ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๑๒. กัณณมุณฑเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตผู้ถูกสุนัขกัณณมุณฑกัดกินเนื้อ
(พระเจ้าพาราณสีตรัสถามนางเวมานิกเปรตว่า) [๓๔๘] สระโบกขรณีมีน้ำใสเย็น มีบันไดทองคำ มีพื้นดาดด้วยทรายทองคำ ในสระโบกขรณีนั้นมีต้นไม้สวยงาม มีกลิ่นหอมยวนใจ [๓๔๙] ดาดดื่นไปด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ ตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นหอมต่างๆ ดารดาษไปด้วยบัวนานาชนิด รายล้อมไปด้วยบัวขาว [๓๕๐] มีกลิ่นหอมเจริญใจ ยามต้องลมรำเพยพัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่นฟุ้งขจรไป ระงมไปด้วยเสียงหงส์และนกกะเรียน นกจักรพาก๑- มาส่งเสียงร้องไพเราะจับใจ @เชิงอรรถ : @ นกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค]

๑๒. กัณณมุณฑเปติวัตถุ

[๓๕๑] ขวักไขว่ไปด้วยฝูงทิชาชาติ๑- นานาชนิด มีเสียงร้องของนกนานาชนิด ไพเราะจับใจ มีไม้ผล ไม้ดอกนานาพันธุ์ [๓๕๒] ไม่มีเมืองใดในมนุษย์เหมือนเมืองของท่านนี้ ปราสาทของท่านมีมาก สำเร็จแล้วด้วยทองคำและเงิน ส่องแสงสว่างโชติช่วงโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ [๓๕๓] ทาสี ๕๐๐ คน ประดับด้วยกำไลทองคำ นุ่งห่มผ้าทองคำ คอยบำเรอท่าน [๓๕๔] ท่านมีบัลลังก์ทองคำและเงินจำนวนมาก ปูลาดด้วยหนังชะมดและผ้าโกเชาว์๒- ที่เขาจัดเตรียมไว้แล้ว [๓๕๕] ท่านจะเข้าบรรทมบนบัลลังก์ใดก็สำเร็จสมประสงค์ทุกอย่าง เมื่อถึงเที่ยงคืน ท่านลุกจากบัลลังก์นั้นไป [๓๕๖] ลงไปสู่สวนรอบสระโบกขรณี ยืนอยู่ที่ริมสระนั้นซึ่งมีหญ้าเขียวอ่อนนุ่ม [๓๕๗] ทันใดนั้น สุนัขชื่อกัณณมุณฑกะก็ขึ้นมาจากสระนั้น กัดอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน เมื่อใดท่านถูกสุนัขกัดกินเหลือแต่ร่างกระดูก เมื่อนั้น ท่านจึงลงสู่สระโบกขรณี ร่างกายก็กลับเป็นเหมือนเดิม [๓๕๘] ภายหลังจากเวลาที่ลงสระโบกขรณี ท่านกลับมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ งดงาม ดูน่ารัก นุ่งห่มผ้า มาสู่สำนักเรา @เชิงอรรถ : @ นก ได้ชื่อว่า ทิชาชาติ เพราะเกิด ๒ หน คือ คลอดจากท้องมารดาเป็นฟองไข่หนหนึ่ง และถูกฟักจน @คลอดเป็นตัวอีกหนหนึ่ง @ พรมที่ทำด้วยขนแกะที่มีขนยาว (ขุ.เป.อ. ๓๕๔/๑๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค]

๑๒. กัณณมุณฑเปติวัตถุ

[๓๕๙] เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ เพราะผลกรรมอะไร สุนัขกัณณมุณฑกะจึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน (นางเวมานิกเปรตกราบทูลว่า) [๓๖๐] มีคหบดีคนหนึ่ง เป็นอุบาสก มีศรัทธา อยู่ในเมืองกิมพิลา หม่อมฉันเป็นภรรยาของเขา เป็นคนทุศีล ประพฤตินอกใจเขา [๓๖๑] เมื่อหม่อมฉันประพฤตินอกใจเขา สามีจึงพูดดังนี้ว่า การที่เธอประพฤตินอกใจฉันแล้วปกปิดไว้ เป็นการไม่เหมาะ ไม่สมควร [๓๖๒] และหม่อมฉันนั้นได้กล่าวเท็จสาบานอย่างร้ายแรงว่า ฉันไม่ได้ประพฤตินอกใจท่านทางกายหรือทางใจ [๓๖๓] ถ้าฉันประพฤตินอกใจท่านทางกายหรือทางใจ ขอให้สุนัขกัณณมุณฑกะตัวนี้จงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของฉันเถิด [๓๖๔] ผลกรรมชั่วและการกล่าวเท็จทั้งสองนั้น หม่อมฉันได้เสวยแล้วเป็นเวลา ๗๐๐ ปี เพราะกรรมอันชั่วช้าสุนัขกัณณมุณฑกะ จึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของหม่อมฉัน [๓๖๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงมีอุปการะแก่หม่อมฉันมาก เสด็จมา ณ ที่นี้เพื่อประโยชน์แก่หม่อมฉัน หม่อมฉันพ้นแล้วจากสุนัขกัณณมุณฑกะ หายโศก ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ [๓๖๖] ขอเดชะ หม่อมฉันขอถวายบังคมพระองค์ ขอประนมอัญชลีวิงวอนว่า ขอพระองค์จงเสวยกามสุขอันเป็นทิพย์ รื่นรมย์อยู่กับหม่อมฉันเถิดเพคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค]

๑๓. อุพพรีเปตวัตถุ

(พระราชาตรัสว่า) [๓๖๗] ฉันเสวยกามสุขอันเป็นทิพย์และรื่นรมย์กับเธอแล้ว เชิญเถิดนางงาม ฉันอ้อนวอนเธอ ขอจงรีบนำฉันกลับเถิด
กัณณมุณฑเปติวัตถุที่ ๑๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๒๒๒-๒๒๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=109              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=3888&Z=3930                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=109              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=109&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=31&A=3570              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=109&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=31&A=3570                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :