ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๕. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้ พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือความเพียร) ๓. อนวัชชพละ (กำลังคือกรรมที่ไม่มีโทษ) ๔. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์) ปัญญาพละ เป็นอย่างไร คือ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น อกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรม ไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรม ที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นธรรมที่บุคคลเห็น ได้ด้วยดี พิจารณาแล้วด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาพละ @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หมายถึงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทั้งที่เป็นโลกิยะ @และเป็นโลกุตตระ (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๕. พลสูตร

วิริยพละ เป็นอย่างไร คือ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใด เป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่ สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคล สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็น ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็น ธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่สามารถทำ ความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมที่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคลสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อได้ธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า วิริยพละ อนวัชชพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบ ด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษ นี้เรียกว่า อนวัชชพละ สังคหพละ เป็นอย่างไร คือ สังคหวัตถุ(ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ประการนี้๑- ได้แก่ (๑) ทาน (การให้) (๒) เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) (๓) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) (๔) สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ภิกษุทั้งหลาย การให้ธรรมเลิศกว่าการให้ทั้งหลาย การแสดง ธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการจะฟัง เงี่ยโสตลงสดับเลิศกว่าวาจาเป็นที่รัก ทั้งหลาย การชักชวนคนที่ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในสัทธาสัมปทา ชักชวน คนที่ไม่มีศีลให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในสีลสัมปทา ชักชวนคนที่มีความตระหนี่ให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในจาคสัมปทา ชักชวนคนที่มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในปัญญา- สัมปทา เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย การที่พระโสดาบันมีตนเสมอกับ @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๒/๕๑, ๒๕๖/๓๗๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๕. พลสูตร

พระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอ กับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ เลิศกว่าความมีตนเสมอ ทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังคหพละ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ ๔ ประการนี้ ย่อมข้ามพ้นภัย ๕ ประการได้ ภัย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อาชีวิกภัย (ภัยเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ) ๒. อสิโลกภัย (ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง) ๓. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท) ๔. มรณภัย (ภัยคือความตาย) ๕. ทุคคติภัย (ภัยคือทุคติ) ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราไม่กลัวอาชีวิกภัย เราจัก กลัวอาชีวิกภัยไปทำไม เรามีพละ ๔ ประการ คือ (๑) ปัญญาพละ (๒) วิริยพละ (๓) อนวัชชพละ (๔) สังคหพละ คนมีปัญญาทรามพึงกลัวอาชีวิกภัย คนเกียจคร้าน พึงกลัวอาชีวิกภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมี การงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวอาชีวิกภัย คนผู้ไม่สงเคราะห์ใครๆ พึงกลัวอาชีวิกภัย เราไม่กลัวอสิโลกภัย ฯลฯ เราไม่กลัวปริสสารัชชภัย ฯลฯ เราไม่กลัวมรณภัย ฯลฯ เราไม่กลัวทุคคติภัย เราจักกลัวทุคคติภัยไปทำไม เรามีพละ ๔ ประการ คือ (๑) ปัญญาพละ (๒) วิริยพละ (๓) อนวัชชพละ (๔) สังคหพละ คนมีปัญญาทราม พึงกลัวทุคคติภัย คนเกียจคร้านพึงกลัวทุคคติภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมีการงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวทุคคติภัย คนผู้ไม่ สงเคราะห์ใครๆ พึงกลัวทุคคติภัย’ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ ๔ ประการนี้แล ย่อมข้ามพ้นภัย ๕ ประการนี้ได้
พลสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๔๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๓๙-๔๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=168              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=7711&Z=7764                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=209              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=209&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6513              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=209&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6513                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i205-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an9.5/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :