ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๙. อักขณสูตร
ว่าด้วยขณะที่ไม่สมควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑-
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับกล่าวว่า ‘ชาวโลกทำกิจในขณะ๒- ชาวโลกทำกิจในขณะ’ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะเลย ภิกษุทั้งหลาย กาลที่ไม่ใช่ ขณะไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้ กาล ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๒/๒๓๓-๒๓๔ @ ทำกิจในขณะ หมายถึงทำกิจทั้งหลายในเมื่อมีโอกาส (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๙. อักขณสูตร

ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ และแสดง ธรรม๑- ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน๒- ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรก นี้ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการที่ ๑ ๒. ตถาคต ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค อุบัติขึ้นแล้วในโลก และแสดง ธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ ๓. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเปรตวิสัย ฯลฯ ๔. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย๓- ที่มีอายุยืนชั้นใด ชั้นหนึ่งแล้ว ฯลฯ ๕. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท และอยู่ ในพวกมิลักขะที่ไม่รู้เดียงสา ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกาผ่านไปมา ฯลฯ ๖. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็น มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์๔- ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้ แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสัจจะ ๔ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๘/๒๖๙ @ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) @ เทพนิกาย ในที่นี้หมายถึงหมู่เทพเกิดเป็นอสัญญีสัตว์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) @ โอปปาติกสัตว์ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ @เช่นเทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๙. อักขณสูตร

๗. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคน มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๑- ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่ง สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ประการที่ ๗ ๘. ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น พระผู้มีพระภาค ไม่อุบัติขึ้นแล้วในโลก และไม่แสดงธรรมที่นำ ความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคต ทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะกลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความ แห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ประการที่ ๘ ภิกษุทั้งหลาย กาลที่มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ขณะและสมัยที่ควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวเท่านั้น ขณะและสมัยประการเดียวนั้น เป็นอย่างไร คือ ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่า ‘เป็นใบ้มี @น้ำลายไหล’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) หมายถึงใช้ปากพูดได้แต่เป็นใบ้ พูดไม่ชัด (สํ.ม.อ. ๓/๒๒๕-๒๓๑/ @๒๒๓ แต่ในอภิธานปฺปทีปิกาฏีกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดและไม่ฉลาดฟัง และไม่ฉลาดในภาษา @ที่จะพูด (วตฺตุํ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน จ อกุสโล) และแยกอธิบายอีกว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก) @มูโค หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค) (อภิธา.ฏีกา คาถา ๗๓๔) @พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” ให้ความหมายว่า Idiot (โง่ บ้า จิตทราม) @หรือ lack-wit (ขาดสติ) (The Book of the Gradual sayings, VOL. 111 PP. 106, 132) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๙. อักขณสูตร

อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ และแสดงธรรมที่จะนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว และบุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และเป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและ ทุพภาษิตได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นขณะและสมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการ เดียวเท่านั้น พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า เหล่าชนผู้ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรมดีแล้ว ยังไม่ได้ขณะ ชื่อว่าปล่อยขณะให้ล่วงไป ชนหมู่มากกล่าวถึงกาลที่มิใช่ขณะว่าทำอันตรายต่อมรรค พระตถาคตทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลกเพียงบางครั้งบางคราว สิ่งที่มาพร้อมกันที่หาได้ยากในโลก คือ การได้กำเนิดเป็นมนุษย์และการแสดงสัทธรรม ชนผู้ใคร่ประโยชน์ ควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น บุคคลควรเข้าใจสัทธรรม ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะคนผู้ล่วงเลยขณะไป ย่อมยัดเยียดเศร้าโศกอยู่ในนรก หากเขาปล่อยประโยชน์ให้เสียไป ไม่บรรลุความเป็นผู้แน่นอนต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้ จักเดือดร้อนในภายหลังสิ้นกาลนาน เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยประโยชน์ให้เสียไป ฉะนั้น คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม จักเสวยสังสารวัฏคือชาติและมรณะสิ้นกาลนาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. คหปติวรรค ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร

ส่วนชนเหล่าใดได้ความเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรมดีแล้ว ได้ทำแล้ว จักทำ หรือกำลังทำตามพระดำรัสของพระศาสดา ปฏิบัติตามแนวทางที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้รู้แจ้งขณะ คือพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก บุคคลพึงเป็นผู้คุ้มครองสังวร๑- ที่พระตถาคตผู้มีพระจักษุ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงแสดงแล้ว พึงเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยราคะ มีสติอยู่ทุกเมื่อ ชนเหล่าใดตัดอนุสัยทั้งปวงที่ไปตามฝั่งคือบ่วงแห่งมาร เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ถึงฝั่ง๒- ในโลก
อักขณสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ว่าด้วยมหาปุริสวิตกของพระอนุรุทธะ
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าเภสกฬามิคทายวัน เขต กรุงสุงสุมารคิระ๓- แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ปาจีนวังสทายวัน ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดอย่างนี้ว่า “นี้เป็นธรรม๔- @เชิงอรรถ : @ สังวร ในที่นี้หมายถึงสีลสังวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๙) @ ฝั่ง ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๙) @ สุงสุมารคิระ หมายถึงชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘ สุงสุมารคีรี ก็เรียก @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๘/๒๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๗๔-๒๗๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=102              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=4639&Z=4716                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=119              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=119&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5569              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=119&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5569                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i111-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an8.29/en/sujato https://suttacentral.net/an8.29/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :