ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๔. มหาจุนทสูตร
ว่าด้วยพระมหาจุนทะ
[๒๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่สหชาติวัน แคว้นเจตี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่า นั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาจุนทะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ความปรารถนาอัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๔. มหาจุนทสูตร

ชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่ โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความ ปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้” ภิกษุเมื่อกล่าวอวดการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำ ภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ ภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา อันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้” ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็น ธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญา อันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา อันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัด อย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้ ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้” เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนยากจนแต่กล่าวอวดว่ามั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์แต่ กล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะแต่กล่าวอวดว่ามีโภคะ เขาเมื่อมีกิจจำเป็น ต้องใช้ทรัพย์สักอย่างเกิดขึ้นก็ไม่อาจนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่าย ได้ คนทั้งหลายก็จะพึงรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นคนยากจนแต่กล่าวอวดว่ามั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์แต่กล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะแต่กล่าวอวดว่ามีโภคะ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๔. มหาจุนทสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้เมื่อมีกิจจำเป็นต้องใช้ทรัพย์สักอย่างเกิดขึ้นก็ไม่ อาจนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิต อันเจริญแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยา อันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้า ครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิด แก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้” ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้” หาก โลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำ ภิกษุนั้นไม่ได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิด แก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่ โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความ ริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความ ปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้” ภิกษุเมื่อกล่าวอวดการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำ ภิกษุนั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้า ครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๔. มหาจุนทสูตร

ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็น ธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญา อันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา อันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อม รู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้” เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนมั่งมีจริง กล่าวอวดว่ามั่งมี เป็นคนมีทรัพย์จริง กล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนมีโภคะจริง กล่าวอวดว่ามีโภคะ เขาเมื่อมีกิจจำเป็นต้อง ใช้ทรัพย์สักอย่างเกิดขึ้นก็อาจนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่ายได้ คน ทั้งหลายพึงรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นคนมั่งมีจริง จึงกล่าวอวดว่ามั่งมี เป็นคน มีทรัพย์จริง จึงกล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนมีโภคะจริง จึงกล่าวอวดว่ามีโภคะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้เมื่อมีกิจจำเป็นต้องใช้ทรัพย์สักอย่างเกิดขึ้นก็ สามารถนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่ายได้” ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอัน เจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุ นั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ คนก็จะพึงรู้ ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา อันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่ว จึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ ไม่ได้” อย่างนี้แล
มหาจุนทสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๕๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๕๒-๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=1062&Z=1157                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=24              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=24&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7482              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=24&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7482                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.024.than.html https://suttacentral.net/an10.24/en/sujato https://suttacentral.net/an10.24/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :