ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๗. อุคคสูตร

๗. อุคคสูตร
ว่าด้วยมหาอำมาตย์ชื่ออุคคะ
[๗] ครั้งนั้น ราชมหาอำมาตย์ชื่ออุคคะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑- ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มิคารเศรษฐีผู้เป็น หลานของโรหณเศรษฐีนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มากถึงเพียงนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุคคะ มิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานของโรหณเศรษฐี เป็นผู้มั่งคั่งเพียงไร มีทรัพย์มากเท่าไร มีโภคทรัพย์มากเท่าไร” อุคคมหาอำมาตย์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เขามีทองแสนหนึ่ง ไม่จำ ต้องกล่าวถึงเงิน”๒- พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุคคะ ทรัพย์นั้นมีอยู่จริง เรามิได้กล่าวว่า ทรัพย์นั้น ไม่มี แต่ทรัพย์นั้นแลเป็นของทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร และทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก อุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล เป็นของไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร และ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาธนะ ๒. สีลธนะ ๓. หิริธนะ ๔. โอตตัปปธนะ ๕. สุตธนะ ๖. จาคธนะ ๗. ปัญญาธนะ อุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล เป็นของไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร และ ทายาทผู้ไม่ที่เป็นรัก @เชิงอรรถ : @ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป @(๓) อยู่เหนือลม (๔) อยู่สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) @ เงิน ในที่นี้หมายถึงเครื่องเงิน เช่น ถ้วย โถ โอ ชาม ขันน้ำ และเครื่องปูลาด เป็นต้น @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๗/๑๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๘. สัญโญชนสูตร

ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ ผู้นั้นแลเป็นคนมีทรัพย์มาก ใครๆ ไม่พึงชนะได้ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม
อุคคสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๓-๑๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=136&Z=157                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=7              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=7&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3558              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=7&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3558                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i001-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.007.than.html https://suttacentral.net/an7.7/en/sujato https://suttacentral.net/an7.7/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :