ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๙. สันธสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระสันธะ
[๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ในนาทิกคาม ครั้งนั้นแล ท่านพระสันธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านดังนี้ว่า สันธะ เธอจงเพ่ง๑- อย่างการเพ่งของม้าอาชาไนย๒- เท่านั้น อย่าเพ่งอย่างการ เพ่งของม้ากระจอก การเพ่งของม้ากระจอก เป็นอย่างไร คือ ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า ‘ข้าว เหนียว ข้าวเหนียว’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอกที่ถูกเขาผูกไว้ใกล้ราง @เชิงอรรถ : @ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงคิด (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๙/๓๘๒) @ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงม้าที่ @สามารถรู้สิ่งที่คนฝึกม้าฝึกให้ทำได้เร็ว (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร

ข้าวเหนียวไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจะให้เราทำเหตุอะไรหนอ เราจะทำอะไรตอบแทนเขา’ ม้ากระจอกนั้นถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวจึงเพ่งว่า ‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ ฉันใด บุรุษกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี มีจิตถูกกามราคะ(ความกำหนัดในกาม)กลุ้มรุม ถูกกามราคะ ครอบงำอยู่ ไม่รู้วิธีสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เขาจึงทำกามราคะ เท่านั้นไว้ภายในแล้วเพ่ง เพ่งทั่วถึง เพ่งเป็นนิตย์๑- เพ่งลงต่ำ มีจิตถูกพยาบาท(ความ คิดร้าย)กลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ ... มีจิตถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) กลุ้มรุม ... มีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)กลุ้มรุม ... มีจิตถูก วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้วิธีสลัดวิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เขาจึงทำวิจิกิจฉาเท่านั้นไว้ภายในแล้วเพ่ง เพ่งอย่างทั่วถึง เพ่งเป็นนิตย์ เพ่งลงต่ำ เขาอาศัยธาตุดินเพ่งบ้าง อาศัยธาตุน้ำเพ่งบ้าง อาศัยธาตุไฟ เพ่งบ้าง อาศัยธาตุลมเพ่งบ้าง อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัย วิญญาณัญจายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัย เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง อาศัยโลกหน้าเพ่งบ้าง อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจบ้าง สันธะ การเพ่งของบุรุษผู้กระจอกย่อมเป็นไปได้ อย่างนี้แล การเพ่งของม้าอาชาไนย เป็นอย่างไร คือ ธรรมดาว่าม้าอาชาไนยที่ดีที่ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวย่อมไม่เพ่งว่า ‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่ดีที่ถูกเขาผูกไว้ ใกล้รางข้าวเหนียวมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจะให้เราทำอะไรหนอ เราจะทำอะไรตอบแทนเขา’ ม้าอาชาไนยนั้นถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวไม่เพ่งว่า @เชิงอรรถ : @ เพ่งทั่วถึง เพ่งเป็นนิตย์ หมายถึงเพ่งฌานต่างๆ อย่างทั่วถึง หรือเพ่งต่อเนื่องไม่ขาดตอน @(องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๙/๓๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร

‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ เพราะม้าอาชาไนยที่ดีย่อมพิจารณาเห็นการถูกประตักแทง เหมือนคนเป็นหนี้คิดถึงหนี้ เหมือนคนถูกจองจำมองเห็นการจองจำ เหมือนคน เสื่อมทรัพย์นึกถึงความเสื่อมทรัพย์ เหมือนคนมีความผิดเล็งเห็นความผิด ฉันใด บุรุษอาชาไนยผู้เจริญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง ก็ดี ไม่มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำอยู่ รู้วิธีที่จะสลัดกามราคะ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ไม่มีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกถีนมิทธะ กลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูก วิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และรู้วิธีที่จะสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุรุษอาชาไนยนั้นย่อมไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัยธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง ไม่อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตน- ฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่ย่อมเพ่ง๑- สันธะ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ย่อมนอบน้อม บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสันธะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งย่อมเพ่งอย่างไร คือ บุรุษอาชาไนยนั้น ไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัยธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง ไม่ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงเพ่งด้วยผลสมาบัติ มีนิพพานเป็นอารมณ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๙/๓๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร

อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตน- ฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่ ย่อมเพ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สันธะ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญมีสัญญาในธาตุดินว่า เป็นธาตุดินแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาใน ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในธาตุลมว่าเป็นธาตุลมแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้แจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในโลกหน้าว่าเป็น โลกหน้าแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแจ่มแจ้งแล้ว สันธะ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญมีปกติเพ่งอย่างนี้แล ไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัย ธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง ไม่อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌาน เพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร

ไม่อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่ แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่ย่อมเพ่ง สันธะ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ย่อมนอบน้อม บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
สันธสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๐๒-๔๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=205              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=7812&Z=7904                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=216              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=216&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8566              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=216&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8566                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i208-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an11/an11.010.than.html https://suttacentral.net/an11.9/en/sujato https://suttacentral.net/an11.9/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :