ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๒. ราชสูตร
ว่าด้วยอานุภาพของพระราชา
[๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตหลังจาก ฉันอาหารเสร็จแล้ว มานั่งประชุมพร้อมกันในอุปัฏฐานศาลา๗- ได้สนทนาอันตรากถา๘- ขึ้นว่า “ท่านทั้งหลาย บรรดาพระราชา ๒ พระองค์นี้ คือ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ @เชิงอรรถ :- @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงอานุภาพแห่งวิเวกสุข (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๔) @ วิเวก ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่สงัดจากอุปธิกิเลส (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๔) @ ผู้สันโดษ ในที่นี้หมายถึงผู้สันโดษในมัคคญาณ ๔ (โสดาปัตติมัคคญาณ สกทาคามิมัคคญาณ @อนาคามิมัคคญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๕) @ ความล่วงกามทั้งหลายได้ หมายถึงอนาคามิมรรค (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๖) @ ความกำจัดอัสมิมานะ หมายถึงอรหัตต์ (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๖) @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕/๘-๙, อภิ.ก. ๓๗/๓๓๘/๑๘๓ @ อุปัฏฐานศาลา แปลว่าศาลาเป็นที่บำรุงหรือหอฉัน ในที่นี้หมายถึง มณฑปแสดงธรรม คือ เมื่อพระผู้มี @พระภาคเสด็จมาทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่มณฑปนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้ถวายอุปัฏฐากพระองค์ ด้วยเหตุนี้ @จึงเรียกว่า อุปัฏฐานศาลา ใช้เป็นที่ประชุมสนทนาธรรม วินิจฉัยวินัย และแสดงธรรมของภิกษุทั้งหลาย @(ขุ.อุ.อ. ๑๒/๑๐๖) @ อันตรากถา หมายถึงการพูดคุยนอกเรื่องการเจริญกัมมัฏฐานเป็นต้น หรือพูดคุยระหว่างรอการฟังธรรม @(ขุ.อุ.อ. ๑๒/๑๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๒. ราชสูตร

มคธรัฐ กับพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ไหน มีราชทรัพย์มากกว่า โภคสมบัติ มากกว่า ท้องพระคลังมากกว่า แว่นแคว้นมากกว่า ราชพาหนะมากกว่า พระกำลัง มากกว่า พระฤทธิ์มากกว่า หรือทรงอานุภาพมากกว่า” อันตรากถาของภิกษุ เหล่านั้นได้ค้างไว้เพียงเท่านี้ ครั้งนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยัง อุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และพูด เรื่องอะไรค้างไว้” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อ ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้วมานั่งประชุม พร้อมกันในอุปัฏฐานศาลา ได้สนทนาอันตรากถาขึ้นมาดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย บรรดาพระราชา ๒ พระองค์นี้ คือ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ กับพระเจ้า ปเสนทิโกศล พระองค์ไหน มีราชทรัพย์มากกว่า โภคสมบัติมากกว่า ท้องพระคลัง มากกว่า แว่นแคว้นมากกว่า ราชพาหนะมากกว่า พระกำลังมากกว่า พระฤทธิ์ มากกว่า หรือทรงอานุภาพมากกว่า’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันตรากถานี้แลที่ข้าพระองค์ ทั้งหลายพูดค้างไว้ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรมีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แล้วมัวสนทนาเรื่องอย่างนี้นั้น ไม่สมควรเลย ภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายนั่งประชุมกันแล้วควรทำกิจเพียง ๒ อย่าง คือ การกล่าวธรรม หรือความเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๓. ทัณฑสูตร

พุทธอุทาน๑-
กามสุข๒- ในโลก๓- และทิพยสุข๔- ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งความสุขคือความสิ้นตัณหา๕-
ราชสูตรที่ ๒ จบ
๓. ทัณฑสูตร
ว่าด้วยการทำร้ายสัตว์ด้วยท่อนไม้
[๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น เด็กชายจำนวนมากใช้ท่อนไม้ตีงูในระหว่าง กรุงสาวัตถีกับพระเชตวัน ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กชาย เหล่านั้นกำลังใช้ท่อนไม้ตีงูในระหว่างกรุงสาวัตถีกับพระเชตวัน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงอานุภาพอริยวิหารสุข (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๑๑) @ กามสุข หมายถึงความสุขที่เกิดจากกิเลสกาม (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๑๑-๑๑๒) @ โลก หมายถึงสัตวโลกและโอกาสโลก (ขุ.อุ.อ. ๑๒/๑๑๑) @ ทิพยสุข หมายถึงสุขอันเป็นทิพย์และสุขอันเกิดจากรูปสมาบัติของพรหมและมนุษย์ (ขุ.อุ.อ. ๑๒/๑๑๒) @ ความสุขคือความสิ้นตัณหา หมายถึงสุขอันเกิดจากผลสมาบัติ (ขุ.อุ.อ. ๑๒/๑๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๙๐-๑๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=47              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=1722&Z=1752                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=52              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=52&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=2378              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=52&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=2378                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.2.02.than.html https://suttacentral.net/ud2.2/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud2.2/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :