ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร

๒. เจตนากรณียสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ
[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา๑- บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่ บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่ บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบ เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุขมีจิต เป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่ บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่าย’ การที่ บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้เบื่อหน่ายไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงคลายกำหนัด’ การที่บุคคลผู้เบื่อ หน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา บุคคลผู้คลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะ’ การที่บุคคลผู้คลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒ (เจตนากรณียสูตร) ทสกนิบาต หน้า ๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๓. ปฐมอุปนิสาสูตร

วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาเป็นผล มี นิพพิทาเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็น อานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติ เป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็น กุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น๑- อย่างนี้แล
เจตนากรณียสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปฐมอุปนิสาสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๑
[๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มี อวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มี ปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก ขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ สัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะของบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒ (เจตนากรณียสูตร) หน้า ๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๙๑-๓๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=198              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=7567&Z=7602                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=209              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=209&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=209&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i208-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an11/an11.002.than.html https://suttacentral.net/an11.2/en/sujato https://suttacentral.net/an11.2/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :