ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๕. อุตติยสูตร
ว่าด้วยอุตติยปริพาชกทูลถามพระผู้มีพระภาค
[๙๕] ครั้งนั้นแล อุตติยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง หรือหนอ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุตติยะ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่าง อื่นไม่จริง’ นี้เราไม่ตอบ” “ท่านพระโคดม โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริงหรือ” “อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ” “ท่านพระโคดม โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตาย แล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจาก ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริงหรือ๑-” “อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่าง เดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีก @เชิงอรรถ : @ เทียบดูเนื้อความนี้พร้อมทั้งเชิงอรรถในข้อ ๙๓ (กิงทิฏฐิกสูตร) หน้า ๒๑๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๕. อุตติยสูตร

ก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ” “ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘ท่านพระโคดม โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่ จริงหรือหนอ’ ก็กล่าวว่า ‘อุตติยะ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้เราไม่ตอบ’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านพระโคดม โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่ จริงหรือ’ ก็กล่าวว่า ‘อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านพระโคดม โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระ เป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคต เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริงหรือ’ ก็กล่าวว่า ‘อุตติยะ แม้ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตาย แล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีก ก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้เราก็ไม่ตอบ’ ท่านพระโคดมจะตอบใน ทางไหน” “อุตติยะ เราแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความหมดจด แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ ญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง” “ข้อที่ท่านพระโคดมได้ทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ ความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และ โทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้งนั้น ก็จักเป็นเหตุให้สัตว์โลก ทั้งหมดหรือกึ่งหนึ่ง หรือสามส่วนออกไปจากทุกข์ได้หรือ” เมื่ออุตติยปริพาชกทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อุปาสกวรรค ๕. อุตติยสูตร

ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์มีความคิดอย่างนี้ว่า “อุตติยปริพาชกอย่าได้มี มิจฉาทิฏฐิอย่างนี้เลยว่า ‘พระสมณโคดมถูกเราถามปัญหาเฉพาะหน้าทั้งหมด ย่อม เลี่ยง ไม่ทรงวิสัชนา หรือไม่สามารถวิสัชนาแน่นอน’ เพราะมิจฉาทิฏฐินั้น จะพึง เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่เธอ” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกับอุตติยปริพาชกว่า “อุตติยะผู้มีอายุ ถ้าเช่นนั้น เราจักอุปมาแก่ท่าน บุคคลผู้รู้บางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้อรรถแห่งภาษิตได้ ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนนครของพระราชาที่ตั้งอยู่ชายแดน นครนั้นมีป้อมมั่นคง มีกำแพงและประตูมั่นคง มีประตูเดียว นายประตูในนครนั้น เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา ห้ามคนที่ไม่รู้จัก ให้คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินเลียบไปตามทางเลียบ กำแพงโดยรอบนครนั้น ไม่เห็นที่ต่อกำแพงหรือช่องกำแพงโดยที่สุดแม้เพียงช่องที่แมว ออกได้ และเขาก็ไม่มีความรู้อย่างนี้ว่า ‘สัตว์มีจำนวนเท่านี้เข้ามายังนครนี้ หรือออก ไปจากนครนี้’ โดยที่แท้ เขามีความรู้ในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ๆ บางเหล่า ที่เข้ามายังนครนี้ หรือออกไปจากนครนี้ทั้งหมด เข้ามาหรือออกไปทางประตูนี้’ แม้ฉันใด พระตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มิได้ทรงมีความขวนขวายอย่างนี้ว่า ‘สัตว์โลก ทั้งหมด หรือกึ่งหนึ่ง หรือสามส่วนจักออกจากทุกข์ได้’ โดยที่แท้ พระตถาคตทรงมี พระญาณในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ออกไปแล้ว กำลังออกไป หรือจักออกไปจากโลก สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดละนิวรณ์ ๕ ประการที่เป็นเครื่องเศร้า หมองแห่งใจ เป็นเครื่องทอนกำลังปัญญา เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ เจริญ โพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริงแล้วจึงออกไป กำลังออกไป หรือจักออกไปจากโลก อย่างนี้’ ท่านอุตติยะ ก็เพราะท่านได้ทูลถามปัญหานั้นกับพระผู้มีพระภาคด้วยเหตุ อย่างอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรงตอบปัญหานั้นแก่ท่าน”
อุตติยสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๒๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๒๓-๒๒๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=93              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=4423&Z=4478                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=95              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=95&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8287              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=95&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8287                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i091-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.095.than.html https://suttacentral.net/an10.95/en/sujato https://suttacentral.net/an10.95/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :