ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๓. ปฐมหัตถกสูตร

๓. ปฐมหัตถกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของหัตถกอุบาสก สูตรที่ ๑
[๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ กรุงอาฬวี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสก๑- ชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล๒- ๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ ๗. เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้แล” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธ- อาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ครั้นเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ต่อมา หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้กล่าวกับหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ @เชิงอรรถ : @ หัตถกอุบาสก หมายถึงอุบาสกที่เป็นพระราชกุมารที่พระผู้มีพระภาคทรงรับจากมือของอาฬวกยักษ์ด้วย @พระหัตถ์ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๓/๒๔๖) @ ศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ และศีล ๑๐ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๓/๒๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๓. ปฐมหัตถกสูตร

ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล ๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ ๗. เป็นผู้มีปัญญา ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้แล” หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีถามว่า “ท่านผู้เจริญ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มี ในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้บ้างเลยหรือ” ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ผู้มีอายุ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มี พระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย” หัตถกอุบาสกกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ดีจริง คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีใน ตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย” ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ลุกจากอาสนะแล้วจากไป กลับจากบิณฑบาตแล้ว หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ต่อมา หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ได้เข้ามาหาข้าพระองค์ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้กล่าวกับหัตถก- อุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า ‘ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็น ผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๓. ปฐมหัตถกสูตร

ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล ๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ ๗. เป็นผู้มีปัญญา ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้’ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีได้กล่าวกับ ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มี พระภาคทรงพยากรณ์นี้บ้างเลยหรือ’ ข้าพระองค์ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ คฤหัสถ์ผู้นุ่ง ผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้’ เขาตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ ดีจริง คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรนั้นเป็นผู้มักน้อย ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงทรงจำหัตถก- อุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏนี้ คือ ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน เพราะความเป็นผู้มักนัอย”๑-
ปฐมหัตถกสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ คำว่า “ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน เพราะความเป็นผู้มักน้อย” นี้เป็นธรรมที่น่า @อัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ที่ตรัสเพิ่มเติมภายหลัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=96              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=4427&Z=4474                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=113              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=113&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5523              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=113&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5523                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i111-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.023.than.html https://suttacentral.net/an8.23/en/sujato https://suttacentral.net/an8.23/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :