ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร

๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ สูตรที่ ๑
[๗๕] ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก นักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก ๒. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอ เห็นยอดธงของข้าศึกเท่านั้นก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่ สมรภูมิได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนัก รบอาชีพจำพวกที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก ๓. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก เท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ นักรบ อาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก ๔. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้ เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็ อดทนได้ แต่หวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก นักรบอาชีพ บางคน แม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก ๕. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอด ธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทนต่อการประหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้ พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางคน แม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏ อยู่ในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน ภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง๑- หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือ หญิงสาวรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก เธอได้ ฟังดังนั้นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้ชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ เรากล่าวว่า ภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธง ของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่ายอดธงของข้าศึกสำหรับเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือหญิงสาวรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เธอได้เห็นด้วยตนเอง ครั้นเห็นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้ชื่อว่ายอดธงข้าศึกสำหรับเธอ @เชิงอรรถ : @ หยุดนิ่ง ในที่นี้หมายถึงจมดิ่งในมิจฉาวิตก(ความตรึกผิด) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๕/๓๗) @และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๕/๓๗๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร

เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอ เห็นยอดธงของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคล บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวก ที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ ข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ใน สิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าเสียงกึกก้อง ของข้าศึกสำหรับเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิกกระซี้ ยั่วยวน เธอถูกมาตุคามยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิก- กระซี้ ยั่วยวนอยู่ ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้ ชื่อว่าเสียงกึกก้องของข้าศึกสำหรับเธอ เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่ หวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก อะไรชื่อว่าการประหารสำหรับ ข้าศึกของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ๑- นอนทับ ข่มขืน เธอถูก มาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผย @เชิงอรรถ : @ นั่งทับ ในที่นี้หมายถึงใช้ทวารหนักและทวารเบานั่งทับองคชาตของภิกษุ อรรถกถาอธิบายว่า อิตฺถิยา @วจฺจมคฺเคน ตสฺส ภิกฺขุโน องฺคชาตํ อภินิสีเทนฺติ แปลว่า ให้องคชาตของภิกษุนั้นสอดเข้าไปทางทวารหนัก @ของหญิง (วิ.อ. ๑/๕๘/๒๘๐) และดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๘-๕๙/๔๕-๔๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร

ความท้อแท้๑- เสพเมถุนธรรม๒- นี้ชื่อว่าการประหารของข้าศึก สำหรับเธอ เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้ เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่หวาด สะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทน ต่อการประหารของข้าศึกได้ ชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ อะไรชื่อว่าชัยชนะในสงครามสำหรับเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือ ไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่พัวพัน แต่ปลดเปลื้อง หลีกออกได้ แล้วหลีก ไปตามความประสงค์ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ๓- ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์๔- ตั้งกายตรง ดำรง สติไว้เฉพาะหน้า๕- ละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)ในโลก๖- มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความ มุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตว์ อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ (ความหดหู่และความเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนด @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้ @ ป่าทึบ หมายถึงป่าที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) @ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง เรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕) @ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕) @ โลก ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ต้องแตกสลาย กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ ความถือมั่นรูป เวทนา @สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าเป็นอัตตาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ที.สี.อ. ๒๑๗/๑๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร

แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑- ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริง ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ นี้ชื่อว่าชัยชนะในสงคราม สำหรับเธอ เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทนต่อการ ประหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงคราม นั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบ อาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ใน ภิกษุทั้งหลาย
ปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ กิเลส คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ท่านเรียกว่ากิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) เพราะยังจิตให้ลาดต่ำโน้มเอียง @ไปสู่ที่ต่ำเช่น ต้องย้อนกลับไปสู่จตุตถฌานอีกเป็นต้น ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๔/๕๗๘ @ อยู่จบพรหมจรรย์ หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำ @เพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ ได้ชื่อว่า อเสขบุคคล (เทียบ ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๒๖-๑๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=75              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=2070&Z=2177                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=75              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=75&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=832              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=75&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=832                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i071-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.075.than.html https://suttacentral.net/an5.75/en/sujato https://suttacentral.net/an5.75/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :