ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๘. กัมมนิทานสูตร

๘. กัมมนิทานสูตร
ว่าด้วยต้นเหตุแห่งกรรม
[๑๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต เรากล่าวว่า มี ๓ อย่างคือ ๑. ปาณาติบาตมีโลภะเป็นเหตุ ๒. ปาณาติบาตมีโทสะเป็นเหตุ ๓. ปาณาติบาตมีโมหะเป็นเหตุ อทินนาทาน เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ ๑. อทินนาทานมีโลภะเป็นเหตุ ๒. อทินนาทานมีโทสะเป็นเหตุ ๓. อทินนาทานมีโมหะเป็นเหตุ กาเมสุมิจฉาจาร เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ ๑. กาเมสุมิจฉาจารมีโลภะเป็นเหตุ ๒. กาเมสุมิจฉาจารมีโทสะเป็นเหตุ ๓. กาเมสุมิจฉาจารมีโมหะเป็นเหตุ มุสาวาท เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ ๑. มุสาวาทมีโลภะเป็นเหตุ ๒. มุสาวาทมีโทสะเป็นเหตุ ๓. มุสาวาทมีโมหะเป็นเหตุ ปิสุณาวาจา เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ปิสุณาวาจามีโลภะเป็นเหตุ ๒. ปิสุณาวาจามีโทสะเป็นเหตุ ๓. ปิสุณาวาจามีโมหะเป็นเหตุ ผรุสวาจา เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ ๑. ผรุสวาจามีโลภะเป็นเหตุ ๒. ผรุสวาจามีโทสะเป็นเหตุ ๓. ผรุสวาจามีโมหะเป็นเหตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๘. กัมมนิทานสูตร

สัมผัปปลาปะ เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ ๑. สัมผัปปลาปะมีโลภะเป็นเหตุ ๒. สัมผัปปลาปะมีโทสะเป็นเหตุ ๓. สัมผัปปลาปะมีโมหะเป็นเหตุ อภิชฌา เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ ๑. อภิชฌามีโลภะเป็นเหตุ ๒. อภิชฌามีโทสะเป็นเหตุ ๓. อภิชฌามีโมหะเป็นเหตุ พยาบาท เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ ๑. พยาบาทมีโลภะเป็นเหตุ ๒. พยาบาทมีโทสะเป็นเหตุ ๓. พยาบาทมีโมหะเป็นเหตุ มิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิมีโลภะเป็นเหตุ ๒. มิจฉาทิฏฐิมีโทสะเป็นเหตุ ๓. มิจฉาทิฏฐิมีโมหะเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย โลภะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม โทสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม โมหะ เป็นเหตุเกิดแห่งกรรม เพราะโลภะสิ้นไป เหตุเกิดแห่งกรรมจึงสิ้นไป เพราะโทสะสิ้นไป เหตุเกิดแห่งกรรมจึงสิ้นไป เพราะโมหะสิ้นไป เหตุเกิดแห่งกรรมจึงสิ้นไป
กัมมนิทานสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๑๖-๓๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=161              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=6237&Z=6258                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=163              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=163&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8472              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=163&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8472                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i156-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an10.174/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :