ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๔. นันทกสูตร
ว่าด้วยพระนันทกะแสดงธรรม
[๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระนันทกะชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาในหอฉัน ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยังหอฉัน ได้ประทับยืนรอที่ซุ้มประตูด้านนอกจนจบกถา ทรงทราบว่าจบกถาแล้ว ทรงกระแอม แล้วเคาะที่บานประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูถวายพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ตรัสกับท่านพระนันทกะดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๔. นันทกสูตร

“นันทกะ ธรรมบรรยาย๑- ที่เธอแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายนี้ยาวจริงนะ แม้เราคอย ฟังอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกจนจบกถา ก็ยังรู้สึกเมื่อยหลัง” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะรู้สึกกระดากใจ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเลยว่า ‘พระผู้มี พระภาคประทับยืนรอที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้าข้าพระองค์รู้ ก็จะแสดงไม่ได้ถึงเพียงนี้” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าท่านพระนันทกะกำลังกระดากใจ จึง ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ นันทกะ การที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งประชุมกันทำกิจ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา หรือความเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อ ว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้า แต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้”

@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๕๑ หน้า ๘๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๔. นันทกสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปยังพระวิหาร ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระนันทกะ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศพรหมจรรย์๑- ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนด้วยบท ๔ ประการแล้ว เสด็จลุก จากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร พระองค์ตรัสว่า ‘นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย องค์นั้นอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน ฯลฯ ได้เจโตสมาธิ ภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย องค์นั้นอย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้าแต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มี ศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา อันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้ บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึง ชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้’ ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรม ตามกาล ๕ ประการนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๖ หน้า ๑๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๔. นันทกสูตร

อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ งามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุ ทั้งหลายโดยวิธีใดๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่ เคารพ และเป็นที่ยกย่องของพระศาสดาโดยวิธีนั้นๆ นี้เป็นอานิสงส์ ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใดๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้อรรถและรู้ธรรม ในธรรมนั้นโดยวิธีนั้นๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟัง ธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใดๆ ภิกษุนั้นย่อมเห็นแจ้งบทที่ลึกซึ้ง ในธรรมนั้นด้วยปัญญา๑- นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการฟังธรรม ตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล @เชิงอรรถ : @ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา ปัญญาเกี่ยวกับการพิจารณาและการรู้แจ้ง @หรือปัญญาที่เกี่ยวกับการเรียนและการสอบถาม (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๕. พลสูตร

๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใดๆ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อม ยกย่องเธออย่างยิ่งว่า ‘ท่านผู้นี้ได้บรรลุแล้ว หรือกำลังบรรลุแน่แท้’ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนา ธรรมตามกาล ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใดๆ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ มีใจยังไม่บรรลุ๑- ปรารถนาธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุ เหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง โดยวิธีนั้นๆ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๒- บรรลุ ประโยชน์ตน๓- โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๔- หลุดพ้นแล้ว @เชิงอรรถ : @ ไม่บรรลุ ในที่นี้หมายถึงไม่บรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙) @ ปลงภาระได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงละขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @ บรรลุประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @ สิ้นภวสังโยชน์แล้ว ในที่นี้หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๕. พลสูตร

เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ประกอบธรรมเป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑- อยู่เนืองๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรม ตามกาล ๕ ประการนี้แล”
นันทกสูตรที่ ๔ จบ
๕. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้ พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือความเพียร) ๓. อนวัชชพละ (กำลังคือกรรมที่ไม่มีโทษ) ๔. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์) ปัญญาพละ เป็นอย่างไร คือ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น อกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรม ไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรม ที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นธรรมที่บุคคลเห็น ได้ด้วยดี พิจารณาแล้วด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาพละ @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หมายถึงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทั้งที่เป็นโลกิยะ @และเป็นโลกุตตระ (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๓๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๓๔-๔๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=167              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=7619&Z=7710                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=208              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=208&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6479              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=208&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6479                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i205-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an9.4/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :