ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๙. ปฐมโกสลสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล สูตรที่ ๑
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ชนบทของชาวกาสีและโกศลประมาณเท่าใด แว่นแคว้น ของพระเจ้าปเสนทิโกศลประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศลอันพสกนิกรเรียกว่า เป็นผู้เลิศในชนบทของชาวกาสีและโกศล และแว่นแคว้นเหล่านั้นประมาณเท่านั้น @เชิงอรรถ : @ ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวา โดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ มีผู้ที่ตน @เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา คือจนมองไม่เห็นผู้ที่ @ตนเคารพนั้น คุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร

ถึงกระนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยังมีความแปร๑- มีความแปรผัน๒- ไปได้ อริยสาวกผู้ได้ สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสมบัตินั้น เมื่อเบื่อหน่ายในสมบัตินั้น ก็คลายกำหนัดในความเป็นพระราชาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงสมบัติที่ ด้อยกว่า (๑) ภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมหมุนเวียนส่องทิศทั้งหลายให้ สว่างอยู่ในที่ประมาณเท่าใด สหัสสธาโลกธาตุ๓- มีอยู่ในที่ประมาณเท่านั้น ใน สหัสสธาโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง มีดวงอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง มีขุนเขา สิเนรุ ๑,๐๐๐ ลูก มีชมพูทวีป ๑,๐๐๐ มีอปรโคยานทวีป ๑,๐๐๐ มีอุตตรกุรุทวีป ๑,๐๐๐ มีปุพพวิเทหทวีป ๑,๐๐๐ มีมหาสมุทร ๔,๐๐๐ มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นยามา ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดุสิต ๑,๐๐๐ มีพรหมโลก ๑,๐๐๐ สหัสสธาโลกธาตุประมาณ เท่าใด ท้าวมหาพรหม อันชาวโลกกล่าวว่า เป็นผู้เลิศในสหัสสธาโลกธาตุประมาณ เท่านั้น ถึงกระนั้นท้าวมหาพรหมก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวก ผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสหัสสธาโลกธาตุนั้น เมื่อเบื่อหน่าย ในสหัสสธาโลกธาตุนั้น ก็คลายกำหนัดในความเป็นท้าวมหาพรหมซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๒) สมัยที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกพินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมบังเกิดในพรหมโลกชั้น อาภัสสระโดยมาก สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้บังเกิดด้วยอำนาจฌาน มีปีติเป็นภักษา มี รัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศ มีปกติดำรงอยู่ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น อาภัสสระนั้นตลอดกาลช้านาน เมื่อโลกพินาศอยู่ อาภัสสรพรหมทั้งหลาย อันชาว โลกกล่าวว่า เป็นผู้เลิศ ถึงกระนั้นอาภัสสรพรหมทั้งหลายก็ยังมีความแปร มีความ แปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในพรหมโลกชั้น อาภัสสระนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในพรหมโลกชั้นอาภัสสระนั้น ก็คลายกำหนัดในความ เป็นอาภัสสรพรหมซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๓) @เชิงอรรถ : @ ความแปร (อัญญถัตตะ) ในที่นี้หมายถึงความเปลี่ยนกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม ได้แก่ชรา @(องฺ.ติก.อ. ๒/๔๗/๑๕๔) @ ความแปรผัน (วิปริณามะ) ในที่นี้หมายถึงความตาย (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๙/๓๓๘) @ สหัสสธาโลกธาตุ ในที่นี้หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐ จักรวาล ดูอังคุตตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ @ข้อ ๘๑ หน้า ๓๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร

บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการนี้ บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ ๒. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอาโปกสิณ ... ๓. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดเตโชกสิณ ... ๔. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวาโยกสิณ ... ๕. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดนีลกสิณ ... ๖. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปีตกสิณ ... ๗. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณ ... ๘. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณ ... ๙. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอากาสกสิณ ... ๑๐. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการนี้แล บรรดาบ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการนี้ วิญญาณกสิณ เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณที่บุคคลหนึ่งรู้ชัดนี้ เป็นเลิศ สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญา อย่างนี้แลมีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัญญา อย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในบ่อเกิดแห่งกสิณนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในบ่อเกิด แห่งกสิณนั้น ก็คลายกำหนัดแม้ในวิญญาณกสิณที่เลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงกสิณที่ ด้อยกว่า (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร

อภิภายตนะ ๘ ประการ๑-
ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้ อภิภายตนะ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒- เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือ ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น อภิภายตนะที่ ๑ ๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือ ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น อภิภายตนะที่ ๒ ๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๓- เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือ ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น อภิภายตนะที่ ๓ ๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือ ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น อภิภายตนะที่ ๔ ๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว @เชิงอรรถ : @ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และ @อารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ และชื่อว่า อายตนะ @เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย เพราะเป็นมนายตนะและธัมมายตนะ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒, ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๔) @ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน ที่ยังไม่ถึงอัปปนา @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐) @ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงปราศจากการบริกรรมในรูปภายใน เพราะไม่ให้รูปสัญญาเกิดขึ้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร

เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง พาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้งสองด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วย ของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสี เขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้ เป็นอภิภายตนะที่ ๕ ๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือนดอกกรรณิกา ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือ เปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้งสองด้านที่เหลือง มี สีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูป สัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๖ ๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบ ด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือนดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบ ด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อ ละเอียดทั้งสองด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปภายนอก ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๗ ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบ ด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือนดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง พาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้งสองด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร

มีสีขาวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำ รูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๘ ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาอภิภายตนะ ๘ ประการนี้ อภิภายตนะที่ ๘ คือ บุคคล หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นเลิศ สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัญญา อย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในอภิภายตนะนั้น เมื่อเบื่อหน่ายแม้ในอภิภายตนะนั้น ก็คลายกำหนัด ในอภิภายตนะซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๕)
ปฏิปทา ๔ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า) ๒. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว) ๓. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า) ๔. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว) ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา นี้เป็นเลิศ สัตว์ ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติอย่างนี้ก็ยังมีความแปร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร

มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในปฏิปทานั้น เมื่อเบื่อหน่ายในปฏิปทานั้น ก็คลายกำหนัดในปฏิปทาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูด ถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๖)
สัญญา ๔ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้ สัญญา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปริตตารมณ์๑- ๒. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดมหัคคตารมณ์๒- ๓. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอัปปมาณารมณ์๓- ๔. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอากิญจัญญายตนฌาน๔- ว่า ‘ไม่มีอะไร’ ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้แล บรรดาสัญญา ๔ ประการนี้ อากิญจัญญายตนฌานที่บุคคลหนึ่งรู้ชัดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นเลิศ สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ ทั้งหลายผู้มีสัญญาอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญานั้น เมื่อเบื่อหน่ายในสัญญานั้น ก็คลาย กำหนัดแม้ในสัญญาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๗) @เชิงอรรถ : @ ปริตตารมณ์ หมายถึงอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ยังไม่ได้ขยายให้กว้างออกไป มีขนาดเพียงเท่ากระด้ง @หรือถ้วยชาม (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๓) หรือหมายถึงธรรมชั้นกามาวจร @ดูอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีแปล เล่มที่ ๓๔ ข้อ ๑๐๒๖-๑๐๒๙, ๑๔๑๗ หน้า ๒๖๔-๒๖๕, ๓๔๙ @ มหัคคตารมณ์ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่ม @กิเลสได้และเพราะเป็นอารมณ์ที่สืบต่อกันมานาน และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่ @(อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) @ อัปปมาณารมณ์ หมายถึงอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑, @องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๔) หรือหมายถึงธรรมชั้นโลกุตตระ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ @ดูอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีแปล เล่มที่ ๓๔ ข้อ ๑๐๒๘ หน้า ๒๖๕ ข้อ ๑๔๑๙ หน้า ๓๕๐ @ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๖ (สมาธิสูตร) หน้า ๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร

บรรดาวาทะนอกศาสนา วาทะว่า ‘ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว อัตภาพนี้ก็ไม่พึงมี แก่เรา ถ้าเราจักไม่มี ความกังวลอะไรจักไม่มีแก่เรา’ นี้เป็นเลิศ บุคคลผู้มีวาทะ อย่างนี้ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ความที่ใจไม่ชอบในภพจักไม่มีแก่เขา และความที่ใจชอบ ในความดับภพ จักไม่มีแก่เขา สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้ สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวาทะนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในวาทะนั้น ก็ คลายกำหนัดในวาทะซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๘) สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความหมดจดในสัตว์ชั้นสูงสุดมีอยู่ บุคคลผู้ที่ ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้เลิศกว่าสมณพราหมณ์ผู้บัญญัติความหมดจดในสัตว์ชั้นสูงสุด สมณพราหมณ์เหล่านั้น รู้ยิ่งแล้วซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อทำให้แจ้งซึ่งเนว- สัญญานาสัญญายตนฌานนั้น สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้ สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เมื่อ เบื่อหน่ายในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ก็คลายกำหนัดในเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๙) ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบัน มีอยู่ ความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง นี้เลิศกว่าสมณ- พราหมณ์ผู้บัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบัน สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อม กล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ ด้วยคำไม่จริง คำเปล่า คำเท็จ คำไม่เป็น จริงว่า ‘พระสมณโคดมไม่บัญญัติการกำหนดรู้กาม รูป และเวทนาทั้งหลาย’ ภิกษุ ทั้งหลาย เราบัญญัติการกำหนดรู้กาม รูป และเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้ปราศจาก ตัณหาและมิจฉาทิฏฐิแล้ว ดับแล้ว เยือกเย็นแล้ว จึงบัญญัติอนุปาทาปรินิพพานใน ปัจจุบัน (๑๐)
ปฐมโกสลสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๗๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๖๘-๗๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=1448&Z=1589                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=29              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=29&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7604              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=29&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7604                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.029.than.html https://suttacentral.net/an10.29/en/sujato https://suttacentral.net/an10.29/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :