ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๗. โกธวรรค
หมวดว่าด้วยความโกรธ
๑. โรหิณีขัตติยกัญญาวัตถุ
เรื่องเจ้าหญิงโรหิณี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เจ้าหญิงโรหิณี ดังนี้) [๒๒๑] บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ ก้าวล่วงสังโยชน์ได้หมดทุกอย่าง ความทุกข์ย่อมไม่รุมเร้าคนนั้นผู้ไม่ติดอยู่ในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๓๔/๔๓-๔๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๗. โกธวรรค ๔. มหาโมคคัลลานเถรปัญหวัตถุ

๒. อัญญตรภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เทวดา ดังนี้) [๒๒๒] ผู้ใดอดกลั้นความโกรธที่เกิดขึ้นไว้ได้ เหมือนนายสารถีหยุดรถที่กำลังแล่นอยู่ได้ เราเรียกผู้นั้นว่า นายสารถี คนนอกจากนี้ เป็นเพียงผู้ถือเชือกเท่านั้น
๓. อุตตราอุปาสิกาวัตถุ
เรื่องนางอุตตราอุบาสิกา
(พระผู้มีพระภาคทรงชมเชยนางอุตตราที่อดกลั้นความโกรธต่อนางสิริมา จึงตรัสพระคาถานี้แก่นางอุตตรา ดังนี้) [๒๒๓] บุคคลพึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำสัตย์๑-
๔. มหาโมคคัลลานเถรปัญหวัตถุ
เรื่องปัญหาของพระมหาโมคคัลลานเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระมหาโมคคัลลานเถระ ดังนี้) [๒๒๔] บุคคลควรพูดคำจริง ไม่ควรโกรธ แม้เขาขอเพียงเล็กน้อยก็ควรให้๒- ด้วยเหตุ ๓ อย่างนี้ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) บุคคลพึงไปเทวโลกได้ @เชิงอรรถ : @ ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๒/๖๒ @ ให้ ในที่นี้หมายถึงให้ไทยธรรมแก่ท่านผู้ทรงศีล (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๗๖-๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๗. โกธวรรค ๗. อตุลอุปาสกวัตถุ

๕. ภิกขูหิปุฏฐปัญหวัตถุ
เรื่องปัญหาที่ภิกษุทูลถาม
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๒๒๕] มุนี๑- ผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมกายอยู่เป็นนิตย์๒- ย่อมไปสู่ที่ที่ไม่จุติที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก
๖. ปุณณทาสีวัตถุ
เรื่องนางปุณณทาสี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นางทาสของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ชื่อปุณณา ดังนี้) [๒๒๖] สำหรับบุคคลผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน น้อมจิตเข้าหานิพพาน อาสวะทั้งหลาย๓- ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
๗. อตุลอุปาสกวัตถุ
เรื่องอตุลอุบาสก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อตุลอุบาสกพร้อมบริวาร ๕๐๐ คน ดังนี้) [๒๒๗] อตุละเอ๋ย การนินทาและสรรเสริญนี้มีมานานแล้ว มิใช่เพิ่งมีในวันนี้เท่านั้น คนนั่งอยู่เฉยๆ เขาก็นินทา @เชิงอรรถ : @ มุนี ในที่นี้หมายถึงพระอเสขะมุนีผู้บรรลุมรรคและผลด้วยโมเนยยปฏิปทา (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๘๐) @ สำรวมกาย หมายถึงสำรวมกาย วาจา ใจ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๘๐) @ อาสวะ มี ๔ ประการ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๘๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๗. โกธวรรค ๘. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ

คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้คนพูดน้อย เขาก็นินทา ไม่มีใครเลยในโลกนี้ไม่ถูกนินทา [๒๒๘] ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน ก็ไม่มีใครเลยที่จะถูกนินทาอย่างเดียว หรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว [๒๒๙] แต่วิญญูชนพิจารณาทุกวันๆ ย่อมสรรเสริญบุคคลผู้ดำเนินชีวิตหาข้อตำหนิมิได้ ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้มีปัญญาและศีลมั่นคง๑- [๒๓๐] ใครเล่าจะควรตำหนิผู้นั้น ผู้เปรียบเหมือนแท่งทองชมพูนุท ผู้เช่นนั้น แม้เทวดาและมนุษย์ก็ชื่นชม ถึงพรหมก็สรรเสริญ
๘. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระฉัพพัคคีย์ ดังนี้) [๒๓๑] บุคคลพึงรักษาความกำเริบทางกาย พึงสำรวมกาย ละกายทุจริตแล้ว พึงประพฤติกายสุจริต @เชิงอรรถ : @ ความหมายของคาถานี้ คือ การนินทาหรือสรรเสริญของคนพาล ไม่ถือเป็นประมาณ แต่บัณฑิตผู้ใคร่ครวญแล้ว @รู้เหตุที่ควรติเตียนหรือเหตุที่ควรสรรเสริญ ย่อมเลือกสรรเสริญนักปราชญ์ผู้มีปัญญา และศีลมั่นคง ดำรง @ชีวิตอย่างหาข้อตำหนิมิได้ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๘. มลวรรค ๑. โคฆาตกปุตตวัตถุ

[๒๓๒] บุคคลพึงรักษาความกำเริบทางวาจา พึงสำรวมวาจา ละวจีทุจริตแล้ว พึงประพฤติวจีสุจริต [๒๓๓] บุคคลพึงรักษาความกำเริบทางใจ พึงสำรวมใจ ละมโนทุจริตแล้ว พึงประพฤติมโนสุจริต [๒๓๔] นักปราชญ์ผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ชื่อว่าเป็นผู้สำรวมดีแท้
โกธวรรคที่ ๑๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=26              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=862&Z=894                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=27              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=27&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=23&A=3173              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=27&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=23&A=3173                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i027-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i027-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.17.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.17.budd.html https://suttacentral.net/dhp221-234/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp221-234/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp221-234/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :