ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๓. อิฏฐธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โภคสมบัติ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ๒. ผิวพรรณ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ๓. ความไม่มีโรค เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ๔. ศีล เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ๕. พรหมจรรย์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ๖. มิตร เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ๗. ความเป็นพหูสูต เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ๘. ปัญญา เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ๙. ธรรม๑- เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ๑๐. สวรรค์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๓-๗๔/๓๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๓. อิฏฐธัมมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ ยากในโลก มีธรรมที่เป็นอันตราย ๑๐ ประการ คือ ๑. ความเกียจคร้าน ไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นอันตรายต่อโภคสมบัติ ๒. การไม่ประดับตกแต่ง เป็นอันตรายต่อผิวพรรณ ๓. การทำสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ เป็นอันตรายต่อความไม่มีโรค ๔. ความเป็นผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว) เป็นอันตรายต่อศีล ๕. ความไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ ๖. การแกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นอันตรายต่อมิตร ๗. การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายต่อความเป็นพหูสูต ๘. การไม่ฟังด้วยดี การไม่สอบถาม เป็นอันตรายต่อปัญญา ๙. การไม่ประกอบความเพียร การไม่พิจารณา เป็นอันตรายต่อธรรม ๑๐. การปฏิบัติผิด เป็นอันตรายต่อสวรรค์ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นอันตรายต่อธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ ยากในโลก มีธรรมที่เป็นอาหาร ๑๐ ประการ คือ ๑. ความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน เป็นอาหารของโภคสมบัติ ๒. การประดับตกแต่ง เป็นอาหารของผิวพรรณ ๓. การทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ เป็นอาหารของความไม่มีโรค ๔. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี) เป็นอาหารของศีล ๕. ความสำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของพรหมจรรย์ ๖. การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นอาหารของมิตร ๗. การทำการสาธยาย เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อากังขวรรค ๔. วัฑฒิสูตร

๘. การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของปัญญา ๙. การประกอบความเพียร การพิจารณา เป็นอาหารของธรรม ๑๐. การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของสวรรค์ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
อิฏฐธัมมสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๖๐-๑๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=71              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=3203&Z=3229                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=73              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=73&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8077              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=73&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8077                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i071-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an10.73/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :