ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๑๐. ตปุสสสูตร

๑๐. ตปุสสสูตร
ว่าด้วยตปุสสคหบดี
[๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ ชื่อว่า อุรุเวลกัปปะ แคว้นมัลละ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิคมชื่ออุรุเวลกัปปะเพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต หลังจากเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่าน พระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงรออยู่ที่นี้ก่อน จนกว่าเราจะไปถึงป่ามหาวัน เพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินไปถึงป่ามหาวันแล้ว จึงประทับนั่งพัก ผ่อนกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้นแล ตปุสสคหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทท่านพระ อานนท์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระอานนท์ ผู้เจริญ พวกกระผมเป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม เนกขัมมะ๑- จึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้ ทราบมาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่มๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น ในเนกขัมมะ หลุดพ้น๒- เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี มีเหตุแห่งถ้อยคำที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด คหบดี เราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จักกราบทูล @เชิงอรรถ : @ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงการบรรพชา (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๑/๓๑๔) @ หลุดพ้น ในที่นี้หมายถึงหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๑/๓๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๑๐. ตปุสสสูตร

เนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค จักทรงจำเนื้อความตามที่พระผู้มีพระภาคจะทรงตอบ แก่พวกเรา” ตปุสสคหบดีรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยตปุสสคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตปุสสคหบดีนี้ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิง ในกาม เนกขัมมะจึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกาม เป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้ทราบ มาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่มๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน เนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ แม้เราเองก่อนจะตรัสรู้ ยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั่นแล ได้มีความดำริดังนี้ว่า ‘เนกขัมมะเป็นความดี ความสงบเป็นความดี’ จิตของเรานั้น ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เรานั้นจึง มีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เราจึงมี ความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในกามทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก และอานิสงส์ ในเนกขัมมะเรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะ นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ต่อมา เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพ อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๑๐. ตปุสสสูตร

เห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ อานนท์ เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขก็เพียงเพื่อความกดดัน๑- ฉันใด สัญญาและมนสิการที่ประกอบ ด้วยกามย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ จิตของเรานั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เรานั้นจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษใน วิตกเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตกเรายังไม่ได้ บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน ทุติยฌานที่ไม่มีวิตก ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมี ความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในวิตกแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌาน ที่ไม่มีวิตกแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ ต่อมา เราได้เห็นโทษในวิตกแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตกแล้ว เสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เมื่อเรา อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความ กดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญา- มนสิการที่ประกอบด้วยวิตกย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูความหมายในเชิงอรรถที่ ๑ นวกนิบาต ข้อ ๓๔ (นิพพานสุขสูตร) หน้า ๕๐๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๑๐. ตปุสสสูตร

อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัม- ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในปีติเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำ ให้มาก อานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติ เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเรา จึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในปีติแล้ว ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา เห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในปีติแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน ตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เพราะปีติจางคลายไป เราจึงบรรลุตติยฌาน ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติ ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว มีสติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เราจึง มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๑๐. ตปุสสสูตร

ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอุเบกขาและสุข เรายังไม่ได้เห็น และไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข เรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌาน นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ ที่จิตของเราพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้ว ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา- มนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย อุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญา จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความ ดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ในอากาสานัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน- ฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในรูปทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ ทำให้มาก อานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๑๐. ตปุสสสูตร

เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมี ความดำริดังนี้ว่า ถ้าเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน- ฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น ในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน นั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เมื่อเราอยู่ ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกด ดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการ ที่ประกอบด้วยรูป ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตน- ฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ หาที่สุดมิได้’ อยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ ดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ในวิญญาณัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอากาสานัญจายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและ ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานเรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ในวิญญาณัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๑๐. ตปุสสสูตร

ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงอากาสานัญจายตน- ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ หาที่สุดมิได้’ อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้น แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน อากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้เห็นและ ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน อากิญจัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตน- {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๑๐. ตปุสสสูตร

ฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุ อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตน- ฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกด ดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา เห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไร หนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานา- สัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอากิญจัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้เห็นและ ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้ เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานา- สัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌานแล้วทำ ให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็น ไปได้ที่จิตของเราพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษใน อากิญจัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค ๑๐. ตปุสสสูตร

หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความ กดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อ นั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน- ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้จิตของเรา ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา เห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไป ได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพ อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลาย ของเราได้ถึงความหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อานนท์ เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เรายังเข้าไม่ได้ ออกไม่ได้ ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา- สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ แต่เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เราเข้าก็ได้ ออกก็ได้ ทั้งโดย อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘เจโตวิมุตติ ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
ตปุสสสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนุปุพพวิหารสูตร ๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร ๓. นิพพานสุขสูตร ๔. คาวีอุปมาสูตร ๕. ฌานสูตร ๖. อานันทสูตร ๗. โลกายติกสูตร ๘. เทวาสุรสังคามสูตร ๙. นาคสูตร ๑๐. ตปุสสสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๒๓-๕๓๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=204              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=9350&Z=9543                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=245              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=245&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7078              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=245&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7078                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i236-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.041.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/09/an09-041.html https://suttacentral.net/an9.41/en/sujato https://suttacentral.net/an9.41/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :