ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

๒. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมทั่วไป
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๑๐ ประการ
[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ ๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ ๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๑๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

๖. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ๗. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๑)
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๒๐ ประการ
[๒๒๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ๓. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๔. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ๕. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๖. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ๗. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๘. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ๙. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ๑๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๑๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

๑๓. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ ๑๕. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๑๖. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๑๗. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท ๑๙. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๒๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๕. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๖. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๗. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๘. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ๙. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

๑๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ๑๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑๕. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๑๖. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๑๗. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท ๑๙. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๒)
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๓๐ ประการ
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์ ๔. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๕. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ๖. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

๗. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๘. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ๙. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม ๑๐. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๑๑. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ๑๒. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ ๑๓. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ๑๕. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด ๑๖. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๑๗. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ๑๘. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ ๑๙. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ ๒๑. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ ๒๒. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒๓. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒๔. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒๕. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท ๒๗. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท ๒๘. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๒๙. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๓๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๔. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๕. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๖. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๗. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๘. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๙. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑๐. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๑๑. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑๒. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑๕. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑๖. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ๑๗. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑๘. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑๙. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒๑. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒๒. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

๒๓. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒๔. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๒๕. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท ๒๗. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท ๒๘. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ ๒๙. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๓)
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๔๐ ประการ
[๒๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์ ๔. สรรเสริญการฆ่าสัตว์ ๕. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๖. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ๗. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์ ๘. สรรเสริญการลักทรัพย์ ๙. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

๑๑. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม ๑๒. สรรเสริญการประพฤติผิดในกาม ๑๓. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ๑๕. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ ๑๖. สรรเสริญการพูดเท็จ ๑๗. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ๑๙. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด ๒๐. สรรเสริญการพูดส่อเสียด ๒๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๒๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ๒๓. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ ๒๔. สรรเสริญการพูดคำหยาบ ๒๕. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ ๒๗. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ ๒๘. สรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ ๒๙. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓๐. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓๑. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓๒. สรรเสริญความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓๓. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๓๔. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

๓๕. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท ๓๖. สรรเสริญความมีจิตพยาบาท ๓๗. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๓๘. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๓๙. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๔๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๔. สรรเสริญการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๕. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๖. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๗. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๘. สรรเสริญการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๙. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑๑. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑๒. สรรเสริญการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑๕. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑๖. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑๗. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑๙. เป็นผู้พอใจในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๒๐. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๒๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ๒๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๒๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๒๔. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๒๕. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒๗. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒๘. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๒๙. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓๐. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓๑. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓๒. สรรเสริญความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๓๓. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๓๔. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท ๓๕. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท ๓๖. สรรเสริญความมีจิตไม่พยาบาท ๓๗. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ ๓๘. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ๓๙. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ ๔๐. สรรเสริญความเป็นสัมมาทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๔)
ธรรมที่ให้ถูกกำจัด และที่ไม่ให้ถูกกำจัด
[๒๒๕-๒๒๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ ถูกกำจัด ถูกทำลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ ถูกกำจัด ถูกทำลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ ถูกกำจัด ถูกทำลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย (๕-๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

ธรรมที่ให้เกิดในอบาย และที่ให้เกิดในสวรรค์
[๒๒๙-๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขา จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขา จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว เขาจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขา จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๙-๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๘๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

ธรรมที่ให้ทราบว่าเป็นพาล และที่ให้ทราบว่าเป็นบัณฑิต
[๒๓๓-๒๓๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นพาล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นพาล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. สามัญญวรรค

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นพาล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นพาล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต (๑๓-๑๖)
สามัญญวรรคที่ ๒ จบ
(พึงทราบการนับสูตรในวรรคที่ ๔ และที่ ๕ นี้ ตามที่ ฯลฯ ไว้) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๘๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

ราคเปยยาล

ราคเปยยาล
[๒๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด) ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา) ๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ๑๐. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑) [๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนิจจสัญญา ๒. อนัตตสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

ราคเปยยาล

๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๕. อัฏฐิกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือ กระดูกท่อน) ๖. ปุฬุวกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด) ๗. วินีลกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่างๆ) ๘. วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ แตกปริออก) ๙. วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน) ๑๐. อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒) [๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓) [๒๔๐-๒๖๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อกำหนดรู้ราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๘๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

ราคเปยยาล

... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ ... เพื่อความดับไปแห่งราคะ ... เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืนราคะ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ (๔-๓๐) [๒๖๗-๗๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความสละโทสะ ... เพื่อความสละคืนโทสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๘๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

ราคเปยยาล

... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเฐยยะ(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ (ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ ... (๓๑-๕๑๐)
ราคเปยยาล จบ
ปัญจมปัณณาสก์ จบ
ทสกนิบาต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๘๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๖๙-๓๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=196              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=7256&Z=7520                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=198              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=198&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8550              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=198&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8550                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i198-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i198-02-e.php# https://suttacentral.net/an10.221/en/sujato https://suttacentral.net/an10.222/en/sujato https://suttacentral.net/an10.223/en/sujato https://suttacentral.net/an10.224/en/sujato https://suttacentral.net/an10.225-228/en/sujato https://suttacentral.net/an10.229-232/en/sujato https://suttacentral.net/an10.233-236/en/sujato https://suttacentral.net/an10.237/en/sujato https://suttacentral.net/an10.237/en/bodhi https://suttacentral.net/an10.238/en/sujato https://suttacentral.net/an10.238/en/bodhi https://suttacentral.net/an10.239/en/sujato https://suttacentral.net/an10.239/en/bodhi https://suttacentral.net/an10.240-266/en/sujato https://suttacentral.net/an10.240-266/en/bodhi https://suttacentral.net/an10.267-746/en/sujato https://suttacentral.net/an10.267-746/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :