ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๖. กิมิลสูตร

๖. กิมิลสูตร
ว่าด้วยพระกิมิละ๑-
[๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตกรุงกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระ กิมิละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรง อยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา ๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม ๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ ๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา ๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสมาธิ ๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท ๗. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร กิมิละ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นาน ในเมื่อตถาคต ปรินิพพานแล้ว” ท่านพระกิมิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น ปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๔๐/๔๙๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖. อัพยากตวรรค ๗. สัตตธัมมสูตร

๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา ๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม ๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์ ๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา ๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสมาธิ ๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท ๗. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร กิมิละ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต ปรินิพพานแล้ว”
กิมิลสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๑๔-๑๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=56              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=1844&Z=1862                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=56              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=56&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=56&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i051-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.056.than.html https://suttacentral.net/an7.59/en/sujato https://suttacentral.net/an7.59/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :