอัตภาพนี้ขึ้น ทั้งเราก็ได้เร่ร่อนไปในทุกข์ ที่ท่านทำให้มาช้านาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

[๑๑๓๐] จิต ท่านนั่นแหละทำเราให้เป็นพราหมณ์บ้าง ให้เป็นกษัตริย์บ้าง เป็นพระราชาบ้าง เพราะอำนาจแห่งท่านนั่นแหละ บางคราวเราเป็นแพศย์บ้าง เป็นศูทรบ้าง เป็นเทพบ้าง [๑๑๓๑] เพราะเหตุแห่งท่าน เพราะอำนาจแห่งท่าน มีท่านเป็นมูลเหตุ บางคราวเราเป็นอสูรบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง เป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง [๑๑๓๒] ท่านประทุษร้ายเรามาแล้วบ่อยครั้งมิใช่หรือ ท่านแสดงน้ำใจเหมือนจะห้ามเรา ครู่เดียวท่านก็ล่อลวงเหมือนกับคนบ้า จิต เราได้ผิดอะไรต่อท่านไว้บ้าง [๑๑๓๓] แต่ก่อนจิตนี้ได้ท่องเที่ยวไปตามอารมณ์ต่างๆ ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย วันนี้ เราจะข่มจิตนั้นโดยอุบายอันแยบคาย เหมือนควาญช้างปราปพยศช้างตกมัน [๑๑๓๔] พระศาสดาของเราทรงหยั่งรู้โลกนี้ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มีแก่นสาร จิต เชิญท่านพาเราบ่ายหน้าไปในศาสนาของพระชินเจ้า ช่วยเราให้ข้ามโอฆะใหญ่ที่ข้ามได้แสนยาก [๑๑๓๕] จิต เรือนคืออัตภาพนี้ไม่เป็นของท่านเหมือนเมื่อก่อน เราไม่พึงกลับไปอยู่ในอำนาจท่าน จะบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ธรรมดาสมณะทั้งหลายไม่ประสบความเสียหายเหมือนเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

[๑๑๓๖] ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำคงคาเป็นต้น แผ่นดิน ทิศใหญ่ทั้ง ๔ ทิศน้อยทั้ง ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และภพทั้ง ๓ ล้วนเป็นสภาพไม่เที่ยง มีแต่ถูกเบียดเบียนอยู่เสมอ จิต ท่านไปที่ไหนเล่าจึงจะยินดีความสุข [๑๑๓๗] จิต เรามั่นคงแล้ว ท่านจะทำอะไรได้ เราไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจท่าน คนไม่พึงแตะต้องถุงหนัง มีปากสองข้าง น่าตินัก ร่างกายที่เต็มไปด้วยของไม่สะอาดต่างๆ หลั่งของไม่สะอาดออกจากปากแผลทั้ง ๙ [๑๑๓๘] ท่านเข้าไปสู่เรือนคือถ้ำที่เงื้อมเขาและยอดเขา ที่สวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งฝูงหมูป่าและฝูงกวางอาศัยอยู่ และป่าที่ฝนตกรดใหม่ๆ นั้น จะยินดีภาวนา ณ ที่นั้น [๑๑๓๙] ฝูงนกยูงมีขนคอเขียวสวยงาม มีหงอนงาม มีปีกงาม ทั้งปกคลุมด้วยขนปีกสวยงาม ส่งสำเนียงเสียงร้องก้องกังวานไพเราะจับใจนั้น จะช่วยท่านผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าให้รื่นรมย์ได้ [๑๑๔๐] เมื่อฝนตก หญ้างอกยาวประมาณ ๔ นิ้ว เมื่อป่าไม้ผลิดอกออกช่อ งามคล้ายก้อนเมฆ เราเป็นเหมือนต้นไม้จะนอนบนยอดหญ้าในระหว่างภูเขา เครื่องลาดหญ้านั้นอ่อนนุ่มจะเป็นเหมือนที่นอนสำลีสำหรับเรา [๑๑๔๑] เราจะทำท่านไว้ในอำนาจให้ได้เหมือนคนผู้เป็นใหญ่ จะพอใจด้วยปัจจัยตามที่ได้ จะทำท่านไว้ในอำนาจให้ได้ เหมือนคนไม่เกียจคร้าน เหมือนกระสอบใส่แมวที่มัดไว้ดีแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

๑. ตาลปุฏเถรคาถา

[๑๑๔๒] เราจะทำท่านไว้ในอำนาจให้ได้เหมือนคนผู้เป็นใหญ่ จะพอใจด้วยปัจจัยตามที่ได้ จะใช้ความพยายามนำท่านมาไว้ในอำนาจให้ได้ เหมือนนายควาญช้างผู้ชาญฉลาด ใช้ขอสับช้างตกมันให้อยู่ในอำนาจตน [๑๑๔๓] เราพร้อมกับท่านผู้ฝึกฝนดีแล้ว มั่นคง สามารถดำเนินไปถึงทางที่ปลอดโปร่ง ซึ่งท่านผู้ตามรักษาจิตทั้งหลายได้ดำเนินไปแล้วทุกสมัย เหมือนนายสารถีผู้ฝึกม้าสามารถดำเนินไปถึงภูมิภาค ที่ปลอดภัยได้ด้วยม้าอาชาไนยที่มีใจซื่อตรง [๑๑๔๔] เราจะผูกท่านไว้ที่อารมณ์กรรมฐานด้วยกำลังภาวนา เหมือนนายควาญช้างใช้เชือกที่เหนียวผูกช้างไว้ที่เสาตะลุง จิตที่เราคุ้มครองดี อบรมดีแล้วด้วยสติ จะเป็นจิตอันตัณหาในภพทั้งปวงอาศัยไม่ได้ [๑๑๔๕] ท่านตัดเหตุเกิดคืออายตนะที่แล่นไปผิดทางด้วยปัญญา ข่มมันเสียด้วยความเพียร ให้ตั้งมั่นอยู่ในทางถูก เห็นแจ้งทั้งความเกิดและความดับ แล้วจะเป็นทายาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวาทะเป็นเลิศ [๑๑๔๖] จิต ท่านชักนำเราให้เป็นไปตามอำนาจของความเข้าใจผิด ๔ อย่าง เหมือนคนจูงเด็กชาวบ้านวิ่งวนไปฉะนั้น ท่านน่าจะคบหาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เพียบพร้อมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ผู้ตัดเครื่องผูกคือสังโยชน์เสียได้ เป็นพระมหามุนี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต]

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต

[๑๑๔๗] มฤคชาติเข้าไปยังภูเขาอันน่ารื่นรมย์ ประกอบด้วยน้ำและดอกไม้ เที่ยวไปในป่าอันงดงามอย่างเสรี จิต ท่านก็จะรื่นรมย์ในภูเขาที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คนตามลำพังใจ เมื่อท่านไม่ยินดีอยู่ที่ภูเขานั้น ท่านก็จะต้องเสื่อมโดยไม่ต้องสงสัย [๑๑๔๘] จิตชายและหญิงเหล่าใดประพฤติตามความพอใจ ตามอำนาจของท่าน จะเสวยความสุข ชายหญิงเหล่านั้นโง่เขลา ประพฤติไปตามอำนาจมาร เพลิดเพลินในภพน้อยภพใหญ่ เป็นสาวกของท่าน
ปัญญาสนิบาต จบบริบูรณ์
รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
พระตาลปุฏเถระผู้บริสุทธิ์รูปเดียว และในปัญญาสนิบาตนี้ มี ๕๕ ภาษิต ฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๕๑๘-๕๒๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=399              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=8303&Z=8477                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=399              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=399&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=11694              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=399&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=11694                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.19.00x.olen.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.19.00.khan.html https://suttacentral.net/thag19.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :