ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๑. ติฐานสูตร

๓. สัตตาวาสวรรค
หมวดว่าด้วยสัตตาวาส
๑. ติฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๓ ประการ
[๒๑] ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ และมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ฐานะ ๓ ประการ๑- อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่มีความเห็นแก่ตัว ๒. ไม่มีความหวงแหน ๓. มีอายุแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์และมนุษย์ ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์ ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ ฐาน ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อายุอันเป็นทิพย์ ๒. วรรณะอันเป็นทิพย์ ๓. สุขอันเป็นทิพย์ ภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์ ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @ ไม่มีความเห็นแก่ตัว หมายถึงไม่มีตัณหา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวงแหน @หมายถึงไม่หวงแหนว่า “สิ่งนี้เป็นของเรา” มีอายุแน่นอน หมายถึงมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี และมีคติที่แน่นอน @คือเมื่อจุติจากอุตตรกุรุทวีปแล้วต้องไปเกิดในสวรรค์เท่านั้น (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๒. อัสสขฬุงกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้แกล้วกล้า ๒. เป็นผู้มีสติ๑- ๓. เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในชมพูทวีปนี้๒- ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
ติฐานสูตรที่ ๑ จบ
๒. อัสสขฬุงกสูตร๓-
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก คนกระจอก ๓ จำพวก ม้าดี ๓ จำพวก และคนดี ๓ จำพวก ม้าอาชาไนย๔- พันธุ์ดี ๓ จำพวก และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ @เชิงอรรถ : @ มีสติ ในที่นี้หมายถึงมีสติมั่นคง เพราะมนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากัน ซึ่งต่างจากเทวดาและสัตว์นรก @ที่มีสติไม่มั่นคง เพราะเทวดามีแต่สุขอย่างเดียว และสัตว์นรกมีแต่ทุกข์อย่างเดียว (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓) @ เพราะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติในชมพูทวีป จึงมีการประพฤติพรหมจรรย์คืออริยมรรค @มีองค์ ๘ (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๗๑/๙๕ @ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๔๑-๑๔๓/๓๘๗-๓๙๒ (อัสสขฬุงกสูตร อัสสสทัสสสูตร) @ ม้าอาชาไนย ในที่นี้หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕) @หรือ หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๗๕-๔๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=184              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=8417&Z=8434                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=225              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=225&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6835              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=225&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6835                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i225-e.php# https://suttacentral.net/an9.21/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :