ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๔. อัสสขฬุงกสูตร

๔. อัสสขฬุงกสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๘ จำพวก และโทษของม้า กระจอก ๘ ประการ คนกระจอก ๘ จำพวก และโทษของคนกระจอก ๘ ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ม้ากระจอก ๘ จำพวก และโทษของม้ากระจอก ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย ประตัก๑- เตือนอยู่ ย่อมถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง ม้ากระจอก บางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๑ ๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย ประตักเตือนอยู่ ย่อมหกหลัง ดัดทูบให้หัก ม้ากระจอกบางตัวใน โลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๒ ๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย ประตักเตือนอยู่ ย่อมยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ม้ากระจอก บางตัวในโลกนี้เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๓ ๔. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย ประตักเตือนอยู่ ย่อมเดินผิดทาง๒- ทำให้รถไปผิดทาง ม้ากระจอก บางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๔ ๕. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย ประตักเตือนอยู่ ย่อมเชิดกายส่วนหน้า เผ่นขึ้นไป ม้ากระจอกบาง ตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๕ @เชิงอรรถ : @ ประตัก หมายถึงไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์พาหนะ เช่น วัว (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน @พ.ศ. ๒๕๒๕) @ ทำให้รถไปผิดทาง หมายถึงลากรถขึ้นเนิน หรือเข้าพงหนาม (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๔/๒๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๔. อัสสขฬุงกสูตร

๖. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย ประตักเตือนอยู่ (ไม่คำนึงถึงนายสารถี) ไม่คำนึงถึงประตัก กัด บังเหียน๑- หลีกไปตามความประสงค์ ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๖ ๗. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย ประตักเตือนอยู่ ไม่ก้าวไป ไม่ถอยหลัง ยืนทื่ออยู่เหมือนเสาเขื่อน ณ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็น โทษของม้ากระจอกประการที่ ๗ ๘. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย ประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้าและเท้าหลังลงหมอบทับเท้าทั้ง ๔ อยู่ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็น โทษของม้ากระจอกประการที่ ๘ ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๘ จำพวก และโทษของม้ากระจอก ๘ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๘ จำพวก และโทษของคนกระจอก ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวก ภิกษุโจทด้วยอาบัตินั้น ย่อมอำพรางอาบัติไว้ เพราะระลึกไม่ได้ว่า ‘ผมระลึกไม่ได้ ผมระลึกไม่ได้’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่า เหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตัก เตือนอยู่ ก็ถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง ฉะนั้น คนกระจอกบางคน ในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย อาบัตินั้น โต้ตอบภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่า ‘การกล่าวของท่านผู้เป็น คนพาล ไม่เฉียบแหลม จะมีประโยชน์อะไรเล่า ท่านเองย่อมเข้าใจ @เชิงอรรถ : @ บังเหียน หมายถึงเครื่องบังคับม้าทำด้วยเหล็ก หรือไม้ใส่ผ่าปากม้า (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๔/๒๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๔. อัสสขฬุงกสูตร

สิ่งที่ควรพูด’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอก ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ก็หกหลัง ดัดทูบให้หัก ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๒ ๓. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย อาบัตินั้น กลับยกอาบัติขึ้นปรับภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่า ‘ท่านเองก็ต้อง อาบัติชื่อนี้ ท่านจงทำคืนเสียก่อน’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตัก เตือนอยู่ ก็ยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ฉะนั้น คนกระจอก บางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอก ประการที่ ๓ ๔. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย อาบัตินั้น พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอก ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ก็เดิน ผิดทาง ทำให้รถไปผิดทาง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัย นี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๔ ๕. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย อาบัตินั้น กลับแกว่งแขนในท่ามกลางสงฆ์ เรากล่าวเปรียบบุคคล ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง ด้วยประตักเตือนอยู่ เชิดกายด้านหน้า เผ่นขึ้นไป ฉะนั้น คนกระจอก บางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอก ประการที่ ๕ ๖. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจท ด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อภิกษุผู้เป็นโจทก์ ทั้งที่มี อาบัติติดตัวอยู่ ก็หลีกไปตามความประสงค์ เรากล่าวเปรียบบุคคล ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๔. อัสสขฬุงกสูตร

ด้วยประตักเตือนอยู่ ก็ไม่คำนึงถึงนายสารถี ไม่คำนึงถึงประตัก กัดบังเหียน หลีกไปตามประสงค์ ฉะนั้น คนกระจอกบางคนใน ธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๖ ๗. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย อาบัตินั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมไม่ได้ต้องอาบัติเลย ผมไม่ได้ต้อง อาบัติเลย’ เธอใช้ความนิ่งทำให้สงฆ์ลำบาก เรากล่าวเปรียบบุคคล ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง ด้วยประตักเตือนอยู่ ก็ไม่ก้าวไป ไม่ถอยกลับ ยืนทื่ออยู่เหมือน เสาเขื่อน ณ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรม วินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๗ ๘. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย อาบัตินั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทำไมหนอ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จึงพยายามกล่าวหาผมนัก เอาละ ผมจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น คฤหัสถ์’ เธอบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์แล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายโปรดเบาใจเถิด’ เรากล่าวเปรียบ บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้าและเท้าหลังลงหมอบทับเท้า ทั้ง ๔ อยู่ที่ตรงนั้นนั่นเอง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๘ ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๘ จำพวก และโทษของคนกระจอก ๘ ประการนี้แล
อัสสขฬุงกสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๔๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๓๗-๒๔๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=87              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=3897&Z=3982                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=104              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=104&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5335              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=104&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5335                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i101-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.014.than.html https://suttacentral.net/an8.14/en/sujato https://suttacentral.net/an8.14/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :