ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๑. อาทิยสูตร

๕. มุณฑราชวรรค
หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช
๑. อาทิยสูตร
ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
[๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสดังนี้ว่า คหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ประโยชน์ ๕ ประการนี้ อะไรบ้าง คือ ๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมบำรุงตนเอง บำรุงมารดาบิดา บำรุง บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุข โดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บ รวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม๑- นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๑ ๒. อริยสาวกย่อมบำรุงตนเองบำรุงมิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุข บริหาร ให้เป็นสุขโดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วย ธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ ประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ ได้มาโดยธรรม ในที่นี้หมายถึงได้มาโดยไม่ล่วงละเมิดกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๑/๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๑. อาทิยสูตร

๓. อริยสาวกย่อมป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร คน ที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาท ทำตนให้ปลอดภัย นี้เป็นประโยชน์ ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๓ ๔. อริยสาวกย่อมทำพลี๑- ๕ อย่าง คือ (๑) ญาติพลี (๒) อติถิพลี (๓) ปุพพเปตพลี (๔) ราชพลี (๕) เทวตาพลี นี้เป็นประโยชน์ที่ ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๔ ๕. อริยสาวกย่อมตั้งทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ในสมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจากความ มัวเมาและความประมาท ดำรงมั่นอยู่ในขันติ (ความอดทน) และ โสรัจจะ (ความเสงี่ยม) ฝึกอบรมตน ทำตนให้สงบ ทำตนให้ ดับเย็นสนิท ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วย ธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ ประการที่ ๕ คหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์ หมดสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ถือเอาประโยชน์จาก โภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป’ ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้น จึงไม่มีวิปปฏิสาร (ความร้อนใจ) ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์เพิ่มพูนขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราถือ @เชิงอรรถ : @ พลี (พะลี) หมายถึงการสงเคราะห์ บวงสรวง น้อมให้ หรือส่วย มี ๕ อย่าง คือ (๑) ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ @(๒) อติถิพลี ต้อนรับแขก (๓) ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย (๔) ราชพลี ถวายเป็นของหลวงมีเสีย @ภาษีอากรเป็นต้น (๕) เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๑/๓๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๒. สัปปุริสสูตร

เอาประโยชน์จากโภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เพิ่มพูนขึ้น’ อริยสาวก นั้นย่อมไม่มีวิปปฏิสารด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการนี้เลย นรชนผู้จะต้องตายเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า ‘โภคทรัพย์ เราได้บริโภคแล้ว คนที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว ทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เราได้ให้แล้ว และพลี ๕ อย่าง เราได้ทำแล้ว ท่านผู้มีศีลสำรวมระวัง ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว ประโยชน์ที่บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนปรารถนา เราก็ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหลัง เราก็ได้ทำแล้ว’ ชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
อาทิยสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๔-๖๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=41              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=1001&Z=1054                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=41              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=41&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=549              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=41&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=549                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i041-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.041.than.html https://suttacentral.net/an5.41/en/sujato https://suttacentral.net/an5.41/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :