ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๕. พหุชนหิตสูตร
ว่าด้วยบุคคลเกื้อกูลชาวโลก
[๘๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก๑- ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวก คือ ๑. พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ งามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ @เชิงอรรถ : @ โลก มี ๓ คือ (๑) สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ (๒) สังขารโลก โลกคือสังขาร (ขันธ์ ๕) (๓) โอกาสโลก @โลกคือแผ่นดิน ในที่นี้หมายถึงสัตวโลก (ขุ.อิติ.อ. ๘๔/๒๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๔. จตุตถวรรค ๕. พหุชนหิตสูตร

พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน นี้คือบุคคล จำพวกที่ ๑ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๒. สาวกของพระตถาคตศาสดาพระองค์นั้นนั่นเอง เป็นพระอรหันต- ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ สาวกนั้นแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน นี้คือบุคคล จำพวกที่ ๒ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๓. สาวกของพระตถาคตศาสดาพระองค์นั้นนั่นเอง ยังเป็นพระเสขะ กำลังปฏิบัติอยู่ เป็นพหูสูต ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตร แม้สาวกนั้น ก็แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน นี้คือบุคคลจำพวกที่ ๓ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้น ในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คน หมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๔. จตุตถวรรค ๕. พหุชนหิตสูตร

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า พระศาสดาผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ จัดเป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ในโลก พระสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระศาสดาพระองค์นั้น ผู้อบรมตนแล้ว จัดเป็นบุคคลจำพวกที่ ๒ พระสาวกอื่นๆ นอกจากนั้น ผู้ยังเป็นพระเสขะ กำลังปฏิบัติอยู่ เป็นพหูสูต ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตร จัดเป็นบุคคลจำพวกที่ ๓ บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ส่องแสงสว่าง เผยแผ่สัจธรรมอยู่ ย่อมเปิดประตูเข้าสู่นิพพาน ท่านเหล่านั้นช่วยปลดเปลื้องชนจำนวนมากออกจากโยคะ ชนทั้งหลายผู้ปฏิบัติตามอริยมรรค ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงนำหมู่เวไนยชนออกจากภพ ผู้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า ทรงแสดงไว้ดีแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนธรรมของพระสุคต ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ในอัตภาพนี้ได้ แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
พหุชนหิตสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๕๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๔๙-๔๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=199              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6110&Z=6153                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=263              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=263&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=6544              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=263&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=6544                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-084 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.072-090x.irel.html#iti-084 https://suttacentral.net/iti84/en/ireland https://suttacentral.net/iti84/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :