ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๖. อัสสาทสูตร

๖. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยอัสสาททิฏฐิ๑-
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อัสสาททิฏฐิ ๒. อัตตานุทิฏฐิ๒- ๓. มิจฉาทิฏฐิ๓- ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้ ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุควรเจริญอนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่ง สังขาร) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ ๒. ภิกษุควรเจริญอนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายรู้ความเป็นอนัตตา แห่งธรรมทั้งปวง) เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ ๓. ภิกษุควรเจริญสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
อัสสาทสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง (คือเห็นว่า อัตตา(ชีวาตมัน)และโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงอยู่ @ตลอดไป เช่นเห็นว่า คน และสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือมนัส เป็น @ธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นต่อไป จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๒/๑๕๗) @ หมายถึงสักกายทิฏฐิที่มีวัตถุ ๒๐ ประการ (๑) เห็นรูปเป็นอัตตา (๒) เห็นอัตตามีรูป (๓) เห็นรูปในอัตตา @(๔) เห็นรูปในรูป (๕) เห็นเวทนาเป็นอัตตา (๖) เห็นอัตตามีเวทนา (๗) เห็นเวทนาในอัตตา (๘) เห็นอัตตา @ในเวทนา (๙) เห็นสัญญาเป็นอัตตา (๑๐) เห็นอัตตามีสัญญา (๑๑) เห็นสัญญาในอัตตา (๑๒) เห็นอัตตา @ในสัญญา (๑๓) เห็นสังขารเป็นอัตตา (๑๔) เห็นอัตตามีสังขาร (๑๕) เห็นสังขารในอัตตา (๑๖) เห็นอัตตา @ในสังขาร (๑๗) เห็นวิญญาณเป็นอัตตา (๑๘)เห็นอัตตามีวิญญาณ (๑๙) เห็นวิญญาณในอัตตา (๒๐) เห็น @อัตตาในวิญญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๒/๑๕๗) และดู สํ.ข. ๑๗/๑๕๕/๑๔๙, ขุ.ม.อ. ๑๒/๑๕๘ @ หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๒/๑๕๗) และดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๘-๑๔๖/๑๑-๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๓๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=363              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=10518&Z=10527                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=383              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=383&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3525              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=383&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3525                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i378-e.php#sutta6 http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/06/an06-112.html https://suttacentral.net/an6.112/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :