ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๓. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ
[๑๐๒] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวถึงความสิ้นอาสวะทั้งหลายสำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ ผู้เห็น อยู่ หากล่าวถึงความสิ้นอาสวะทั้งหลายสำหรับภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ไม่ @เชิงอรรถ : @ คุณเครื่องความเป็นสมณะ หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ สมถะ วิปัสสนา หรืออริยมรรค เมื่อว่า @โดยย่อมี ๒ ประการ คือ (๑) คุณเครื่องภายนอก ได้แก่ ธรรมเครื่องอาศัยของสัตบุรุษและการฟัง @สัทธรรม (๒) คุณเครื่องภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย) และธัมมานุธัมมปฏิบัติ @(การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) คุณเครื่องความเป็นสมณะนั้น มีธรรมที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้ คือ @ความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัด ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร เป็นต้น @(ขุ.อิติ.อ. ๑๐๑/๓๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๔. จตุกกนิบาต]

๓. อาสวักขยสูตร

ภิกษุรู้อะไร เห็นอะไร จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย คือ ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกข’ จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์)’ จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์)’ จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)’ จึง ชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงชื่อว่ามีความสิ้นอาสวะ ทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ญาณในความสิ้นกิเลสย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะ ผู้กำลังศึกษาและปฏิบัติตามทางสายตรงก่อน ลำดับต่อจากนั้นอัญญินทรีย์จึงเกิดขึ้น๑- ต่อจากอัญญินทรีย์นั้น วิมุตติญาณอันสูงสุด และญาณในความสิ้นกิเลส ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผลว่า “สังโยชน์ทั้งหลายสิ้นไปแล้ว’ คนพาลผู้เกียจคร้าน ไม่รู้แจ้ง ไม่ควรบรรลุนิพพาน เป็นที่ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงนี้เลย แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อาสวักขยสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู อิติวุตตกะ ข้อ ๖๒ หน้า ๔๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๘๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๗๙-๔๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=217              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6566&Z=6585                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=282              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=282&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=8193              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=282&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=8193                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.4.100-112.than.html#iti-102 https://suttacentral.net/iti102/en/ireland https://suttacentral.net/iti102/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :