ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๒. ทุติยอธัมมสูตร

๒. ทุติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๒
[๑๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย นี้ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ เต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๓. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่ เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๔. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัย นี้ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ เต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๕. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่ เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. ปัจโจโรหณิวรรค ๒. ทุติยอธัมมสูตร

๖. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวายามะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย นี้ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ เต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๗. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล- ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมา- สติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๘. มิจฉาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ สัมมาสมาธิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๙. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาญาณะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่ เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ทุติยอธัมมสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๖๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=112              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=5166&Z=5217                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=114              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=114&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8423              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=114&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8423                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i113-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an10.114/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :