ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๗. ปฐมสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๑
[๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี สัญญา(ความจำได้หมายรู้)ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน๑- ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ใน ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น อากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตน- ฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็น โลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ๒- ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒,๓,๔ ข้อ ๖ (สมาธิสูตร) หน้า ๙ ในเล่มนี้ @ อารมณ์ที่ได้ทราบ ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ ๓ คือ คันธารมณ์(กลิ่น) รสารมณ์(รส) โผฏฐัพพารมณ์ @(การสัมผัส) (อภิ.สงฺ.อ. ๙๖๖/๓๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๗. ปฐมสัญญาสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี สัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌาน ว่าเป็นอากาสานัญจายตน- ฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตน- ฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้ สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ใน ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น อากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ใน อากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตน- ฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่า เป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญาอย่าง นี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลส ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน๑- อานนท์ มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ใน ธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ใน อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน- ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ใน โลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียง @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖ (สมาธิสูตร) หน้า ๑๐ ในเล่มนี้ @ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๗. ปฐมสัญญาสูตร

ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปหาท่าน พระสารีบุตรถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดิน ว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่ รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี สัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” “ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดิน ว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” “ท่านอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความ สิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ท่านอานนท์ มีได้ อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาแม้ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา” “ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับ พยัญชนะของพระศาสดาและพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ใน บทอันเลิศ๑- ท่านผู้มีอายุ เมื่อสักครู่นี้ ผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อ @เชิงอรรถ : @ บทอันเลิศ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๗-๘/๓๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๘. มนสิการสูตร

ความนี้แล้ว แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบเนื้อความนี้แก่ผม ด้วยบทเหล่านี้ ด้วย พยัญชนะเหล่านี้ เหมือนที่ท่านสารีบุตรตอบ ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดาและพระสาวก เปรียบ เทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทอันเลิศนี้”
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๙๘-๔๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=203              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=7704&Z=7773                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=214              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=214&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8561              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=214&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8561                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i208-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an11.7/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :